กลัวลูกไม่สูง? ต้องดูแลทั้งโภชนาการ และสุขภาพใจ

ลูกไม่สูง

พ่อแม่ที่หลายคนกังวลเรื่องความสูงของลูก เพราะความสูงอาจจะเป็นสิ่งหนึ่งที่บ่งบอกได้ว่าเด็กมีสุขภาพดีและมีพัฒนาการที่ดีสมวัย พ่อแม่จึงอยากให้ลูกสูงเพราะส่งผลต่อบุคลิกภาพในอนาคต ซึ่งเป็นสิ่งที่พ่อแม่อยากเตรียมตัวให้ลูกได้ทำได้ เรามาดูกันว่าจะมีวิธีไหนที่ช่วยให้ลูกสูงสมวัยบ้าง

 

ปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เด็กไม่สูงสมวัยบ้าง?

แม้ปัจจัยหลัก ๆ จะเกี่ยวกับเรื่องพันธุกรรมกว่าร้อยละ 60 เกิดจากพ่อแม่และบรรพบุรุษ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นอีก เช่น ฮอร์โมนบางชนิดที่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตหรือภาวะการเจ็บป่วยบางอย่าง ซึ่งในกรณีนี้หากได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี และได้รับโภชนาการ รวมถึงสารอาหารและวิตามินที่เหมาะสม

 

จะรู้ได้อย่างไรว่าลูกไม่สูงถึงมาตรฐาน

โดยพื้นฐานแล้วเด็กผู้หญิงจะโตเร็วกว่าเด็กผู้ชาย โดยร่างกายจะเจริญเติบโตและเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นได้เร็วกว่า โดยเฉลี่ยประมาณอายุ 10-11 ปี และจะเริ่มหยุดการเจริญเติบโตช่วง 16 ปี ส่วนผู้ชายจะเริ่มเข้าสู่วัยรุ่นช่วง 12-15 ปี และจะหยุดเติบโตช่วงอายุประมาณ 18-20 ปี โดยผู้ชายไทยปกติจะอยู่ที่ 160-180 เซนติเมตร ส่วนผู้หญิงอยู่ที่ 150-170 เซนติเมตร ซึ่งหากถึงช่วงนี้แล้วลูกยังตัวเล็กสูงไม่ถึงมาตรฐาน อาจจะเข้าไปพบแพทย์และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้

 

ดูแลโภชนาการและปรับพฤติกรรมช่วยให้ลูกสูงขึ้นได้

1. อาหารและสารสกัดสำคัญต่อโภชนาการ

หากอยากให้ลูกสูงต้องให้ลูกได้รับโภชนาการและสารอาหารที่ครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ หากต้องการเน้นสารอาหารที่มีผลต่อความสูง เช่น แคลเซียม ฟอสฟอรัส และแมกนีเซียม ซึ่งมีส่วนช่วยสร้างและคงสภาพของกระดูกเป็นส่วนประกอบของกระดูก และฟัน เน้นโปรตีนเพื่อให้เข้าไปซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และสร้างกล้ามเนื้อ และระบบต่าง ๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ยังมีสารสกัดที่จำเป็น เช่น เบต้ากลูแคนที่ช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง ไม่ป่วยง่าย ไม่ทำให้อ่อนแอ, สารสกัดจากกาแลกโต โอลิโกแซ็กคาไรด์ (GOS) ช่วยเรื่องการขับถ่ายในเด็กให้เป็นระบบ เพราะการขับถ่ายในเด็กมีความสำคัญต่อพัฒนาการอย่างมาก

 

2. การออกกำลังกายและทำกิจกรรม

กิจกรรมที่มีแรงกระแทกจากการกระโดด เช่น วิ่ง กระโดดเชือก ว่ายน้ำ จะกระตุ้นข้อต่อกระดูกให้มีการยืดตัวขึ้น เพิ่มความยาวของกระดูกสันหลัง อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นและเสริมสร้างกล้ามเนื้อหน้าท้อง ซึ่งเด็กควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 30 นาที และออกเป็นประจำ 5 วันต่อสัปดาห์

 

3. การนอนพักผ่อนอย่างเพียงพอ

การนอนหลับที่เพียงพอ คือ การนอนอย่างน้อยวันละ 8 – 10 ชั่วโมง จะช่วยกระตุ้นให้การทำงานของโกรทฮอร์โมนหลั่งอย่างเต็มที่ เพราะฮอร์โมนนี้สำคัญต่อการเจริญเติบโตอย่างมาก จะหลั่งในช่วงเวลานอนและตอนดึก หากเด็กนอนไม่พอจะทำให้ได้รับโกรทฮอร์โมนหลั่งไม่เต็มที่ หากลูกนอนยากพ่อแม่ต้องหาสารสกัดที่ช่วยให้ลูกผ่อนคลาย เช่น สารสกัดจากสารสกัดจากข้าวบาร์เล่ย์ญี่ปุ่น (GABA) ช่วยให้เด็กผ่อนคลาย สามารถนอนหลับได้อย่างสนิท และเพิ่มสมาธิสำหรับการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP