เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก อาการ “ลิ้นหัวใจรั่ว”

ลิ้นหัวใจรั่ว

“หัวใจ” นับได้ว่าเป็นอวัยวะที่ไม่เคยหลับใหล เพราะในขณะที่เราหลับหัวใจก็ยังคงทำงานอยู่ตลอดเวลา ปกติหัวใจของคนเราเต้นอยู่ที่ 60-100 ครั้ง/นาที ในหนึ่ง ๆ วันหัวใจของเราเต้นเป็นแสนครั้ง เพราะร่างกายทุกส่วนต้องการเลือดไปหล่อเลี้ยงอยู่ตลอดเวลา อีกส่วนอวัยวะสำคัญของหัวใจนั่นคือ “ลิ้นหัวใจ” ที่มีควบคุมการไหลเวียนเลือดให้เป็นไปตามทิศทางที่ถูกต้อง และไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับผิดทาง หากอวัยวะนี้ทำงานได้อย่างบกพร่องก็อาจจะเกิดสิ่งไม่คาดคิดกับร่างกายเราได้

การทำงานของลิ้นหัวใจสำคัญอย่างไร?

ลิ้นหัวใจทำหน้าที่เหมือนเป็นประตูกั้น ระหว่างห้องหัวใจที่ทำหน้าที่ควบคุมการไหลเวียนเลือดให้ไปในทิศทางที่ถูกต้อง ไม่ให้เลือดไหลย้อนกลับ ซึ่งหากลิ้นหัวใจมีการทำงานผิดปกติ ก็อาจจะส่งผลกระทบต่อระบบไหลเวียนเลือด ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจต้องทำงานหนักขึ้น จนอาจจะเกิดไปสู่ภาวะต่าง ๆ เช่น หัวใจโต เลือดคั่งในปอด และอาจจะนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลว และมีโอกาสเสียชีวิตได้เลยนะครับ

ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคลิ้นหัวใจรั่ว

สาเหตุที่ก่อให้เกิดโรคลิ้นหัวใจรั่วแบ่งออกได้ 2 สาเหตุใหญ่ ๆ

1. ลิ้นหัวใจผิดปกติตั้งแต่กำเนิด โรคลิ้นหัวใจรั่วส่วนใหญ่มักมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจตั้งแต่กำเนิด ซึ่งทำให้กลุ่มคนเหล่านี้มีโอกาสที่ลิ้นหัวใจจะเสื่อมไวกว่าคนทั่วไป หลายเคสอาจจะไม่มีอาการผิดปกติใด ๆ แต่จะเริ่มเหนื่อยง่าย ใจเต้นเร็ว ใจสั่น เมื่อโตขึ้น

2. การใช้ชีวิต และอายุที่เพิ่มขึ้น

– อายุที่เพิ่มขึ้น ลิ้นหัวใจก็เสื่อมตามอายุขัย มักพบในผู้สูงวัย เกิดจากการเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อลิ้นหัวใจ มีหินปูนเกาะที่ลิ้นหัวใจ ทำให้การทำงานของลิ้นหัวใจไม่ปกติ นำไปสู่ปัญหาหัวใจรั่วและตีบได้

– ลิ้นหัวใจรั่วจากการติดเชื้อ เกิดจากคนไข้อาจจะมีโรคประจำตัว และเกิดการติดเชื้อในกระแสเลือด

– หลอดเลือดหัวใจตีบ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตายและเกิดลิ้นหัวใจรั่วตามมา กลุ่มเสี่ยงคือผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และมีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

– โรคหัวใจรูมาติก พบในเด็กอายุ 5 ขวบขึ้นไป สาเหตุเกิดหลังการติดเชื้อที่บริเวณคอแล้วเกิดอาการอักเสบของกล้ามเนื้อหัวใจ เยื่อหุ้มหัวใจ และลิ้นหัวใจ ทำให้มีลิ้นหัวใจรั่วได้

อาการโรคลิ้นหัวใจรั่ว

– เจ็บหน้าอก

– วิงเวียนศีรษะ อาจจะถึงขั้นเป็นลม หมดสติ

– เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก ออกกำลังกายได้ไม่เต็มที่เหมือนเคย

– ไอ มีเสมหะปนเลือด

– เท้าบวม ขาบวม

ปัจจุบันการรักษาโรคลิ้นหัวใจรั่วมีหลากหลายวิธี ยิ่งได้รับการวินิจฉัยเร็วก็อาจจะทำให้การรักษาเป็นได้รวดเร็ว และไม่ต้องถึงขั้นผ่าตัดนะครับ ยิ่งผู้ที่มีอายุเพิ่มขึ้นก็ควรไปตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ หรืออาหารเสริมสำหรับคนเป็นโรคหัวใจ เช่น สารสกัดจากฮอร์ธอร์น โคคิวเท็น สารสกัดจากทับทิม เป็นต้น วิตามินเหล่านี้ก็จะช่วยบำรุงและฟื้นฟูการทำงานของหัวใจได้ดีขึ้น เต็มประสิทธิภาพมากขึ้น ที่สำคัญต้องดูแลเรื่องอาหาร และออกกำลังกายอย่างพอเหมาะด้วยนะครับ

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP