หลายคนอาจจะทราบอยู่แล้วว่าอาหารที่มีน้ำตาลและไขมันสูง ส่งผลร้ายต่อร่างกายมากกว่าผลดี แต่รู้ไหมว่า อาหารที่มีรสเค็มหรือมีปริมาณโซเดียมสูงนั้นก็อันตรายไม่แพ้กัน เพราะเสี่ยงให้เกิดโรคความดันโลหิต โรคเบาหวาน และโรคหัวใจได้เช่นกัน ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น มาหาคำตอบ พร้อมวิธีดูแลตัวเองกันครับ
ปัจจุบันอาหารยอดฮิตหลายชนิดมีปริมาณโซเดียมที่สูงมาก ๆ นะครับ เช่น หม้อไฟชาบูหรือสุกี้ โดยในน้ำซุปจะมีการปรุงเพื่อให้ได้รสชาติ ซึ่งส่วนใหญ่จะมีรสเค็มนำ น้ำจิ้มสูตรต่าง ๆ ก็รสจัดจ้านเต็มไปด้วยผลิตภัณฑ์ปรุงรสเพื่อเพิ่มรสชาติ นอกจากนี้ในเนื้อหมู เนื้อวัว หรืออาหารทะเล ก็ยังมีการหมักมากก่อนด้วย ไม่เพียงเท่านั้นยังมีอาหารแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน เหล่านี้ก็ล้วนมีปริมาณโซเดียมที่สูงมาก ๆ ซึ่งหากรับปริมาณแบบบุฟเฟ่ต์ในหนึ่งมื้อ เราอาจจะได้รับโซเดียมถึง 10,000 มิลลิกรัมเลยทีเดียว ทั้งที่ปกติร่างกายคนเราไม่ควรบริโภคโซเดียมเกิน 2,000 มิลลิกรัม/วัน เท่านั้น
ทำไมทานรสเค็มถึงอันตรายต่อร่างกาย?
เมื่อร่างกายได้รับเกลือหรือโซเดียมในปริมาณมาก สังเกตว่าร่างกายของเราต้องการน้ำ เราจึงกระหายน้ำมาก นั่นเพราะร่างกายพยายามขจัดโซเดียม ร่างกายของเราจะพยายามดึงน้ำออกมาให้ได้มากที่สุด ซึ่งหากเราบริโภคอาหารรสเค็มจัดอยู่เสมอปฏิกิริยานี้ของร่างกายก็ยิ่งทำงานหนัก ส่งผลให้ความดันในเลือดสูงขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าการที่ร่างกายมีความดันสูงต่อเนื่อง ก็เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงได้มากยิ่งขึ้น และนำไปสู่โรคหัวใจได้ไม่ยากเลยครับ
ทำไมทานรสเค็มถึงเสี่ยงเบาหวานได้?
หลายคนเข้าใจว่าการรับประทานอาหารสหวาน เสี่ยงทำให้เป็นโรคเบาหวานหรือโรคอ้วนได้ แต่การทานรสเค็มก็เสี่ยงที่นำพาเราไปสู่โรคเบาหวานได้เช่นกัน เพราะเมื่อเราทานอาหารรสเค็ม ลิ้นของเราจะมีการเปิดรับรสได้ดีขึ้น สามารถทานอาหารได้มากขึ้น ทั้งสมองของเรายังจดจำรสชาติเค็ม และกลิ่นของเกลือได้ดีกว่ารสอื่น ๆ ทำให้เราสามารถนึกถึงอาหารรสเค็มได้ และทำให้เราอยากกลับไปลิ้มลองได้เรื่อย ๆ นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทานเค็มก็เสี่ยงเบาหวานได้ไม่ต่างจากทานหวานหรือทานอาหารรสอื่น ๆ เลย
ค่าโซเดียมสูงเมื่อติดรสเค็มจะดูแลตัวเองอย่างไร?
หากรู้ว่าตัวเองติดอาหารรสชาติเค็ม ก็ไม่ถึงกับต้องหักดิบเลิกเสียเลยเพราะไม่เช่นนั้นอาจจะทำให้อ่อนเพลียได้ ให้ค่อย ๆ ลดและเลือกทานอาหารมากยิ่งขึ้น ให้เวลาร่างกายได้ปรับตัว พยายามดื่มน้ำมาก ๆ หลังมื้ออาหาร เว้นระยะการทานอาหารที่ชอบที่มีรสเค็มให้นานขึ้น ทานผักและผลไม้ระหว่างวัน หรือเลือกเป็นธัญพืชจะช่วยให้อิ่มท้องมากขึ้น
แนะนำให้หาตัวช่วยเช่นวิตามินในการดูแลตัวเอง อย่างสารสกัดจากฮอร์ธอร์นและโคคิวเท็น เพื่อเป็นการปรับสมดุลการทำงานของหลอดเลือด และการไหลเวียนเลือดที่เคยทำงานหนักช่วงที่ติดรสเค็ม ทั้งยังช่วยขยายหลอดเลือดให้หัวใจได้สามารถสูบฉีดเลือดได้ดีขึ้น ช่วยลดคอเลสเตอรอลและช่วยกระตุ้นการสร้างไขมันดี ช่วยเติมพลังงานให้หัวใจ ตับ ปอดและไต ให้ทำงานได้ดีขึ้นด้วย ใครที่อยากลดเค็มหรือโซเดียมก็เอาใจช่วยนะครับ ทำยากแต่ทำได้แน่นอนครับ