โรคอ้วนกลายเป็นปัญหาสุขภาพที่ทวีความรุนแรงขึ้นทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย แม้ว่าหลายคนอาจมองว่าเป็นเพียงเรื่องของรูปร่างหรือความสวยงาม แต่ความจริงแล้วโรคอ้วนมีความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับโรคร้ายแรงต่าง ๆ ซึ่งสามารถส่งผลถึงชีวิตได้ ทว่าปัญหาที่น่ากังวลคือผู้ที่ประสบภาวะโรคอ้วนจำนวนมากยังไม่ได้รับการรักษาอย่างจริงจัง ส่งผลให้สถิติของโรคอ้วนยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มาดูกันครับว่าทำไมโรคอ้วนถึงอันตรายกว่าที่หลายคนเข้าใจ
โรคอ้วนคืออะไร?
โรคอ้วน (Obesity) เป็นภาวะที่ร่างกายมีไขมันสะสมมากเกินไป ทำให้น้ำหนักตัวสูงกว่าระดับที่ถือว่าปกติ โดยทั่วไปมักใช้ค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index: BMI) เป็นตัววัดความสมดุลระหว่างน้ำหนักและส่วนสูง โรคนี้ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดปัญหาทางกายภาพ แต่ยังเกี่ยวข้องกับปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อโรคต่าง ๆ ซึ่งอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิต จากรายงานการสำรวจสุขภาพคนไทย พบว่าสถิติของผู้ที่มีภาวะอ้วนในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขเผยว่า ประชากรไทยกว่า 1 ใน 3 มีภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วน โดยเฉพาะในกลุ่มวัยทำงานและผู้สูงอายุ ซึ่งถือเป็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เนื่องจากการมีน้ำหนักเกินมาตรฐานหรือโรคอ้วนเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคร้ายแรงหลายประการ
อันตรายจากโรคอ้วนที่เสี่ยงถึงชีวิต
โรคหัวใจและหลอดเลือด: โรคอ้วนเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจและหลอดเลือด เนื่องจากการมีไขมันสะสมในร่างกายมากเกินไปจะส่งผลให้หลอดเลือดตีบและแข็งตัว นำไปสู่โรคหัวใจวาย หรือภาวะหลอดเลือดสมองแตก (Stroke) ซึ่งสามารถเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว
โรคเบาหวานชนิดที่ 2
ผู้ที่มีภาวะอ้วนมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เพราะร่างกายจะมีภาวะดื้ออินซูลิน ซึ่งส่งผลให้การควบคุมน้ำตาลในเลือดผิดปกติ ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคไตวาย โรคหัวใจ หรือปัญหาสายตา
ความดันโลหิตสูง
โรคอ้วนสัมพันธ์กับความดันโลหิตสูง การที่ร่างกายมีน้ำหนักเกินทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นในการสูบฉีดเลือด ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมอง
โรคไขมันในเลือดสูง
ผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรืออ้วนมักมีปัญหาเกี่ยวกับระดับไขมันในเลือดสูง ทั้งไขมันเลว (LDL) และไขมันไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด
โรคมะเร็ง
การมีภาวะอ้วนยังเกี่ยวข้องกับความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งหลายชนิด เช่น มะเร็งลำไส้ มะเร็งเต้านม มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งรังไข่ เนื่องจากไขมันในร่างกายเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการอักเสบเรื้อรังและฮอร์โมนที่ไม่สมดุล และการทำงานของเซลล์ต่างในร่างกายทำงานได้ลดประสิทธิภาพลง
ทำไมการรักษาภาวะอ้วนจึงยังน้อย?
หลัก ๆ คือความเข้าใจผิดเกี่ยวกับโรคอ้วน เพราะหลายคนยังมองว่าโรคอ้วนเป็นเพียงปัญหาด้านรูปร่างหรือความสวยงาม ทำให้ไม่ให้ความสำคัญกับการรักษา เพราะไม่ตระหนักถึงผลกระทบที่โรคนี้อาจมีต่อสุขภาพระยะยาว และการรักษาภาวะอ้วนไม่ได้หมายถึงการอดอาหารหรือออกกำลังกายอย่างหนักเพียงอย่างเดียว แต่ต้องมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตอย่างรอบด้าน เช่น การบริโภคอาหารที่มีประโยชน์ การควบคุมพฤติกรรมการกิน การลดความเครียด และการออกกำลังกายอย่างเหมาะสม การเข้าถคงการรักษาโรคอ้วนบางครั้งต้องอาศัยการรักษาทางการแพทย์ การมีวัฒนธรรมการบริโภคอาหารที่ทำให้ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักรู้สึกแปลกแยก
การดูแลและป้องกันโรคอ้วน
การป้องกันโรคอ้วนไม่เพียงแต่ช่วยลดความเสี่ยงของโรคร้ายแรง แต่ยังช่วยเสริมสร้างสุขภาพร่างกายและจิตใจให้ดีขึ้น
1. ควบคุมการรับประทานอาหาร หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง น้ำตาล และคาร์โบไฮเดรต ควรรับประทานผักและผลไม้มากขึ้น รวมถึงควบคุมปริมาณอาหารในแต่ละมื้อ
2. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ช่วยเผาผลาญแคลอรีและไขมันในร่างกาย ควรเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับสภาพร่างกาย เช่น เดิน วิ่ง หรือว่ายน้ำ
3. นอนหลับเพียงพอ การนอนหลับไม่เพียงพออาจทำให้ร่างกายมีความเสี่ยงต่อการอ้วนมากขึ้น
4. หลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารดึกดื่น การทานอาหารในช่วงดึกเป็นสาเหตุหนึ่งของการสะสมไขมัน ควรหลีกเลี่ยงการทานอาหารก่อนเข้านอนอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
5. รับประทานสารสกัดที่มีส่วนช่วยเรื่องการควบคุมน้ำตาลในเลือด เช่น ฮอร์ธอร์น นอกจากจะช่วยควบคุมน้ำตาล คันดันโลหิตแล้ว ยังมีส่วนช่วยดูแลหัวใจและให้หลอดเลือดหัวใจยืดหยุ่นมากขึ้น กระตุ้นการไหลเวียนของเลือด และดูแลโรคอ้วนได้ หรือสารสกัดจากซีตรัสออเรนเทียมที่ช่วยเพิ่มการเผาผลาญให้ร่างกาย และกระตุ้นการทำงานเมทแทบอลิซึมให้ดียิ่งขึ้น
หากสนใจสารสกัดที่ช่วยดูแลเรื่องโรคอ้วน บำรุงดันโลหิตหรือช่วยดูแลหัวใจให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถติดต่อ ติดต่อทีม YOUR เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ทาง Inbox m.me/yourofficialthailand หรือ Line : @Yourthailand