รู้จักอาการ “Long COVID” และวิธีฟื้นฟูร่างกาย

Long COVID

ตั้งแต่โลกรู้จักกับโคโรนาไวรัส หรือ โรคโควิด-19 ตั้งแต่ปี 2019 จนถึง 2022 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตจากทั่วโลกด้วยไวรัสชนิดนี้แล้วกว่า 5 ล้านราย และมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 400 ล้านราย การกลายพันธุ์ของสายพันธุ์โอมิครอนยิ่งซ้ำเติมให้ผู้คนติดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้มากขึ้น แต่ยังโชคดีที่อาการอาจจะไม่ได้รุนแรงเท่าสายพันธุ์ต้นกำเนิด แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงยิ่งกว่าคืออาการ “Long COVID” หรือ ผลข้างเคียงจากการติดเชื้อโคโรนา ที่จะส่งผลให้ผู้ป่วยที่เคยเข้ารับการรักษา จะต้องอยู่กับสภาวะนี้ต่อเนื่องแม้จะหายจากการป่วยแล้ว เรามาทำความรู้จักกับอาการนี้กันครับ

อาการ Long COVID หรือ โควิดระยะยาว คืออะไร?

การติดเชื้อโควิด-19 ส่งผลต่อสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาว มีรายงานว่าคนที่เคยติดเชื้อโควิดแม้จะรักษาหายแล้ว พบว่าหลายคนเหมือนจะยังไม่หายดี เพราะระหว่างการติดเชื้อ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันไปจับเซลล์โปรตีนของอวัยวะบางส่วน ทำให้เกิดการอักเสบภายใน ส่งผลให้อวัยวะนั้น ๆ ได้รับความเสียหาย ซึ่งสร้างผลกระทบไปทั้งร่างกาย โดยระดับความรุนแรงขึ้นอยู่กับความรวดเร็วในการรักษา และการกำจัดเชื้อโควิดในร่างกาย จึงเรียกภาวะนี้ว่า “โควิดระยะยาว (Long COVID)” โดยกระทรวงสาธารณสุขบอกว่าสามารถพบสภาวะนี้ได้ถึง 30-50% ของผู้ป่วย สาเหตุหลักมาจากการเครียดสะสม หรือเป็นผลข้างเคียงของยาที่ใช้ เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ โรคแฝง หรือบางรายอาจติดเชื้อโควิดซ้ำแต่คนละสายพันธุ์

สังเกตอาการเมื่อเป็น Long COVID

สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ได้รับเชื้อนานเกิน 4 สัปดาห์ ไปจนถึง 12 สัปดาห์ โดยอาการที่พบมีหลากหลาย แตกต่างกันออกไป โดยอาการที่พบบ่อย เช่น

– เหนื่อยล้า อ่อนแรง อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ หรือหลับยากกว่าปกติ

– หายใจลำบาก หายใจไม่เต็มอิ่ม เจ็บหน้าอก หายใจถี่ เหนื่อยง่าย

– ปวดตามกล้ามเนื้อ ตามข้อ ออกกำลังกายไม่ได้เหมือนก่อนติดเชื้อ

– หลายคนอาจจะอาการหนัก มีภาวะทางจิตร่วมด่วย เช่น มีภาวะเครียด มีอาการซึมเศร้า รู้สึกวิตกกังวล เป็นต้น

สามารถพบอาการของ Long COVID ในผู้ป่วยนอก 35% และผู้ป่วยใน  87% โดยอาการที่เกิดขึ้นอาจยาวนานถึง 3 เดือนขึ้นไป

ผู้ป่วยที่หายจากโควิด-19 ควรดูแลตัวเองอย่างไร ให้ไกลจากอาการ Long COVID

1. สังเกตอาการตัวเองอยู่เสมอ เช่น มีไข้ ไอมาก เหนื่อยง่าย หรือรู้สึกอาการแย่ลง ควรรีบกลับมาพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุและรักษา เพราะอาจจะติดเชื้อแบคทีเรีย หลอดเลือดหัวใจอุดตัน ลิ่มเลือดในปอดอุดตัน เพื่อการรักษาให้ทันท่วงที

2. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดัน โรคหลอดเลือด ควรเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง

3. เข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 หลังจากหายจากโรค 3 เดือน เพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกัน

4. ควรงดการออกกำลังกายหนัก ให้เริ่มจากออกกำลังกายเบา ๆ วันละ 30 นาที

5. รับประทานอาหารที่มีโปรตีนสูง ให้เข้าไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย งดทานอาหารที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น ของหมัก ของดอง หรือของสด

6. เสริมวิตามินที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย เช่น เบต้ากลูแคน ให้รับประทานทุกวัน เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวมาปกป้องเราจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย หรือปรสิตต่าง ๆ ไม่ให้เข้ามาทำให้เราป่วย ในช่วงหายจากโควิด-19 ลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอื่นแทรกซ้อน

7. พักผ่อนให้เพียงพอ ไม่เครียด พยายามกลับไปใช้ชีวิตด้วยความปกติ

อ่านมาถึงตรงนี้ YOUR หวังว่าทุกคนจะปลอดภัย ไม่เสี่ยง ไม่ติด ไม่ต้องเข้ารับการรักษาเชื้อโควิด-19 นะครับ เพราะเราไม่มีทางรู้เลยว่าภาวะ Long COVID จะเกิดกับเรามากน้อยแค่ไหน ไม่ป่วยเลยดีที่สุดครับ

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP