โรคหลอดเลือดสมองเป็นหนึ่งในโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่ส่งผลให้เกิดการเสียชีวิตมากเป็นอันดับต้น ๆ โดยมีสถิติการเพิ่มจำนวนของคนไข้โรคนี้เพิ่มขึ้นปีละ 10-15 ล้านคนทั่วโลก ในจำนวนนี้มีโอกาสที่จะเสียชีวิตและเป็นอัมพาตเกินกว่าครึ่ง การป้องกันโรคหลอดเลือดสมองไม่ต้องรอให้อายุมาก เพราะโรคนี้คนอายุน้อยก็มีโอกาสที่จะเป็นได้เช่นกัน มาดูกันว่าพฤติกรรมอะไรที่เราต้องปรับบ้าง
โรคหลอดเลือดสมองแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1. โรคหลอดเลือดสมองแบบเฉียบพลัน โดย 80-90% มักเป็นผู้ป่วยที่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นโรคประจำตัวอยู่แล้ว ซึ่งทำให้เกิดเลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงสมองได้เนื่องจากหลอดเลือดอุดตัน เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง รวมไปถึงการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูง สูบบุหรี่มานาน การไม่ออกกำลังกาย รวมถึงทำงานหนัก มีภาวะเครียด และไม่ได้พักผ่อนเพียงพอ ซึ่งผู้ป่วยประเภทนี้มีโอกาสที่จะเป็นอัมพาต นอกจากนี้ยังพบว่าเกิดจากภาวะหัวใจวายหรือหัวใจเต้นผิดจังหวะ รวมไปถึงโรคเลือดบางชนิดด้วย
2. โรคหลอดเลือดสมองแตก เกิดจากผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่เป็นมานานแล้วไม่ได้รับการรักษา นอกจากนี้ยังมีปัจจัยกระตุ้นอื่น ๆ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ติดต่อกันเป็นเวลานาน รวมถึงการใช้ยาบางชนิดด้วย
พฤติกรรมอะไรบ้างที่นำไปสู่โรคหลอดเลือดสมอง
ต้องบอกเลยว่าพฤติกรรมในชีวิตประจำวันของเราส่งผลต่อการเกิดโรคหลอดเลือดในสมองหลายอย่าง สิ่งสำคัญคือการป้องกันไม่ให้ตัวเองน้ำหนักเกินมาตรฐาน จะลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน รวมไปถึงโรคความดันโลหิตสูง เพราะโรคเหล่านี้เป็นชนวนให้เกิดโรคหลอดเลือดสมองทั้งสิ้น หากเปลี่ยนพฤติกรรมก็จะลดโอกาสที่จะเผชิญกับโรคหลอดเลือดสมองได้
1. รับประทานอาหารตามโภชนาการ อาจจะเป็นเรื่องที่หลายคนทราบอยู่แล้ว แต่น้อยคนนักที่จะสามารถทำได้ ด้วยวิถีชีวิตในปัจจุบันที่เร่งรีบ การที่สามารถเลือกทานอาหารดี ๆ ในแต่ละมื้อทำได้ยาก ไม่พอเวลาได้ทานมื้อพิเศษก็ยังเลือกอาหารที่ถูกปากมากกว่าอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ฉะนั้นต้องเปลี่ยนมาทานอาหารแต่พอดี หลากหลาย เน้นโปรตีนไขมันน้อย คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เพิ่มแร่ธาตุและไฟเบอร์ด้วยผักและผลไม้ทุกมื้อ
2. ออกกำลังกายอย่างเหมาะสม การเลือกทานอาหารว่ายากแล้ว การออกกำลังกายสำหรับบางคนกลับเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากกว่า แต่เชื่อเถอะครับว่าถ้าลุกขึ้นมาเปลี่ยนตัวเอง การเริ่มมันยากแต่ทำได้แน่นอน อาจจะเริ่มด้วยการออกกำลังกายเบา ๆ ไปทำกิจกรรมที่ชอบ ชวนเพื่อนไปด้วยกัน จะได้เป็นกิจกรรมที่ไม่เครียดจนเกินไปครับ
3. การบริหารจัดการเวลาการทำงานและพักผ่อน อาจจะดูเป็นเรื่องยากแต่อยากให้ทุกคนลองปรับวิธีการทำงานดูครับ เพื่อให้ได้มีเวลาพักผ่อนที่ได้พักจริง ๆ การไม่ได้พักผ่อนเพียงพอจะเป็นการสะสมความเครียด ซึ่งหากเครียดอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อการทำงานของหัวใจ สมอง และทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายทำงานไม่ดีเท่าที่ควรด้วย
4. เลิกสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ สำหรับแอลกอฮอล์หากนาน ๆ ทีเพื่อเฉลิมฉลองหรือเข้าสังคมก็อาจจะพอได้ เพียงแต่ต้องออกกำลังกายเพื่อให้ร่างกายขับแอลกอฮอล์ออกให้หมด ส่วนบุหรี่หากเลิกได้อยากให้เลิกจะดีที่สุด เพราะสารพิษในควันบุหรี่สามารถแทรกซึมเข้าไปในร่างกายได้ระดับเซลล์เลย และจะไปเป็นตัวเร่งทำให้เลือดหนืด ข้น อุดตัน และเกิดโรคหลอดเลือดในสมอง
5. รับประทานสารสกัดจากฮอร์ธอร์นและโคคิวเท็นเป็นประจำ โดยทั้ง 2 สารสกัดสามารถช่วยบำรุงร่างกายในส่วนของการทำงานของหลอดเลือด ให้หลอดเลือดขยาย หัวใจสามารถสูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้อย่างราบรื่น ทั้งยังช่วยลดการอุดตันของไขมันในหลอดเลือด ช่วยควบคุมน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิต ลดคอเลสเตอรอล มีการศึกษาว่าหากรับประทานฮอร์ธอร์นและโคคิวเท็น จะทำให้หัวใจละความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจวาย และเส้นเลือดในสมองแตกเฉียบพลันด้วย