WFH ซินโดรม เรื้อรัง อาการหนัก รักษายาก!

WFH ซินโดรม

หลายคนอาจจะคุ้นชินกับออฟฟิศซินโดรม แต่ปัจจุบันที่โลกเผชิญกับโรคระบาดอย่างโควิด-19 ทำให้ต้องทำงานที่บ้าน ชาวมนุษย์เงินเดือนทั้งหลายก็ต้องมาเจอกับ WFH ซินโดรมกันอีก และมีแนวโน้มว่าจะมีอาการหนัก เรื้อรัง และอาจจะรักษายากกว่าออฟฟิศซินโดรมเสียอีก มาดูสาเหตุและวิธีการป้องกันก่อนที่จะต้องเผชิญกับโรคและความเจ็บป่วยที่อาจจะยากรับมือในอนาคต

สาเหตุของ Work From Home Syndrome

เพราะบ้านไม่ใช่สถานที่สำหรับทำงาน บ้านคือสถานที่แห่งการพักผ่อน ใช้เวลากับครอบครัวหรือเพื่อนในวันหยุด แต่เมื่อต้องแปรสภาพมาเป็นที่ทำงานทำให้เส้นแบ่งชีวิตระหว่างสองเรื่องนี้ที่ควรจะแยกกันกลับต้องคาบเกี่ยวกันจนแยกไม่ออก โดยเฉพาะพื้นที่สำหรับทำงานหลายคนต้องใช้ห้องนอน เพราะเงียบสงบ มีความเป็นส่วนตัว แต่อุปกรณ์การทำงานไม่ได้เพียบพร้อมเหมือนที่ออฟฟิศ โต๊ะ เก้าอี้ ไม่ได้เหมาะสำหรับการนั่งทำงานนานๆ ปัญหาที่หลายคนพบเจอตามมาคืออาการปวดตามร่างกาย แม้จะพยายามบีบนวด ใช้แผ่นแปะบรรเทาอาการปวดก็ไม่อาจหายไปได้ เนื่องจากการอุปกรณ์ทำงานที่ไม่สอดคล้องกับสรีระของเรา

มีความเป็นไปได้ว่า  WFH ซินโดรมจะหนักและเรื้อรังกว่าออฟฟิศซินโดรม

ความไม่พร้อมของอุปกรณ์ในการทำงานเป็นปัจจัยใหญ่มากๆ สำหรับการป่วยเป็น Work From Home Syndrome นะครับ คิดภาพง่ายๆ ว่าหลายคนเคยทำงานผ่านคอมพิวเตอร์แบบตั้งโต๊ะ พอทำงานที่บ้านต้องใช้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก ระดับสายตาและระดับการนั่งก็ต่างกันแล้ว ปัญหาที่ตามมาคืออาการปวดคออย่างเลี่ยงไม่ได้ หรือที่ออฟฟิศใช้เก้าอี้สำนักงานที่เหมาะกับการนั่งทำงานเป็นเวลานาน แต่พอทำงานที่บ้านต้องใช้เก้าอี้สำหรับทานข้าวที่ไม่เหมาะกับการนั่งนานๆ ทำให้เกิดอาการปวดหลัง บ่า และสะโพก นี่จึงเป็นสาเหตุว่าหากยิ่งใช้เวลาทำงานอยู่บ้านนานๆ อาการเหล่านี้อาจจะเรื้อรัง และรักษาหายยาก จากความไม่เหมาะสมในการทำงานทุกด้าน

สภาวะเครียดยิ่งซ้ำเติมให้ Work From Home Syndrome แก้ยากขึ้น

นอกจากนี้การทำงานให้พื้นที่ปิด ไม่ว่าจะบ้าน คอนโด หรือกระทั่งห้องแคบๆ ต้องใช้สมาธิในการทำงานมากกว่าปกติ ต้องอยู่กับตัวเองเป็นเวลานานๆ อุดอู้ มักจะมีความคิดกระจัดกระจาย อาจจะทำให้มีภาวะเครียดที่ต้องถูกจำกัดพื้นที่ด้วยความจำเป็น ไหนจะความกังวลเรื่องโรคระบาด การเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมและสังคมอย่างกะทันหัน และผิดธรรมชาติของมนุษย์ที่ยากต่อการปรับตัว สิ่งที่ตามมาคือความเครียดที่สั่งสมมาเรื่อย ๆ ทั้งรู้และไม่รู้ตัว ทำให้ร่างกายจะอ่อนแอลง มีภูมิคุ้มกันต่ำลง และอาจจะเสี่ยงป่วยได้ง่าย ยิ่งใครที่มีโรคประจำตัวอาการอาจจะกำเริบได้ง่ายเช่นกัน

วิธีการป้องกันการเป็น Work From Home Syndrome

– ขอความช่วยเหลือจากองค์กรหรือที่ทำงาน เรื่องอุปกรณ์ในการทำงาน หากจะต้องปรับเปลี่ยนหรือซื้ออุปกรณ์สำหรับการทำงานให้เหมาะสมขึ้น

– เปลี่ยนอิริยาบถในการทำงาน ยืน เดิน หรือไปเข้าห้องน้ำ อย่านั่งนานเกินไป

– หากอาการปวดตามเนื้อตัวรุนแรง ต้องปรึกษาแพทย์ กินยาบรรเทาตามอาการ ไม่ควรปล่อยให้ปวดต่อเนื่อง

– ออกกำลังกาย ใช้ท่ากายบริหารสำหรับลดอาการปวดเมื่อย

– หาวิธีคลายความเครียด เช่น การฟังเพลงที่ชอบ ดูซีรีส์ อ่านหนังสือ หรือการสร้างบรรยากาศผ่อนคลาย อย่างการใช้เทียนหอม หรือกำยาน

– หากรู้สึกว่าปัญหาด้านความเครียดส่งผลต่อการใช้ชีวิต ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับการรักษา

– กำหนดเวลา ทำงาน เลิกงาน และแบ่งเวลาเพื่อออกกำลังกาย ยืดเส้นยืดสาย

– อย่าลืมดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ ด้วยการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ นอนให้พอ และเสริมด้วยเบต้ากลูแคน ที่มีส่วนช่วยดูแลในเรื่องของระบบภูมิคุ้มกัน จะได้แข็งแรง ไม่ป่วยง่ายๆ นะครับ

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP