ฝีดาษลิงน่ากลัวแค่ไหน เสริมภูมิป้องกันเสมอ!

ฝีดาษลิง

การแพร่ระบาดของโคโรนาไวรัสแม้จะมีท่าทีว่าจะเบาบางลงในแง่ความรุนแรงของโรค แต่ถือว่าการแพร่ระบาดยังคงมีจำนวนผู้ติดเชื้ออยู่อย่างต่อเนื่อง ดูรวม ๆ แล้วสถานการณ์จะเรียกว่าดีขึ้นก็พูดไม่ได้เต็มปาก ยังมีรายงานใหม่ว่ามี “โรคฝีดาษลิง” เริ่มมีผู้ติดเชื้อในหลาย ๆ ประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วยที่มีรายงานผู้ติดเชื้อ แม้จะยังไม่อยู่ในสถานการณ์แพร่ระบาด แต่ถึงอย่างไรเราก็ต้องเฝ้าระวัง มารู้จักโรคฝีดาษลิงให้มากขึ้น พร้อมเสริมภูมิป้องกันร่างกายกัน!

โรคฝีดาษลิงคืออะไร? คล้ายกับโรคฝีดาษที่เคยแพร่ระบาดในสมัยก่อนหรือเปล่า?

โรคไข้ฝีดาษลิง หรือ ไข้ทรพิษลิง (Monkeypox) เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในกลุ่มไข้ทรพิษ โดยพบมากในสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ อย่างหนู กระรอก กระต่าย ซึ่งโรคนี้เป็นโรคประจำถิ่นของทวีปแอฟริกา พบอัตราการเสียชีวิตอยู่ที่ประมาณ 1-10% ของผู้ติดเชื้อ ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 สายพันธุ์หลัก คือ สายพันธุ์ Congo Basin พบอัตราการเสียชีวิตประมาณ 10% และสายพันธุ์ West African พบอัตราการเสียชีวิต 1%

โดยความแตกต่างระหว่างโรคฝีดาษลิงและโรคฝีดาษในคนนั้น อาการจะเป็นไข้ออกผื่น ประมาณ 2-4 สัปดาห์ โดยมีไวรัสที่เป็นพาหะคนละชนิด และความรุนแรงของโรคค่อนข้างต่างกัน โดยไวรัสของฝีดาษคนจะอยู่ในคนเป็นหลัก ติดต่อจากคนสู่คนเท่านั้น ผ่านทางการหายใจ และติดต่อกันค่อนข้างง่าย เพียงสัมผัสละลองเล็ก ๆ ก็อาจจะทำให้ติดเชื้อได้แล้ว ส่วนฝีดาษลิงอาศัยการติดต่อผ่านการสัมผัสเท่านั้น ซึ่งจะติดยากกว่าฝีดาษคนครับ

อาการของโรคฝีดาษลิงเป็นอย่างไร?

สำหรับระยะเวลาฟักตัวของโรคฝีดาษลิงจะอยู่ที่ประมาณ 7-14 วัน โดยสามารถสังเกตอาการได้ดังนี้

– เป็นไข้ ไข้สูง หนาวสั่น

– ปวดกล้ามเนื้อตามตัว ปวดหัว

– มีอาการคล้ายไมเกรน อย่างปวดกระบอกตา ปวดหัวเฉพาะที่

– ต่อมน้ำเหลืองโตทั่วร่างกาย เช่น บริเวณคอ รักแร้ ข้อศอก ไหปลาร้า

– เกิดตุ่มหนอง หลังจากเป็นไข้ประมาณ 3-4 วัน เรียกว่าช่วงออกผื่น จะขึ้นเป็นตุ่มตามใบหน้า แขน ขา มากกว่าขึ้นตามตัว

โรคไข้ฝีดาษลิงรักษาได้ไหม?

แน่นอนว่าโรคนี้รักษาได้นะครับ โดยวิธีการรักษาเหมือนคนที่เป็นโรคฝีดาษคนนั่นเองครับ ฉะนั้นก็ถือว่าไม่น่ากลัว แต่ถึงอย่างไรก็ต้องป้องกันตัวเองและเฝ้าระวังสถานการณ์การแพร่ระบาด และสิ่งที่ควรทำตั้งแต่แรกที่รู้ว่ามีผู้ติดเชื้อโรคฝีดาษลิง คือแยกตัวผู้ติดเชื้อออกจากผู้อื่น เป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน จนกว่าแผลจะหาย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดต่อ โดยผู้ที่มีความเสี่ยงที่จะมีอาการของโรครุนแรงคือผู้ที่เกิดหลังปี 2523 เนื่องจากไม่ได้รับวัคซีนป้องกันฝีดาษ ส่วนผู้ที่เคยได้รับวัคซีนก็อาจจะลดความเสี่ยงที่จะติดโรคนี้ได้ถึง 80-90% เลยทีเดียว

เสริมภูมิป้องกันตัวเองเสมอด้วย “เบต้ากลูแคน”

โรคฝีดาษลิงเกิดจากไวรัสที่สามารถเข้าสู่ร่างกายของเรา หากในช่วงที่เรามีภาวะภูมิคุ้มกันที่ต่ำ อาจจะเพราะทำงานหนัก เครียด พักผ่อนไม่พอ อาจจะทำให้เราเสี่ยงที่จะโดนไวรัสจู่โจม และทำให้เราป่วยได้ง่าย ๆ เบต้ากลูแคนเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายของเราสร้างภูมิคุ้มกันอย่างสม่ำเสมอ ให้ร่างกายพร้อมรับมือกับเชื้อโรคแปลกปลอม เพราะทำงานกับเซลล์ที่ทำหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันโดยเฉพาะ แม้สถานการณ์ฝีดาษลิงจะยังไม่น่ากังวล แต่ป้องกันไว้ดีที่สุดครับ

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP