แม้สถานการณ์โควิด-19 จะดูท่าทรงตัวมาสักระยะ แต่สิ่งที่น่าเป็นกังวลคือการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง และด้วยความที่อาการของโรคไม่หนักเท่าช่วงแรก ทำให้หลายคนเลือกรักษาเองที่บ้าน ภาพรวมของสถานการณ์เลยไม่รุนแรง แต่โควิด-19 ก็ยังไม่ถือว่าเป็นโรคประจำถิ่นหรือเป็นเพียงไข้หวัดธรรมดานะครับ เพราะยังคงส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายที่มากกว่าไข้หวัดธรรมดา โดยเฉพาะกับคนที่มีโรคประจำตัวอย่างโรคความดันโลหิตสูง หลอดเลือด และโรคหัวใจ ที่เสี่ยงกว่าคนอื่น ๆ
มีข้อมูลทางการแพทย์จากกรมควบคุมโรคบอกไว้ว่า เมื่อผู้ป่วยที่มีภาวะความดันโลหิตสูงติดเชื้อโควิด-19 จะทำให้เกิดความผิดปกติได้หลายแบบ
– หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ 17%
– ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ 7%
– ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว 9% จนทำให้เกิดภาวะหัวใจวายได้
สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยสถิติผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ที่เป็นโรคหัวใจมีจำนวนมากถึง 13% และอาจมีภาวะทางหัวใจและหลอดเลือดที่กำเริบขึ้นในขณะติดเชื้อโควิด-19 ได้อีกด้วย โดยโควิด-19 ทำให้เกิดความเสี่ยงดังนี้
– ภาวะหัวใจล้มเหลวมากขึ้นประมาณ 20%
– เส้นเลือดหัวใจตีบมากขึ้นประมาณ 10%
– หัวใจเต้นผิดจังหวะมากขึ้นประมาณ 10%
โคโรนาไวรัสส่งผลต่อผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและหลอดเลือดได้อย่างไร?
เนื่องจากโคโรนาไวรัสส่งผลกระทบต่อระบบทางเดินหายใจโดยตรง สามารถทำให้ปอดบวมหรืออักเสบ นอกจากนี้ยังส่งผลต่อระบบหัวใจ เนื่องจากผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจะทำให้หัวใจทำงานหนัก จึงต้องพยายามสูบฉีดมากกว่าปกติ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจหนาขึ้น หลอดเลือดหัวใจก็ทำงานหนัก อาจจะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และอาจจะเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน และเสียชีวิตได้เลย
วิธีลดความเสี่ยงของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ หากติดเชื้อโควิด-19
1. ล้างมือ สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง แยกของใช้ แยกที่อยู่อาศัยกับคนภายในบ้าน
2. รีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิฉัยเบื้องต้น และขอคำแนะนำสำหรับการรับประทานยาที่รักษาโรคประจำตัว ร่วมกับโควิด-19
3. หากมีไข้ ไอ เจ็บคอ ท้องเสีย หายใจไม่สะดวก ต้องรีบไปพบแพทย์ หรือแจ้งแพทย์ที่ติดตามอาการทันที
4. ยาบางชนิดที่ใช้ร่วมรักษาโควิด-19 อาจส่งผลต่อหัวใจ ดังนั้นแพทย์อาจต้องพิจารณาเรื่องยาให้เหมาะสม
5. รับประทานอาหารให้ครบทุกมื้อ พักผ่อนให้เพียงพอ ทานอาหารเสริม เช่น สารสกัดจากฮอร์ธอร์นและโคคิวเท็น เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของหัวใจ และฟื้นบำรุงหัวใจ ลดการอักเสบของเนื้อเยื่อ ช่วยขยายหลอดเลือด และช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดียิ่งขึ้น
6. งดออกกำลังกายหนัก หรือใช้แรงมาก เนื่องจากจะทำให้ปอดต้องทำงานหนักขึ้น
7. ไม่เครียด ไม่วิตกกังวล เพราะความเครียดจะทำให้ภูมิคุ้มกันในทางร่างกายต่ำลง มีโอกาสที่จะอาการหนักขึ้น
8. หากหายดีแล้ว ควรไปฉีดวัคซีนเข็มบูสต์เพิ่มเติม