สุขภาพกายดี มาพร้อมกับสุขภาพจิตใจที่ดี เพราะทั้งสองทำงานสอดประสานกันอย่างแยกไม่ออก แต่บางครั้งที่หลายคนอารมณ์ไม่ดี โกรธง่าย โมโหง่าย นอกจากจะบ่งบอกว่าเสี่ยงมีปัญหาสุขภาพจิตใจแล้ว อาจจะเสี่ยงที่จะมีปัญหาสุขภาพของร่างกายด้วย เพราะการที่มีอารมณ์ที่ไม่คงที่และมักจะแสดงอาการก้าวร้าวอยู่บ่อยครั้ง อาจจะทำให้หัวใจของคุณทำงานหนัก เสี่ยงมีปัญหาหัวใจอีกด้วย
ทำไมโมโหง่ายถึงเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ?
ตามกลไลของร่างกายเมื่อเราโกรธหรือมีความรู้สึกด้านลบ ทั้งแสดงออกด้วยการตะโกน พูดจาเสียงดัง หรือแม้แต่การโกรธแต่ไม่แสดงออก แต่ร่างกายของเรารับรู้ได้ถึงความเครียดนั้นดี ซึ่งจะหลั่งฮอร์โมนอย่างแอดรีนาลิน (Adrenalin) และ คอร์ติซอล (Cortisol) ทำให้ร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลงสั้น ๆ โดยเร่งให้อัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจเร็วขึ้น กล้ามเนื้อเกร็ง ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น เพื่อให้สามารถรับมือกับสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ เป็นกลไกป้องกันตัว และช่วยให้เราแก้ปัญหานั้นผ่านไปได้ แต่เมื่อเรามีอารมณ์โกรธและโมโหซ้ำ ๆ ยิ่งทำให้หัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจของเราทำงานหนักขึ้น เสี่ยงที่จะเป็นโรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือดได้มากขึ้นด้วย
มีการศึกษาอีกด้วยว่าการมีอารมณ์โกรธและโมโห จะไปเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดลิ่มเลือดไปอุดตันสอง และทำให้เลือดออกในสมองได้มากถึง 3 เท่า และเสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 6 เท่า สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคหลอดเลือดสมองโป่งพอง ไม่เพียงเท่านี้คนที่มักจะโมโหง่าย และระเบิดอารมณ์โมโหอย่างต่อเนื่อง อาจจะทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายต่ำลง ป่วยง่าย เนื่องจากฮอร์โมนความเครียดไปยับยั้งกลไกการสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย และเมื่อภูมิคุ้มกันต่ำลงก็เสี่ยงที่จะเป็นโรคอื่น ๆ ได้ง่ายมากขึ้น อย่างโรคภูมิแพ้ โรคมะเร็ง เป็นต้น
ลดความเครียด ขจัดความโกรธ ห่างไกลโรคหัวใจ
ส่วนหนึ่งของความโกรธมาจากความเครียดที่ต้องรับมือกับปัญหาหลาย ๆ อย่าง นั่นอาจจะมาจากสาเหตุของการทำงานที่มากเกินไป งานหนักเกินไปจนไม่สามารถจัดการได้ การไม่ได้รับประทานอาหารดี ๆ และมีช่วงเวลาที่ได้ใช้ชีวิตอื่นนอกจากทำงาน เรามีวิธีง่าย ๆ ที่ช่วยให้คุณลดความเครียดได้ง่าย ๆ
1. เครียดเพราะเกิดจากปัญหาที่ถาโถม ไม่รู้จะจัดการอะไรก่อน แนะนำให้ลิสต์ปัญหาที่เรากำลังเผชิญแล้วค่อย ๆ เรียงลำดับความสำคัญในแต่ละเรื่อง แล้วเริ่มแก้ปัญหาทีละอย่าง วิธีนี้จะทำให้เราตั้งสติได้ และนำไปสู่การแก้ปัญหาในที่สุด
2. เครียดเพราะรู้สึกงานเยอะเกินไป ปัญหานี้อาจจะร่วมมือแก้กับทีมหรือหัวหน้าของคุณ ด้วยการมาตรวจสอบว่างานเยอะเกินไปเกิดจากคนทำงานไม่พอ หรือการกระจายงานมีปัญหาหรือไม่
3. จัดการความเครียดด้วยกิจกรรมที่ชอบ หลายคนที่รักในการทำงานมากจนรู้สึกผิดเมื่อเอาเวลาไปทำในสิ่งที่ชอบ ต้องปรับมุมมองใหม่ เพราะการได้ทำในสิ่งที่ชอบหลังเลิกงานไม่ใช่เรื่องผิด และยังช่วยให้คุณได้มีโอกาสผ่อนคลาย พักผ่อนเต็มที่
4. ปกป้องหัวใจให้แข็งแรงขึ้นด้วยฮอร์ธอร์นและโคคิวเท็น
เพราะหัวใจมักจะทำงานหนักอยู่เสมอ และยังมีปัจจัยด้านอื่น ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานมากมาย การเตรียมความพร้อมให้หัวใจทำงานอย่างเต็มประสิทธิภาพจึงเป็นเรื่องสำคัญ สารสกัดจากฮอร์ธอร์นช่วยกระตุ้นให้หัวใจทำงานได้เต็มที่มากขึ้น ด้วยการเข้าไปขยายหลอดเลือด เพิ่มความยืดหยุ่น ให้เลือดสามารถไหลเวียนได้ดีขึ้น ส่งเลือดไปหล่อเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งยังช่วยลดไขมันที่เกาะตามผนังหลอดเลือด ลดความเสี่ยงหลอดเลือดไปอุดกั้นการไหลเวียนเลือด ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และโรคหัวใจ
ผสานการทำงานกับโคคิวเท็น ที่ช่วยเข้าเติมพลังงานให้หัวใจและอวัยวะต่าง ๆ ให้ทำงานได้ดีขึ้น เพราะยิ่งอายุมากขึ้น ทำงานหนัก โคคิวเท็นที่เป็นพลังงานให้หัวใจก็จะสร้างได้น้อยลง การรับประทานโคคิวเท็นจะช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจ เพราะมีการศึกษาว่าผู้ป่วยโรคหัวใจมักขาดโคคิวเท็นอีกด้วย
สิ่งสำคัญที่ต้องดูแลไปพร้อมกันคือการรักษาสุขภาพจิตใจให้ผ่องใส ตรวจสอบความรู้สึก ความคิด และพฤติกรรมของตัวเองอยู่เสมอ หากภาวะจิตใจส่งผลต่อการใช้ชีวิต เช่น นอนไม่หลับ รับประทานอาหารได้น้อย ไม่อยากทำกิจกรรม โมโหร้ายใส่คนอื่น อาจจะเสี่ยงที่มีปัญหาทางจิตใจควรปรึกษาแพทย์เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างถูกต้อง สุขภาพจิตดีสุขภาพกายก็ดีไปด้วยแน่นอนครับ