ต้องยอมรับเลยว่าสังคมในทุกวันนี้ผลักให้ผู้คนมีภาวะทางจิตใจมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะความเครียด จากสังคมที่ต้องแข่งขันสูงขึ้น ทั้งปัญหาเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และปัญหาอื่น ๆ อีกมากมาย ทำให้หลาย ๆ คนรู้สึกต้องทำงานให้หนัก เพื่อให้มีรายได้เพิ่ม จะได้หลุดพ้นจากความเครียดเหล่านี้ จนหลายคนไม่รู้ว่าตัวเองมีภาวะเครียดสูงขึ้นจนไม่รู้ตัว และความเครียดนี้เองที่อาจจะเป็นปัจจัยให้เกิดโรคหลอดเลือดและหัวใจได้
เช็กตัวเองว่ามีภาวะเครียดแค่ไหน?
1. การนอนหลับ
ให้สังเกตตัวเองว่าการนอนมีประสิทธิภาพหรือไม่ ปัจจุบันมีเทคโนโลยี เช่น นาฬิกา Smart Watch ที่สามารถตรวจวัดระดับคุณภาพการนอนของเราได้ ซึ่งจะบอกว่าเรานอนหลักลึก หลับตื้นเท่าไหร่ หรือหากใครไม่มีให้สังเกตชั่วโมงในการนอน จากปกติเคยนอนหลับยาว 7-8 ชั่วโมง แต่กลับนอนได้น้อยกว่านั้น หรือนอนเหมือนเดิม แต่กลับตื่นขึ้นมาแล้วรู้สึกไม่สดชื่น ไม่สดใส ง่วงซึม และไม่อยากตื่นไปทำกิจกรรมในชีวิตเลย นี่เป็นสัญญาณเตือนอย่างดีว่าคุณอาจจะอยู่ในช่วงที่มีภาวะความเครียดเกินไป
2. อารมณ์แปรปรวน
สำหรับผู้หญิงหากเป็นช่วงมีประจำเดือนหรือช่วงก่อน-หลัง มีประจำเดือนแล้วอารมณ์แปรปรวนอาจจะเป็นภาวะ PMDD หรือ PMS ที่ควรได้ทานยาปรับฮอร์โมนอย่างถูกวิธี แต่หากไม่ได้เป็นประจำเดือนแต่รู้สึกอารมณ์แปรปรวน หงุดหงิด โกรธเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ มีแต่สิ่งไม่ถูกใจ ส่วนผู้ชายเองก็มีอารมณ์เกรี้ยวกราด พาลหงุดหงิดในเรื่องที่ไม่เคยเป็นมาก่อน อาจจะเพราะว่าคุณเครียดจนเกินไปได้
3. การกิน
สังเกตตัวเองมีภาวะเครียดจนเกินไปจากการกิน เช่น อยากกินของหวานตลอดเวลา หรือรู้สึกว่ากินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่ม การอยากทานของหวานเป็นเพราะความเครียดจะทำให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนคอลติซอล ซึ่งจะทำให้รู้สึกอยากทานอาหารรสหวานมากกว่าปกติ หรือสำหรับบางคนไม่อยากอาหารเลย ทั้งที่เคยชอบอาหารประเภทหนึ่งมาก แต่กลับไม่รู้สึกอยากทานแม้จะอยู่ตรงหน้าก็ตาม นี่เป็นหนึ่งในสัญญาณที่บอกว่าคุณเครียดจนเกินไป
4. การใช้สารเสพติดบางชนิด
สารที่ให้การเสพติด เช่น คาเฟอีนในกาแฟ หรือ นิโคตินในบุหรี่ สารสองประเภทเป็นสารเสพติดประเภทหนึ่งที่ส่งผลต่อสมองส่วนกลาง กระตุ้นให้ร่างกายเกิดความตื่นตัว รู้สึกมีพลัง กระปรี้กระเปร่า และไปกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนโดพามีนที่ทำให้รู้สึกสงบขึ้นได้ และเมื่อหมดฤทธิ์ก็อาจจะเหนื่อยล้า และซึมลง บางคนที่เครียดจัด ๆ สูบบุหรี่และดื่มกาแฟเยอะกว่าปกติมาก
5. ไม่ดูแลตัวเอง
คนที่มีภาวะเครียดรุนแรง จนเริ่มรู้สึกไม่อยากทำอะไร กระทั่งดูแลตัวเอง ถือเป็นภาวะที่ค่อนข้างอันตราย ซึ่งอาจจะส่งผลต่อภาวะทางจิตใจที่ควรปรึกษาแพทย์ทางจิตเวช
การมีภาวะความเครียดติดต่อกันเวลานานจะทำให้หัวใจทำงานหนักมากขึ้น ทั้งการพักผ่อนไม่เพียง การรับประทานอาหารที่ไม่เป็นไปตามโภชนาการ อารมณ์สวิงโมโหง่าย การใช้สารเสพติด และการไม่อยากใช้ชีวิต หากหลายคนเครียดเป็นเวลานานนอกจากจะส่งผลต่อสุขภาพจิตแล้ว ยังเสี่ยงที่จะเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจ ไขมันในหลอดเลือดได้ด้วย นอกจากจะต้องดูแลตัวเองมากขึ้นแล้ว ควรบำรุงหัวใจด้วยสารสกัดจาก “ฮอร์ธอร์นและโคคิวเท็น” ช่วยเสริมการทำงานของหัวใจ เมื่อเราเครียด เซลล์ในร่างกายก็เครียดตามไปด้วย การดูแลหัวใจอย่างสม่ำเสมอคือเรื่องที่ต้องทำไม่ว่าจะอยู่ในภาวะแบบไหนครับ