ไขมันทรานส์ ส่วนผสมร้ายทำหลอดเลือดอุดตัน!

ไขมันทรานส์

แม้ไขมันจะเป็นสิ่งที่หลายคนไม่พึงปรารถนา เพราะคิดว่ามีข้อเสียมากกว่าข้อดี แต่ถึงอย่างไรร่างกายของเราก็ยังต้องการสารอาหารจากไขมันนะครับ ซึ่งไขมันในแต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็นไขมันอิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัว หรือไขมันทรานส์ ต่างก็มีข้อดีและข้อเสียในตัวของมันเอง แต่ไขมันทรานส์ที่นับเป็นที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ยิ่งบริโภคมากเท่าไหร่ก็จะส่งผลเสียต่อร่างกายเท่านั้น เพราะไปเพิ่มไขมันไม่ดี (LDL) ให้ร่างกาย ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของหลอดเลือดและหัวใจด้วย

ไขมันทรานส์คืออะไร?

ไขมันทรานส์พบได้ในสัตว์เพียงเล็กน้อย ทั้งนมและผลิตภัณฑ์จากนมของวัวและควาย

ไขมันทรานส์ที่เกิดจากอุตสาหกรรม เกิดจากการเติมไฮโดรเจนลงไปในกระบวนการผลิตน้ำมันหรือไขมันจากพืชไม่อิ่มตัว เรียกกระบวนการนี้ว่า hydrogenation ทำให้น้ำมันพืชอยู่ในสถานะที่คงตัวได้ในอุณภูมิห้อง ทนความร้อน ไม่เหม็นหืน เก็บได้นานขึ้น เช่น

– เนยเทียม หรือมาการีน

– เนยขาว

– ผลิตภัณฑ์เบเกอร์รี เช่น พาย เค้ก เป็นเต้น

– วิปครีม

– ครีมเทียม

การทานไขมันทรานส์ส่งผลให้เกิดโรคอะไรได้บ้าง?

– โรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด

– โรคไขมันในหลอดเลือดสูง

– โรคหลอดเลือดสมอง

– โรคหัวใจ และโรคที่เกี่ยวเนื่องกับหัวใจ

– โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน

– โรคอ้วน

วิธีเลี่ยงและป้องกันไม่ให้รับประทานไขมันทรานส์

ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศห้ามผลิต จำหน่าย และนำเข้า ผลิตภัณฑ์น้ำมันที่ผ่านการเติมไฮโดรเจนแล้วเมื่อปี 2562 ทำให้เราสบายใจได้เปราะหนึ่งว่าเราอาจจะไม่ต้องเผลอทานไขมันทรานส์โดยที่เราไม่รู้ตัว แต่เพื่อป้องกันแนะนำให้ป้องกันตัวเองด้วยการสังเกตสิ่งนี้ครับ

1. ลดและเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของเนยเทียม เนยขาว ครีมเทียม วิปครีม ฯลฯ หรือไม่ควรบริโภคในปริมาณที่มากจนเกินไป เพราะไขมันแปรรูปประเภทนี้มีแคลลอรีที่สูงมาก

2. อ่านฉลากก่อนซื้อ สังเกตว่าไม่ควรมี Hydrogenated Oil

3. สังเกตก่อนซื้ออาหารประเภททอด ให้สังเกตน้ำมันว่าเป็นน้ำมันเก่าหรือไม่ ทางที่ดีควรเลือกที่ปรุงใหม่ ๆ ไม่ใช่ทำไว้นานแล้ว

4. เลือกทานอาหารที่มีกรดไขมันดีให้มากกว่า เพื่อความสมดุลของไขมันในร่างกาย

5. เลือกรับประทานอาหารเสริมจากฮอร์ธอร์นและโคคิวเท็น ซึ่งช่วยควบคุมคอเลสเตอรอลในร่างกายได้ ช่วยให้ไขมันดีและไขมันไม่ดีในร่างกายมีความสมดุล ทั้งยังช่วยขยายหลอดเลือด ให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ลดความเสี่ยงที่จะเกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือด หรือเกิดการอุดกั้นจนเลือดไม่สามารถไหลเวียนได้

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP