“ภูมิคุ้มกันบกพร่อง” ทำยังไงเมื่อรู้ว่าเราเป็น

ภูมิคุ้มกันบกพร่อง

เคยสงสัยไหมว่า? ทำไมบางทีเพื่อนป่วยเราอยู่ใกล้เพื่อนแต่เราไม่ได้ป่วยไปด้วย เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกัน (Immune system) ของแต่ละคนทำงานไม่เหมือนกัน โดยระบบภูมิคุ้มกันนี้จะทำหน้าที่ต้านทานเชื้อโรคและกำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาในร่างกายเรา โดยเซลล์ที่ทำหน้าที่อย่างแข็งขันคือ “เซลล์เม็ดเลือดขาว” ที่ไหลเวียนในกระแสเลือดของเรา โดยถูกหล่อเลี้ยงด้วยอาหารที่เรารับประทานเข้าไป และปรับเปลี่ยนไปตามพฤติกรรมในการใช้ชีวิตของเรา นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมแต่ละคนถึงมีภูมิคุ้มกันในร่างกายไม่เท่ากันนั่นเอง

ทำความรู้จักกับภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องคืออะไร?

เป็นกลุ่มโรคที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายผิดปกติ เป็นผลให้เกิดโรคติดเชื้อได้ง่ายและบ่อย  แบ่งเป็น

1. ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดปฐมภูมิ (Primary immunodeficiency, PIDs) มักเป็นแต่กำเนิด และอาจถ่ายทอดทางพันธุกรรม

2. ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องชนิดทุติยภูมิ (Secondary immunodeficiency) อันเป็นภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องที่เกิดขึ้นในภายหลัง ไม่ได้เป็นแต่กำเนิด อาจเกิดจากหลายสาเหตุ

อาการของภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง

ในช่วงแรกที่ติดเชื้อปริมาณไม่มาก และยังไม่ได้สร้างภูมิต้านทานขึ้นมาอาจยังตรวจหาเชื้อหรือภูมิต้านทานต่อเชื้อไม่พบ 

– มีอาการไข้ หนาวสั่น 

– เจ็บคอ ปวดเมื่อยตามตัว มีผื่นขึ้น

– ต่อมน้ำเหลืองที่คอโต

– อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ถ่ายเหลว น้ำหนักลด หรือมีฝ้าขาวในช่องปาก

– ผู้ติดเชื้อบางรายจึงอาจไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษาตั้งแต่ในระยะนี้

ระยะติดเชื้อโดยไม่มีอาการ ผู้ติดเชื้อมักจะแข็งแรงเป็นปกติเหมือนคนทั่วไป แต่เมื่อตรวจเลือดจะพบเชื้อ HIV และสารภูมิคุ้มกันต่อเชื้อชนิดนี้ จึงสามารถแพร่เชื้อให้ผู้อื่นได้ เรียกว่าเป็นพาหะ (Carrier) ระยะนี้แม้ว่าจะไม่มีอาการแต่เชื้อ HIV แต่จะค่อย ๆ ทำลายระบบภูมิคุ้มกันโรคจนมีจำนวนลดลง เมื่อลดต่ำลงมาก ๆ ก็จะเกิดอาการเจ็บป่วยได้ง่าย

ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อรู้ว่าเป็น “ภูมิคุ้มกันบกพร่อง”

– บอกคนรอบข้าง แม้จะรู้สึกอึดอัดใจ หรือเป็นเรื่องยาก แต่ควรบอกเพราะจะได้ดูแลกันได้อย่างเหมาะสม

– รับประทานยาตามแพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด ยาอาจช่วยชะลอการเจริญเติบโตของเชื้อเอชไอวี ป้องกันระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย และลดโอกาสการแพร่เชื้อเอชไอวีสู่ผู้อื่นได้

– รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ โดยเฉพาะผักผลไม้ ธัญพืชไม่ขัดสี พืชตระกูลถั่ว โปรตีนที่ไขมันน้อย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์จะช่วยเสริมคุ้มภูมิกัน และช่วยให้ยาทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย

– ทานอาหารเสริมที่ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย อย่างเบต้ากลูแคน สารสกัดจากเบต้ากลูแคนสามารถกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันได้ดี ให้เซลล์เม็ดเลือดขาวทำงานได้ดีมากขึ้น ลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ ลดการถูกระตุ้นจากสิ่งเร้าที่อาจจะก่อให้เกิดการป่วย ช่วยให้ร่างกายแข็งแรงโดยภาพรวม

– ดูแลสุขภาพจิตใจ คนที่ป่วยเป็นโรคนี้จะรู้สึกด้อยค่าตัวเอง และจมปลักกับการรักษา รู้สึกเครียด หากสิ่งเหล่านี้กระทบการใช้ชีวิตประจำวันอาจจะต้องเข้ารับการปรึกษากับแพทย์

หลายคนอาจจะทราบดีว่าการป่วยเป็นภูมิคุ้มกันบกพร่องไม่สามารถรักษาให้หายได้ แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยยังสามารถมีชีวิตและใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างปกติ และเชื้อไม่ได้แพร่สู่ผู้อื่นผ่านการสัมผัส หรือแม้แต่น้ำลาย ที่สำคัญวิวัฒนาการทางการแพทย์ก็มีการพัฒนาให้ยามีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้ป่วยหลายคนมีอายุยืนได้ด้วย ผู้ป่วยต้องมีวินัยและดูแลตัวเองให้มากขึ้นนะครับ

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP