เรื่องของมะเร็งเต้านม ที่ผู้หญิงส่วนใหญ่อาจไม่เคยรู้

มะเร็งเต้านม

รู้จักมะเร็งเต้านมอย่างละเอียด

มะเร็งเต้านม ถือเป็นหนึ่งโรคร้ายที่ผู้หญิงหลายๆ คนกังวลใจ วันนี้ YOUR จึงมีเรื่องราวของมะเร็งเต้านมและข้อมูลที่คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้มาฝากกันครับ

“มะเร็งเต้านม” เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของผู้หญิงไทย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ในผู้หญิงเลยครับ

หน้าอกเล็ก หน้าอกใหญ่ ใครเสี่ยงมะเร็งเต้านมมากกว่ากัน

ขนาดของหน้าอกนั้น ไม่ส่งผลต่อความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านมเลยครับ เนื่องจากส่วนประกอบสำคัญของหน้าอกนั้นคือเนื้อเยื่อไขมัน (fatty)   ส่วนมะเร็งเต้านมนั้นจะเกิดขึ้นในเซลล์ ซึ่งส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในเซลล์ที่อยู่ในท่อน้ำนม (Ductal Cancer) บางส่วนเกิดขึ้นในเซลล์ที่อยู่ในต่อมผลิตน้ำนม (Lobular Cancer) และส่วนน้อยเกิดจากเนื้อเยื่ออื่นๆ ครับ

แต่ในการศึกษาจำนวนมากระบุว่าผู้ หญิงที่มีหน้าอกใหญ่มีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้ เนื่องจากผู้หญิงที่มีหน้าอกใหญ่มักมีน้ำหนักเกินหรือมีดัชนีมวลกาย (BMI) สูงกว่าคนปกติ ซึ่งความอ้วน การรับประทานไขมันสูง และขาดการออกกำลังกายล้วนเป็นปัจจัยเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งเต้านม   ดังนั้นไม่ว่าคุณจะมีขนาดหน้าอกเท่าใด หากรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงมะเร็งเต้านมลงได้นะครับ

การแพร่กระจายของมะเร็งเต้านม 

มะเร็งเต้านมสามารถแพร่กระจายได้เมื่อเซลล์มะเร็งเข้าสู่ระบบเลือดหรือน้ำเหลืองและถูกส่งไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกาย ท่อน้ำเหลืองจะทำหน้าที่ขนส่งน้ำเหลือง ซึ่งประกอบด้วยของเสีย รวมทั้งเซลล์และระบบภูมิคุ้มกัน ท่อน้ำเหลืองจะนำน้ำเหลืองออกจากเต้านม ในกรณีที่เป็นมะเร็งเต้านม เซลล์มะเร็งสามารถเข้าไปในท่อน้ำเหลืองและเริ่มเติบโต จากนั้นก็เดินทางผ่านระบบน้ำเหลือง แพร่กระจายไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย ยิ่งมีต่อมน้ำเหลืองที่มีเซลล์มะเร็งเต้านมมากเท่าไหร่ก็ยิ่งมีโอกาสที่จะพบมะเร็งในอวัยวะอื่นๆ มากขึ้น  แต่ก็ไม่ใช่ผู้ป่วยทุกคนที่มีเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลืองจะมีการแพร่กระจาย และผู้ป่วยที่ไม่มีเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลืองก็อาจจะเกิดการแพร่กระจายในภายหลังได้

ผู้หญิงข้ามเพศ เสี่ยงมะเร็งเต้านมหรือไม่

การวิจัยใหม่ชี้ให้เห็นว่าผู้หญิงข้ามเพศ ที่ได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนมีความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับผู้ชายปกติทั่วไปครับ

การศึกษาก่อนหน้านี้แสดงให้เห็นว่าการรักษาด้วยฮอร์โมนทดแทน (HRT) จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมในสตรีวัยหมดประจำเดือน ซึ่งอาจบ่งบอกถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในทำนองเดียวกันในผู้หญิงข้ามเพศที่ได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมน 

ทีมวิจัยที่นำโดยศาสตราจารย์มาติน เดน ไฮเจอร์ (Professor Martin den Heijer) จากศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยในอัมสเตอร์ดัม   พบว่าผู้หญิงข้ามเพศมีแนวโน้มที่จะเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้ชายประมาณ 47 เท่า โดยการศึกษาผู้หญิงข้ามเพศจำนวน 2,260 คน อายุเฉลี่ยเมื่อเริ่มการรักษาด้วยฮอร์โมนคือ 31 ปี และใช้เวลาในการรักษาโดยเฉลี่ย 13 ปี พบผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะลุกลาม 15 ราย ที่อายุเฉลี่ย 50 ปีและหลังจากได้รับการรักษาด้วยฮอร์โมนเฉลี่ย 18 ปี อย่างไรก็ตามแม้ว่าความเสี่ยงในสตรีข้ามเพศจะเพิ่มขึ้นในระหว่างการรักษาด้วยฮอร์โมน  แต่ก็ยังมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมต่ำกว่าผู้หญิงทั่วไปครับ

มะเร็งเต้านม รักษาได้

วิธีการรักษามะเร็งเต้านมที่ได้ผลดีและเป็นที่ยอมรับกันในปัจจุบัน มีดังนี้

•        การรักษาโดยการผ่าตัด

•        การรักษาโดยการฉายแสง (รังสีรักษา)

•        การรักษาโดยยาเคมีบำบัด

•        การรักษาโดยใช้ฮอร์โมน

•        การรักษาโดยยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงต่อเซลล์มะเร็ง (Targeted Therapy)

อีกหนึ่งทางเลือกของการรักษามะเร็ง คือการใช้วิธีทานอาหารเสริมและโภชนบำบัดควบคู่กับการรักษาไปด้วย ซึ่งอาหารเสริมที่สามารถทานเสริมควบคู่ได้อย่างไม่เป็นอันตรายและได้การยอมรับทางการแพทย์ นั่นคือ เบต้ากลูแคน นั่นเอง เพราะเบต้ากลูแคน สรรพคุณจะช่วยให้เม็ดเลือดขาวในระบบภูมิคุ้มกันด่านแรกของเราทำลายเชื้อโรค และเซลล์แปลกปลอมได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งเบต้ากลูแคนยังเพิ่มจำนวน และกระตุ้นการทำงานของเลือด ให้กำจัดเซลล์มะเร็งได้ดียิ่งขึ้น

ที่สำคัญ เราสามารถทานเบต้ากลูแคนร่วมกับการรักษาแผนปัจจุบันได้อีกด้วย ทั้งก่อนและหลังทำคีโมบำบัด จะช่วยให้ร่างกายฟื้นฟูได้รวดเร็ว และไม่มีอาการข้างเคียงใดๆ เพราะเบต้ากลูแคนจะกระตุ้นการสร้างเม็ดเลือดให้กับเรา สามารถฟื้นตัวจากการทำเคมีบำบัดได้เป็นอย่างดีครับ

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP