พอโควิด-19 ระบาดไปทั่วโลก ทำหลายคนหลงลืมโรคเดิม ๆ ที่อยู่ใกล้ตัวอย่างโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ไปเสียสนิทเลยใช่มั้ยครับ แต่รู้ไหมครับว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรังนั้น คร่าชีวิตผู้คนทั่วโลกก่อนที่จะมีโควิด-19 มากมาย และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 1 อีกด้วย นั่นจึงต้องทำให้เราต้องหันกลับมาให้ความสำคัญของโรคนี้กันด้วยครับ ไม่ควรละเลย และต้องให้ความสำคัญมากพอ ๆ กับโรคติดต่อเลยครับ
โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลกได้คาดการณ์ไว้ว่าในปี พ.ศ. 2573 ประชากรโลกจำนวน 23 ล้านคนจะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โดยร้อยละ 85 อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งประชากรส่วนใหญ่จะเสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจถึง 17 ล้านคน หรือคิดเป็น 48% ของการเสียชีวิตจากโรคไม่ติดต่อทั้งหมด รองลงมา คือ โรคมะเร็ง โรคถุงลมโป่งพอง โรคปอดเรื้อรัง โรคหอบหืด และโรคเบาหวาน สำหรับประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคกลุ่ม NCDs ในสัดส่วนที่สูงกว่านานาชาติ โดยสาเหตุของการเสียชีวิตกว่า 300,000 รายในปี พ.ศ. 2552 ประเทศไทยมีสถิติการเสียชีวิตและผลกระทบจากกลุ่มโรค NCDs มากกว่าทั้งโลกเสียอีก นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมโรคไม่ติดต่อเรื้อถึงน่าเป็นกังวลกว่าโรคติดต่อเสียอีก
ทำไมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังถึงน่ากลัวกว่าโรคติดต่อ?
– โรคติดต่อมักจะเกิดจากเชื้อไวรัส แบคทีเรีย ปรสิต ต่าง ๆ ที่เข้าสู่ร่างกายของเรา และภูมิคุ้มกันในร่างกายไม่สามารถกำจัดสิ่งแปลกปลอมได้ ทำให้เราได้รับเชื้อเหล่านั้นมา มักจะแสดงอาการทันที เช่น เป็นไข้ เป็นหวัด โรคไข้เลือดออก หรือการได้รับเชื้อโควิด-19 ซึ่งทำให้เราสามารถเข้ารับการรักษาได้ทันท่วงทีนั่นเอง
– ส่วนโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคเกิดจากพฤติกรรมของเราในแต่ละวัน โดยเฉพาะการรับประทานอาหาร การพักผ่อน การไม่ออกกำลังกาย ซึ่งกว่าจะรู้ว่าตนเองป่วยเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอาการของโรคมักจะอยู่ในขั้นตอนที่ต้องรักษาอย่างต่อเนื่องแล้ว เช่น โรคเบาหวาน หรือโรคมะเร็ง เป็นต้น เพราะอาการของโรคมักไม่ค่อยแสดงออกให้เราเห็นนั่นเองครับ
โรคไม่ติดต่อเรื้อรังมีอะไรบ้าง?
โรคมะเร็ง
โรคเบาหวาน
โรคหลอดเลือดสมอง
โรคทางระบบหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ
โรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ถุงลมโป่งพอง
โรคไตเรื้อรัง
โรคอ้วนลงพุง
การป้องกันโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต้องเปลี่ยนพฤติกรรม
อย่างที่กล่าวไปว่าโรคไม่ติดต่อเรื้อรังเกิดจากพฤติกรรมของเรา ฉะนั้นการเร่งเปลี่ยนพฤติกรรมจะช่วยป้องกันโรคเหล่านี้ได้นะครับ
– เลือกรับประทานอาหารให้มากขึ้น ลดและเลี่ยงอาหารรสจัด อาหารไขมัน น้ำตาล และโซเดียมสูง หันมาให้ความสำคัญกับการรับประทานอาหารตามหลักโภชนาการมากขึ้น
– เลือกทานวิตามินและอาหารเสริมที่มีเบต้ากลูแคน ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยลดความเสี่ยงของเซลล์ที่จะทำงานผิดปกติ รวมถึงลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็ง รวมไปถึงช่วยควบคุมคอเลสเตอรอลได้ด้วย
– การพักผ่อนอย่างเพียงพอก็ถือเป็นเรื่องสำคัญ หลายคนทำงานหนัก เครียด ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอก็สะสมเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ครับ
– ออกกำลังกาย หลายคนทราบอยู่แล้วว่าการออกกำลังกายสำคัญต่อร่างกาย ฉะนั้นควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนะครับ