แม้หลายคนจะรู้อยู่แล้วว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นจุดเริ่มต้นของการเกิดโรคต่าง ๆ แต่มีรายงานว่ามีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงหลายคนเลือกที่จะไม่เข้ารับการรักษา หรือเข้ารับการวินิจฉัยว่าตัวเองเป็นโรคความดันโลหิต ด้วยรู้สึกว่าไม่ใช่โรคร้ายแรงและเสียเวลาในการเข้ารับการรักษา แต่รู้หรือไม่ว่าโรคความดันโลหิตสูงเป็นประตูสู่โรคอื่น ๆ ได้ โดยเฉพาะโรคไตวายเรื้อรัง
ทำไมการเป็นโรคความดันโลหิตสูงถึงทำลายระบบไต
ในช่วงเริ่มต้นที่ไม่ได้เป็นความดันโลหิตสูงชนิดที่ไม่รุนแรงมาก การสูบฉีดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ หัวใจต้องทำงานหนักมากขึ้น เพราะภาวะความดันโลหิตที่ไม่ปกติ ก็อาจจะส่งผลให้ผนังหลอดเลือดหัวใจค่อย ๆ หนาตัวขึ้น เลือดอาจจะไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ เกิดเป็นภาวะเนื้อไตขาดเลือด ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของระบบไต และโครงสร้างการทำงานของไต แต่หากไต่ระดับขึ้นไปเป็นโรคความดันโลหิตแบบที่รุนแรง คือ ค่าความดันอยู่ที่ 200/130 มิลลิเมตรปรอท ก็อาจจะส่งผลให้ไตสูญเสียกลไกการป้องกันแรงดันเลือดสูง เสี่ยงที่จะเกิดภาวะไตวายเฉียบพลันได้
ยิ่งปล่อยไว้นาน หัวใจทำงานหนัก ไตก็ยิ่งทำงานหนัก
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงในระยะยาวทำให้เส้นเลือดทั่วร่างกายค่อย ๆ เสื่อมสภาพ ทำให้เกิดโรคที่เกี่ยวกับหลอดเลือด โดยเฉพาะหลอดเลือดหัวใจและหลอดเลือดไต อาจจะทำให้มีโปรตีนรั่วออกมาทางปัสสาวะ ไตไม่สามารถจับเกลือแร่และของเสียได้ ยิ่งทำให้เกลือแร่ไปคั่งอยู่ในกระแสเลือด ยิ่งส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้นไปอีก เสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจวาย หรือช็อกหมดสติ จนกลายเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้เลย
ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรีเช็กอาการ เสี่ยงโรคไตวายเรื้อรัง
– ปวดศีรษะบริเวณท้ายทอย
– มึนงง
– คลื่นไส้อาเจียน
– หน้ามืดคล้ายจะเป็นลม
– หมั่นเช็กค่าความดันด้วยตัวเอง
– ปัสสาวะติดขัด มีสีและกลิ่นที่แปลก ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม
ป้องกันไตวายเรื้อรังในผู้ป่วยโรคความดันโลหิต
ควบคุมความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 130/80 มิลลิเมตรปรอท สำหรับคนที่มีโอกาสเสี่ยงต่อไตวาย คือตรวจพบโปรตีนในปัสสาวะมากกว่า 1 กรัมต่อวัน ควรควบคุมความดันโลหิตให้ต่ำกว่า 125/75 มิลลิเมตรปรอท ร่วมกับการดูแลสุขภาพโดยรวม โดยเฉพาะการปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ไม่ว่าจะเป็นการทำงานหนักเกินไป พักผ่อนน้อย และการรับประทานอาหารที่เสี่ยงทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
ป้องกันเป็นโรคความดันเริ่มจากวันนี้
โรคความดันโลหิตสูงแม้จะสามารถเกิดจากพันธุกรรมได้ แต่โรคนี้ปัจจัยในการเกิดส่วนใหญ่มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตในแต่ละวันของเรามากกว่า การรับประทานอาหารรสจัด โดยเฉพาะรสเค็ม และการทานอาหารที่น้ำตาลสูง ไขมันสูง สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ ทำงานหนัก มีเรื่องเครียด และพักผ่อนไม่เพียงพอ อีกทั้งยังไม่ออกกำลังกายอีกด้วย สาเหตุเหล่านี้คือปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ หากปรับเปลี่ยนพฤติกรรม รวมไปถึงรับประทานสารสกัดจากฮอร์ธอร์นและโคคิวเท็นก็จะช่วยลดปัจจัยเสี่ยงที่จะเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ ทั้งยังช่วยกระตุ้นการทำงานของหลอดเลือดและขยายกล้ามเนื้อหลอดเลือด ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้นครับ