ลดเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมอะไรบ้าง

โรคหัวใจ

แม้โรคหัวใจหรือโรคที่เกี่ยวเนื่องกับหัวใจจะพบมากในผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันกลับพบได้ในผู้ป่วยที่อายุน้อยลงเรื่อย ๆ นะครับ ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลให้เกิดโรคหัวใจคือพฤติกรรมการใช้ชีวิตของเรา ไม่ว่าจะเป็นการกิน การทำงาน หรือกระทั่งการนอนก็ส่งผลให้เกิดโรคหัวใจได้ทั้งสิ้น หากเราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็สามารถลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจได้อนาคตครับ

1. เลี่ยงการรับประทานอาหารไขมันสูงและน้ำตาลสูง

การทานอาหารจำพวกไขมันสูงและน้ำตาลสูงต่อเนื่องเป็นเวลานานสามารถทำให้เกิดหลอดเลือดอุดตันได้ จากการที่ไขมันไปเกาะตามผนังหลอดเลือด ทำให้เลือดไม่สามารถไหลเวียนได้สะดวก ส่งผลต่อหลอดเลือดและหัวใจ เสี่ยงที่จะหัวใจวายเฉียบพลัน หรือหลอดเลือดสมองอุดตันได้ ต้องเลี่ยงอาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น อาหารทะเล เครื่องในสัตว์ อาหารแปรรูปต่าง ๆ อาหารแช่แข็ง ฟาสต์ฟู้ด อาหารประเภทบุฟเฟ่ต์ ของทอดของมัน ขนมขบเคี้ยว รวมไปถึงอาหารที่มีส่วนประกอบของกะทิ ชีส หรือนมไขมันสูง เป็นต้น

2. ความอ้วนทำให้เสี่ยงเป็นโรคหัวใจได้ง่ายขึ้น

ภาวะความอ้วนหรือการมีน้ำหนักตัวเกินมาตรฐาน หรือมีค่า BMI มากกว่า 30 มีโอกาสเสี่ยงต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและเป็นอันตรายต่อการทำงานของหัวใจมาก เนื่องจากไขมันในร่างกายสูงเกินไป ทำให้ไขมันไปแทรกอยู่ตามร่างกาย ไม่ว่าจะตามกล้ามเนื้อ ผิวหนัง ที่อันตรายที่สุดคือแทรกอยู่ตามหลอดเลือด ส่งผลให้เกิดความดันโลหิตสูง เสี่ยงเป็นเบาหวาน และโรคหลอดเลือดหัวใจ และอันตรายถึงขั้นอาจจะทำให้เส้นเลือดในสมองตีบ ตัน หรือแตก ส่งผลต่อให้เป็นอัมพาตหรือเสียชีวิตกะทันหันได้ ยิ่งอายุมากและน้ำหนักตัวเยอะยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษเลยครับ

3. ทำงานหนัก เครียด พักผ่อนไม่เพียงพอ

การทำงานหนักติดต่อกันเป็นเวลาหลายปี ส่งผลให้เกิดความเครียดสะสมทั้งรู้ตัวและไม่รู้ตัว โดยความเครียดทำให้อัตราการทำงานของหัวใจหนักขึ้น หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดโรคหัวใจได้ทั้งสิ้น ต้องเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงานไม่เช่นนั้นอนาคตอาจจะต้องนำเงินที่ได้ไปรักษาตัวเอง ต้องบาลานซ์ชีวิตการทำงานและการพักผ่อน เต็มที่กับงานและเวลาเลิกงานก็ผ่อนคลาย เลิกคิดเรื่องงาน ไปเที่ยว ไปสังสรรค์กับเพื่อน ๆ เพื่อให้ร่างกายและหัวใจไม่ต้องทำงานหนัก นอกจากนี้ความเครียดเป็นเป็นปัจจัยให้เกิดโรคอื่น ๆ อีก เช่น โรคที่เกี่ยวกับสุขภาพจิต หรือโรคมะเร็งได้ด้วย

4. สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ

การสูบบุหรี่ทำให้เกิดสารพิษสะสมในเลือด เลือดข้นหนืด ไหลเวียนไม่ปกติ ส่งผลต่อการทำงานของหัวใจโดยตรง และสารพิษในควันบุหรี่ทำให้หลอดเลือดในร่างกายอุดตันได้ ส่วนดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ปกติ เนื่องจากแอลกอฮอล์จะทำให้เลือดไหลเวียนรวดเร็ว หากดื่มเป็นประจำจะทำให้หลอดเลือดทำงานหนักขึ้นนั่นเอง หากเลิกสูบบุหรี่และเลิกดื่มแอลกอฮอล์ได้ก็นับได้ว่าลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจได้

5. ออกกำลังกาย และเสริมด้วยวิตามินจากฮอร์ธอร์นและโคคิวเท็น

การออกกำลังกายเป็นการกระตุ้นให้หัวใจได้สูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกาย ทั้งยังเป็นการกระตุ้นให้หัวใจพร้อมทำงาน เมื่อถึงเวลาที่ต้องทำงานหนักหัวใจก็พร้อมไปด้วย ซึ่งการออกกำลังกายทุกวันวันละ 30 นาที หรือ อาทิตย์ละ 150  นาทีเป็นอย่างน้อยจะช่วยให้หัวใจแข็งแรงขึ้น ควรเสริมสร้างการทำงานของหัวใจด้วยการทานสารสกัดจากฮอร์ธอร์นและโคคิวเท็น ซึ่งจะช่วยบำรุงหัวใจให้มีประสิทธิภาพในการทำงานดีขึ้น ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี ลดคอเลสเตอรอลไปเกาะตามผนังหลอดเลือด และบูสต์ให้หัวใจพร้อมทำงานอย่างเต็มที่

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP