โรคหัวใจไม่เลือกวัย อายุเท่าไหร่ก็มีโอกาสเสี่ยง ต้องหมั่นสำรวจตัวเอง

โรคหัวใจ

โรคหัวใจถือเป็นโรคที่มีอัตราผู้ป่วยมากที่สุดในโลก และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยโรคหัวใจที่พบบ่อยและมีอัตราผู้เสียชีวิตมากที่สุดคือโรคหัวใจหลอดเลือดอุดตันหรือตีบตัน ซึ่งมักพบในผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันโรคหัวใจชนิดอื่น ๆ สามารถพบได้ในคนที่อายุน้อยลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในวัยทำงาน ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต มาดูกันว่ามีปัจจัยอะไรที่ทำให้คนอายุน้อยเสี่ยงเป็นโรคหัวใจมากขึ้น

 

สาเหตุของโรคหัวใจในคนอายุน้อย

โรคหัวใจมีปัจจัยเสี่ยงหลายอย่าง แม้ส่วนใหญ่โรคหัวใจในคนอายุน้อยมักจะเกิดจากความผิดปกติมาตั้งแต่กำเนิด แต่พฤติกรรมที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจมากที่สุดคือการสูบบุหรี่ ซึ่งหากคนที่สูบบุหรี่ตั้งแต่อายุน้อยยิ่งเสี่ยง บางคนอายุ 30 – 35 ปีก็ป่วยเป็นโรคหัวใจก็มีครับ อีกปัจจัยหนึ่งคือการออกกำลังกายหนักหรือการใช้แรงมากจนเกินไป เช่น นักกีฬา หรือคนที่ทำงานที่ต้องใช้แรง แบก หาม ต่าง ๆ อาจจะทำให้ผนังหัวใจหนาจนทำให้หัวใจทำงานผิดปกติได้ จึงควรตรวจสุขภาพและสมรรถนะหัวใจทุก ๆ ปี

 

อาการโรคหัวใจที่ควรรู้และสังเกตตัวเอง

อาการเบื้องต้นของโรคหัวใจ ที่เราต้องหมั่นสังเกตตัวเอง เพราะโรคหัวใจบางชนิดที่แทบไม่แสดงอาการ จนอาการลุกลามไปมากแล้ว

– อาการเหนื่อยง่ายกว่าปกติ หรือรู้สึกเหนื่อยกว่าปกติทั้งที่ทำกิจกรรมเดิม แต่กลับรู้สึกไม่ได้มีแรงทำเท่าเดิม เช่น การเดินขึ้นบันได การเดินในระยะทางที่ไม่ไกลมาก นอกจากเหนื่อยหอบยังมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เวียนหัว หน้ามืด

– แน่นหน้าอก ปวดหน่วงที่หน้าอก เหมือนมีอะไรมากดทับ ทำให้รู้สึกเจ็บบริเวณหน้าอกด้านซ้าย หายใจลำบาก หายใจไม่อิ่ม นอนราบแล้วหายใจไม่ออก

– หน้ามืดบ่อย เวียนศีรษะ หมดสติ หรือร่างกายอ่อนแรง อ่อนเพลีย ไม่สามารถใช้ชีวิตปกติได้

– มีอาการบวมตามมือ เท้า ขา หรือบริเวณร่างกาย

หากสังเกตอาการผิดปกติข้างต้น แนะนำให้ไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด หาสาเหตุของโรค

 

ป้องกันโรคหัวใจในคนอายุน้อยทำได้อย่างไรบ้าง?

นอกจากปัจจัยจากพฤติกรรมเสี่ยงอย่างเช่นการสูบบุหรี่แล้ว การดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำก็ทำให้เสี่ยงได้เหมือนกัน เพราะการมีแอลกอฮอล์ในร่างกายสูงสม่ำเสมอ จะทำให้ความดันในร่างกายเพิ่มสูงขึ้น อาจจะทำให้เป็นโรคความดันโลหิต และส่งผลให้เป็นโรคหัวใจได้เช่นกัน นอกจากนี้ภาระงานและความเครียดก็ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น ทั้งความเครียดยังส่งผลต่อการพักผ่อนด้วย

 

สิ่งสำคัญคือการบำรุงและดูแลหัวใจตั้งแต่เนิ่น ๆ ในคนอายุน้อย เช่น การรับประทานสารสกัดจากฮอร์ธอร์นและโคคิวเท็น ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่เหมาะกับคนรุ่นใหม่ เพราะฮอร์ธอร์นช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจ พร้อมบำรุงให้หัวใจทำงานได้ดีขึ้น และโคคิวเท็นก็เข้าไปช่วยเพิ่มพลังงานให้หัวใจสามารถสูบฉีดเลือดได้ดี ถ้าหัวใจไม่ขาดโคคิวเท็นก็จะยังสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพครับ

 

แม้การเกิดโรคหัวใจจะไม่ใช่สิ่งที่เกิดกันได้ภายในข้ามคืน แต่เราก็ไม่ควรประมาทในการใช้ชีวิตนะครับ เพราะสุขภาพที่ดีเกิดขึ้นได้เพราะเราดูแลอย่างดี รวมไปถึงลดเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงที่จะส่งผลกระทบต่อร่างกายจะดีที่สุดครับ

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP