PM2.5 ตัวการทำลายปอด เสี่ยงหลายมะเร็ง

PM2.5

ควันบุหรี่ที่ว่าอันตรายแล้ว เราก็ยังเลี่ยงได้ แต่ถ้าเป็นฝุ่นควันจาก PM2.5 ที่เราเลี่ยงได้ยากควรทำอย่างไรดี? ต้องยอมรับเลยครับว่าเรื่องปัญหาฝุ่นควันกระทบกับสุขภาพมวลรวมของเราจริง ๆ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาฝุ่น PM2.5 คล้ายจะเป็นฤดูประจำถิ่นของประเทศไทยไปแล้ว นอกจากปัญหาสุขภาพจากโรคระบาดที่เราต้องรับมือ ก็ต้องตื่นตัวเรื่องการรับมือเรื่องฝุ่นควันด้วยเช่นกัน เพราะไม่ต่างจากการตายผ่อนส่งเลยครับ

อันตรายของ PM2.5 ที่เป็นมากกว่าฝุ่นละออง

ข้อมูลจากองค์กรอนามัยโลก (WHO) ได้ตั้งค่าเฉลี่ยฝุ่นละออง PM 2.5 ในอากาศว่าหากมีเกินกว่า 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ถือเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ขณะที่ประเทศไทยกำหนดอันตรายของฝุ่น PM 2.5 อยู่ที่  50 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร แต่จากสถิติที่ผ่านมากค่าฝุ่น PM2.5 เข้าขั้นวิกฤติ บางพื้นที่เข้มข้นเกิน 100 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร โดยเฉพาะบริเวณที่การจราจรหนาแน่น เขตอุตสาหกรรม หรือเขตก่อสร้างขนาดใหญ่ และเนื่องด้วยขนาดที่เล็กมากมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า เมื่อหายใจเข้าไปสามารถเข้าไปเกาะที่ปอด และไหลเวียนไปตามกระแสเลือดได้ ซึ่งกระทบต่อปัญหาสุขภาพมากมาย

PM2.5 ภัยร้ายต่อปอด และก่อมะเร็ง

เมื่อเป็นอนุภาคขนาดเล็กมากทำให้เราไม่รู้ได้เลยว่าสูดดม PM2.5 ไปมากน้อยเท่าไหร่ ซึ่งแน่นอนอวัยวะแรกที่ได้รับผลกระทบคือระบบทางเดินหายใจและปอด ยิ่งขนาดที่เล็กมากผ่านเข้าสู่ทางเดินหายใจ ผู้ป่วยที่เป็นโรคหอบหืดจะกำเริบได้ง่าย หรือคนที่ไม่ได้ป่วยก็มีโอกาสเป็นโรคหอบหืดได้มากขึ้น ซึ่งกว่าเราจะรู้ตัวว่า PM2.5 สะสมในร่างกายหรือในปอดของเรามากน้อยแค่ไหน ก็อาจจะเป็นตอนที่เราป่วยเป็นโรคที่เกี่ยวกับทางเดินหายใจ หรือเป็นโรคร้ายอย่างมะเร็งปอดแล้วก็ได้

นอกจากนี้ PM2.5 ยังส่งผลต่ออวัยวะต่าง ๆ อย่างหัวใจ โดยการไหลเวียนของ PM2.5 ในกระแสเลือด จะทำให้ความดันโลหิตสูง และเลือดมีความข้นหนืด ไหลเวียนได้ยาก เกิดเป็นตะกอนในเลือด ทำให้เส้นเลือดอุดตันอาจจะส่งผลให้หัวใจวายเฉียบพลัน และการสัมผัสมลพิษในอากาศติดต่อกันเป็นเวลานานทำให้เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจทำงานไม่เต็มที่ ส่งผลต่อการเต้นผิดจังหวะ และอาจรุนแรงจนส่งผลให้หัวใจวายเฉียบพลัน ซึ่งการทำงานที่ผิดพลาดของหลอดเลือดส่งผลต่อสมองด้วย อาจจะทำให้เกิดลิ่มเลือดในสมอง และหลอดเลือดแดงในสมองทำงานผิดพลาด เส้นเลือดในสมองตีบ หรือแตกได้ เสี่ยงต่อการเสียชีวิตและเป็นอัมพาตได้เลยทีเดียว

การป้องกัน PM2.5 ด้วยตัวเอง

เนื่องจากการแก้ปัญหา PM2.5 เป็นปัญหาที่แก้ได้ยาก และต้องแก้ไขในระดับนโยบายจากภาครัฐ รวมไปถึงอาศัยความร่วมมือจากประเทศเพื่อนบ้านด้วย ในช่วงนี้เราต้องดูแลตัวเองให้มากขึ้นไปด้วย

– ก่อนออกจากบ้านตรวจค่าฝุ่นผ่านแอปพลิเคชันทุกครั้ง หากค่าสูงเป็นสีส้มหรือสีแดง ควรสวมหน้ากากอนามัย N95

– ซื้อเครื่องฟอกอากาศภายในบ้าน แม้เราจะปิดหน้าต่างสนิทและฝุ่น PM2.5 ที่เล็กมาก ๆ ก็สามารถเข้าบ้านได้

– รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนอย่างเพียงพอ ออกกำลังกายภายในบ้านแทนออกในที่สาธารณะ

– เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายด้วยเบต้ากลูแคน  ลดความเสี่ยงที่จะเจ็บป่วยเล็ก ๆ น้อย ๆ และสำหรับคนที่เป็นภูมิแพ้หรือโพรงจมูกอักเสบที่มักจะไวต่อฝุ่นหรืออากาศไม่ดี จะช่วยลดผลกระทบจากสิ่งเร้านี้ได้

– ใครที่สูบบุหรี่หรือบุหรี่ไฟฟ้าควรเลิก เพราะควันบุหรี่จะยิ่งเป็นตัวเร่งให้ปอดและระบบทางเดินหายใจทำงานหนักมากยิ่งขึ้น

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP