“ไขมันในเลือด” ไม่ได้มาจากของหวานเพียงอย่างเดียว

ไขมันในเลือด

ของหวานหรืออะไรหวาน ๆ อาจจะเป็นเมนูโปรดของใครหลายคน แต่การรับประทานอาหารรสหวานในปริมาณมากหรือเป็นประจำ นอกจากจะส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ยังทำให้เกิดไขมันส่วนเกินในร่างกายเพิ่มขึ้นด้วยได้ และอายุเยอะขึ้นก็อาจจะทำให้เกิดไขมันในเลือดได้อีกด้วย แต่รู้หรือไม่? ไม่ใช่แค่การรับประทานอาหารรสหวานเท่านั้นที่ทำให้เกิดไขมันในเลือด จะมีปัจจัยอะไรอีกบ้าง ชวนมาอ่านไปพร้อม ๆ กันครับ

ทำความรู้จักกับประเภทไขมันในเลือดก่อน

1. คอเลสเตอรอล มี 2 ประเภท

– ไขมันดี (HDL) ไขมันดี เป็นไขมันที่เปรียบเสมือนพาหนะบรรทุกไลโปโปรตีน ส่งไขมันในเลือดทั่วร่างกายไปทำลายที่ตับเมื่อร่างกายมีปริมาณไขมัน HDL สูง ก็จะเป็นผลดีต่อสุขภาพ

– ไขมันเลว (LDL) ไขมันที่สามารถไปสะสมในผนังหลอดเลือด ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดสมองได้

2. ไตรกลีเซอร์ไรด์

ร่างกายสามารถสังเคราะห์ไตรกลีเซอร์ไรด์ได้เองจากตับหรือการรับประทานอาหาร แต่การรับประทานอาหารที่ประเภทไขมันในปริมาณมาก ๆ จะทำให้ค่าไตรกลีเซอร์ไรด์สูง

ไขมันในเลือดผิดปกติคือภาวะที่มีระดับคอเลสเตอรอล หรือมีระดับไขมันเลวในเลือดสูง ซึ่งเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง ดังนี้

– การรับประทานอาหารจำพวกแป้งในปริมาณมาก โดยแป้งสามารถเปลี่ยนไปเปลี่ยนน้ำตาล และเมื่อมีน้ำตาลในร่างกายปริมาณมากและไม่สามารถนำไปใช้จนหมดได้ก็จะแปรเปลี่ยนไปเป็นคอเลสเตอรอล

– การรับประทานอาหารที่มีไขมันอิ่มตัวสูง เช่น เนื้อสัตว์ ไข่แดง หนัง และไขมันสัตว์ติดมัน รวมไปถึงเนื้อสัตว์แปรรูปต่าง ๆ เช่น เบคอน แฮม ไส้กรอก ลูกชิ้น เป็นต้น

– การรับประทานไขมันทานส์ เช่น เนย เนยเทียม ครีม มาการีน หรืออาหารจำพวกขนมและของทอด เช่น พาย คุกกี้ โดนัท ไก่ทอด เฟรชฟรายส์ เป็นต้น

–  การไม่ออกกำลังกาย นับเป็นอีกปัจจัยหลักเลยก็ว่าได้ที่ทำให้ไขมันในเลือดสูง เพราะเมื่อเรารับประทานอาหารเข้าไป และร่างกายไม่สามารถนำพลังงานไปใช้หมด ก็จะสะสมเป็นไขมันตามจุดต่าง ๆ ในร่างกายได้ ซึ่งการออกกำลังกายจะเข้าไปกระตุ้นให้ร่างกายนำไขมันเหล่านี้ไปใช้ และลดความเสี่ยงที่ไขมันจะไปเกาะตามผนังหลอดเลือดได้ด้วย

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เสริมวิตามิน ลดไขมันในเลือด และสาเหตุโรคความดันได้

– เลือกรับประทานอาหารให้มากขึ้น เลี่ยงอาหารที่ก่อให้เกิดให้เกิดคอเลสเตอรอลส่วนเกิน เนื้อสัตว์ไม่ติดหนัง ลดน้ำตาล แป้ง อาหารจำพวกกะทิ เนื้อสัตว์แปรรูป ขนมอบ หรือของทอดต่าง ๆ เพิ่มอาหารจำพวกผักผลไม้ เสริมแร่ธาตุและวิตามิน

– สำหรับผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต ให้เลี่ยงการทานอาหารไขมันอิ่มตัว เช่น ไข่แดง หรือเนื้อสัตว์ติดมัน

– เสริมวิตามินที่ช่วยลดควบคุมคอเลสเตอรอลหรืออาหารเสริมลดความดันโลหิตสูง อย่างฮอร์ธอร์น โคคิวเท็น สารสกัดจากทับทิม ซีตรัสออเรนเทียม และน้ำมันมะกอก จะช่วยลดไขมันเลว เพิ่มไขมันดี ลดความเสี่ยงที่ไขมันจะเข้าไปอุดตันในเส้นเลือด หรือเกาะตามผนังหลอดเลือด ทั้งยังช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานของร่างกาย ช่วยควบคุมน้ำหนักได้อีกด้วย

– ออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ ใครที่ไม่เคยออก ให้เริ่มจากการขยับร่างกายเบา ๆ อย่างการเดิน การปั่นจักรยาน หรือเล่นโยคะได้

– เลิกบุหรี่ และเลิกแอลกอฮอล์ได้จะดีที่สุด

จะเห็นเลยว่าปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดไขมันในเลือดมาจากการใช้ชีวิตประจำวันของเรา โดยเฉพาะอาหารการกิน หากดูแลตั้งแต่วันนี้ ก็จะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคไขมันในหลอดเลือดได้นะครับ

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP