“โซเดียม” ภัยเงียบก่อโรคความดัน เสี่ยงหัวใจทำงานหนัก

โซเดียม

การรับประทานอาหาร “รสเค็ม” หรือ การบริโภคโซเดียมหรือเหลือในปริมาณมาก หลายคนอาจจะคิดว่าเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกี่ยวกับไตอย่างเดียว แท้จริงแล้วการทานรสเค็มส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่าที่หลายคนเข้าใจ และอาหารในปัจจุบันก็มีปริมาณโซเดียมสูงเกินกว่าที่ร่างกายต้องการ และทำให้เราบริโภคแบบที่ละเลยสุขภาพมาโดยตลอด มาดูกันว่าการบริโภคโซเดียมจำนวนมาก ส่งผลเสียต่อสุขภาพของเรามากแค่ไหน

 

การบริโภคโซเดียมส่งผลต่อการทำงานของความดันโลหิตและหัวใจ

การบริโภคโซเดียมในปริมาณมากจะทำให้เลือดมีความเข้มข้นของโซเดียมมาก ปฏิกิริยาของร่างกายจะต้องลดความเข้มข้นลง โดยดึงน้ำเข้ามาในหลอดเลือดเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้หัวใจทำงานหนัก ต้องสูบฉีดเลือดในปริมาณมากตลอดเวลาที่เกิดปฏิกิริยานี้ หัวใจเต้นเร็ว กล้ามเนื้อหัวใจทำงานหนัก อาจจะทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหนา ซึ่งเป็นปัจจัยให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด หากเกิดภาวะนี้ต่อร่างกายบ่อยเข้า อาจจะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน เกิดเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ และหลอดเลือดสมอง

 

ไม่เพียงเท่านี้การบริโภคโซเดียมในปริมาณมากจะเกิดการคั่งของสารน้ำในร่างกาย ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น ซึ่งเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโลหิตสูงพอ ๆ กับโรคเบาหวานหรือโรคอ้วน ซึ่งหากใครที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงก็เหมือนเปิดประตูสู่โรคหัวใจตามมา และแน่นอนว่าเสี่ยงที่จะเป็นโรคไตเพราะร่างกายต้องกรองของเสียผ่านไตเพื่อขับถ่ายออกทางปัสสาวะมากขึ้น จะเห็นได้เลยว่าการรับประทานอาหารรสเค็มจนติดเป็นนิสัยไม่ได้ทำให้เป็นโรคไตอย่างเดียว แต่ยังเป็นสาเหตุของโรคอื่น ๆ ได้อีก

 

อาหารที่มีโซเดียมสูง แต่หลายคนมองข้าม

1. หมูกระทะ/ชาบู

โซเดียมแทบจะอยู่ในทุก ๆ วัตถุดิบของการรับประทานหมูกระทะและชาบูเลยก็ว่าได้ ทั้งหมูหมัก เนื้อหมัก อาหารแปรรูปอย่างไส้กรอก เบคอน ลูกชิ้น น้ำซุปสำหรับต้ม ที่สำคัญในน้ำจิ้มที่หลายคนขาดไม่ได้ ยังไม่รวมถึงอาหารทานเล่นที่เป็นเครื่องเคียง

2. ยำ/ส้มตำ

นับเป็นอาหารยอดฮิตของคนไทยตลอดกาล ด้วยรสชาติที่เข้มข้นและมีหลากหลายรสสัมผัส แต่วัตถุดิบที่ใช้ในการปรุงมักจะเต็มไปด้วยโซเดียม ทั้งน้ำปลา น้ำปลาร้า ผงปรุงรส ฯลฯ นอกจากนี้บางร้านอาจจะมีการเติมวัตถุดิบอื่น ๆ เช่น ไข่แดงเค็ม อาหารแปรรูป อย่างหมูยอ ไส้กรอก ยิ่งเพิ่มประมาณโซเดียมเข้าไปอีก

3. บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป

อาหารคู่บ้านของใครหลายคน แต่หากอ่านฉลากหน้าซองแล้วจะรู้ว่าโซเดียมต่อการบริโภค 1 ซองนั้นมีปริมาณสูงมาก 1,300 – 2,300 มิลลิกรัม ซึ่งร่างกายของเราไม่ควรบริโภคโซเดียมเกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวัน

 

นอกจากที่กล่าวไปข้างต้นยังมีอาหารอีกหลายเมนูที่มีปริมาณโซเดียมสูง ทางที่ดีก่อนเราบริโภคควรจะอ่านฉลากหน้าซองเพื่อให้รู้ว่ามีปริมาณสารอาหารที่เราได้รับเท่าไหร่ ซึ่งอาหารที่ควรเลี่ยง หรืออาหารที่มีสารกันบูดหรืออาหารแช่แข็ง เพราะกระบวนการผลิตต้องอาศัยการใช้โซเดียมในการคงรสชาติจำนวนมาก หากรับประทานบ่อย ๆ เสี่ยงที่ร่างกายอาจจะเกิดโรคได้

 

ที่สำคัญหากใครที่ต้องการป้องกันตัวเองจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อย่างโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือด และโรคหัวใจ ควรใส่ใจดูแลสุขภาพของหัวใจ ด้วยการรับประทานสารสกัดจากฮอร์ธอร์นและโคคิวเท็นเป็นประจำ เพื่อบำรุงให้กล้ามเนื้อหลอดเลือดแข็งแรง มีความยืดหยุ่นสูง สามารถนำเลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจและอวัยวะต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเติมพลังงานให้หัวใจยังสามารถทำงานได้อย่างปกติ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคดังกล่าวก่อนวัย และช่วยให้สุขภาพแข็งแรงจากภายในสู่ภายนอกด้วย

 

สามารถสั่งซื้อหรือติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง Inbox m.me/yourofficialthailand หรือ Line : @Yourthailand

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP