ปวดหลังแบบนี้อาจเป็นสัญญาณ “มะเร็ง”

ปวดหลัง

ตั้งแต่เจอสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 หลายคนที่ต้องทำงานที่บ้านมักประสบปัญหาเดียวกันนั่นก็คือ อาการ “ปวดหลัง” จากการนั่งทำงานด้วยเก้าอี้ที่ไม่เหมาะสม และสถานที่ที่ไม่เหมาะแก่การนั่งทำงาน รวมไปถึงเวลาการทำงานที่ยาวนานกว่าเดิม แต่อาการปวดหลังนั้นมีหลายสาเหตุ ไม่ใช่แค่ปวดเมื่อยจากการนั่งไม่ถูกท่าเท่านั้น วันนี้จะพาไปดูอาการปวดหลังที่อาจจะนำไปสู่การเป็นโรคร้ายอย่างมะเร็ง เพื่อให้ทุกคนสำรวจอาหารปวดหลังของตัวเองกันครับ

“ปวดหลัง” เกิดจากอะไรบ้าง?

อาการปวดหลังเกิดจากอวัยวะและส่วนของร่างกายบริเวณหลัง เช่น ข้อกระดูกสันหลัง หมอนรองกระดูกสันหลัง กล้ามเนื้อ เส้นเอ็น เกิดการเคล็ดขัดยอก เสื่อมหรือเกิดการอักเสบ หรืออาจจะเกิดจากอวัยวะส่วนอื่นที่ไม่เกี่ยวข้อง แต่มีอาการป่วย แล้วปวดลามมาถึงหลัง เช่น มีนิ่วในไต หลอดเลือดใหญ่ในท้องโป่งพอง หรือเนื้องอกในกระดูกสันหลัง โดยปัจจัยที่ทำให้เกิดการปวดหลัง นอกจากอายุที่มากขึ้น ยังรวมไปถึงอาการบาดเจ็บเคล็ดขัดยอก ตามข้อต่อ กล้ามเนื้อ กระดูกสันหลัง เนื่องจากการใช้งานส่วนใดส่วนหนึ่งหนักจนเกินไป อาจเกิดจากการออกกำลังกาย การยกของหนัก หรือการอยู่กับที่นาน ๆ

อาการปวดหลังที่ไม่ใช่แค่ปวดหลัง

อาการปวดหลังที่น่าเป็นกังวล คือ อาการปวดหลังที่เสี่ยงจะเป็นเนื้องอกในกระดูกสันหลัง แม้โรคนี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับคนทั่วไปไม่มากนัก แต่หากเป็นคนไข้ที่เป็นมะเร็งอยู่แล้ว หรือมีเนื้องอกอยู่ในบริเวณอื่นก่อนอยู่แล้ว ก็อาจจะมีความเสี่ยงที่จะเกิดเนื้องอกบริเวณกระดูกสันหลังได้มากขึ้น ซึ่งต้องเฝ้าระวังมากกว่าคนทั่วไป โดยอาการปวดหลังที่เสี่ยงจะเป็นเนื้องอกกระดูกสันหลัง มีอาการดังนี้

– ปวดหลังต่อเนื่องยาวนาน ไม่หายขาด แม้จะทานยา หรือกายภาพบำบัดแล้วก็ตาม

– มีปวดระบบประสาทร่วมด้วย อาจมีอาการชาตามอวัยวะต่าง ๆ มีอาการอ่อนแรงร่วมด้วย หากเป็นมาก ขาอาจอ่อนแรงและมีปัญหาระบบขับถ่าย

– น้ำหนักลดผิดปกติ ปวดเมื่อยจนเป็นไข้ เบื่ออาหารร่วมกับอาการปวดหลัง ต้องระวังและเข้ารับการวินิจฉัยโดยละเอียด

– ปวดมากตอนกลางคืน ต่างจากอาการปวดหลังจากโรคกระดูกสันหลังเสื่อมที่มักปวดเวลาขยับ เอี้ยวตัว ก้ม หรือเดิน

ป้องกันการปวดหลังก่อนนำไปสู่มะเร็ง

แม้การปวดหลังที่นำไปสู่มะเร็งไม่ได้เกิดขึ้นง่าย ๆ อย่างที่เล่าไปข้างต้นนะครับ แต่อย่างไรก็ตามเราควรจะดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันการเกิดโรคร้ายจะดีที่สุด ซึ่งการที่จะห่างไกลจากโรคคือการดูแลสุขภาพองค์รวมของเราให้ดีนั่นเอง โดยการ

– เลือกรับประทานอาหารให้ดี ทานให้หลากหลาย ลดการทานของมัน ของทอด หรืออาหารที่มีน้ำตาลสูง

– ทานวิตามินหรืออาหารเสริมที่ช่วยเรื่องภูมิคุ้มกันอย่าง “เบต้ากลูแคน” เพื่อช่วยเพิ่มการป้องกันต่อไวรัส แบคทีเรีย และปรสิตต่าง ๆ เข้าร่างกาย ลดการป่วยแบบไม่จำเป็น และให้ร่างกายแข็งแรงเสมอ บำรุงให้เซลล์ให้ทำงานได้ไม่ผิดเพี้ยนจนนำไปสู่โรคร้ายอย่างเนื้องอกหรือมะเร็ง

– ออกกำลังกายให้พอเหมาะ เพื่อกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ แข็งแรง และเมแทบอลิซึมทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

– พักผ่อนให้เพียงพอ ลดความเครียด หนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ทำให้ร่างกายอ่อนแอ และป่วยง่าย

– เลี่ยงความเสี่ยงจากปัจจัยอื่น ๆ เช่น การสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ หรือการสูดดมฝุ่นควันเป็นประจำ

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP