ฮีทสโตรกในเด็ก เสี่ยงลูกชัก หมดสติได้

ฮีทสโตรกในเด็ก

ปิดเทอมหน้าร้อนเด็ก ๆ หลายคนรอคอยที่จะได้ออกจากบ้านไปทำกิจกรรมที่ชื่นชอบกลางแจ้งกับเพื่อน ๆ พ่อแม่ก็พร้อมสนับสนุน เพราะจะได้ส่งเสริมพัฒนาการด้านสำคัญ ๆ ของลูกหลายอย่าง แต่สิ่งหนึ่งที่ควรระวังคืออากาศที่ร้อนเกินไป โดยเฉพาะในปีนี้ประเทศไทยจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยที่สูงขึ้นกว่าปีก่อนหลายองศา ซึ่งอาจจะส่งผลให้เด็กเป็นลมแดด หรือ โรคฮีทสโตรกได้

 

ฮีทสโตรกในเด็กก็เกิดขึ้นได้และอันตรายด้วย

ไม่ว่าจะเด็กหรือผู้ใหญ่อุณหภูมิเฉลี่ยของร่างกายคนเราจะอยู่ที่ 36.1 – 37 องศาเซลเซียส (°C) แม้จะไม่ได้ทำกิจกรรมอะไรเลยร่างกายของเราก็มีความร้อนอยู่แล้ว เพราะมีกระบวนการเผาผลาญพลังงานอย่างสม่ำเสมอ หากเรายิ่งทำกิจกรรม เช่น ออกกำลังกาย วิ่งเล่น หรือต้องใช้พลังงานเยอะ ๆ ร่างกายก็จะพยายามทำให้อุณหภูมิกลับมาสู่สภาวะปกติให้เร็วที่สุดโดยการระบายความร้อนออกจากร่างกาย แต่หากเราอยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนจัด หรือ ได้รับน้ำไม่เพียงพอร่างกายก็จะไม่สามารถถ่ายโอนความร้อนนี้ได้ อุณหภูมิในร่างกายก็จะสูงขึ้นจนเข้าสู่สภาวะโรคลมแดด หรือ ฮีทสโตรก (Heat stoke) ได้ ซึ่งในเด็กบางรายอาจจะถึงขั้นเป็นลมหมดสติ ช็อก หรือเสี่ยงถึงชีวิตได้

 

สังเกตอาการฮีทสโตรกของลูก

ในช่วงเริ่มของการเป็นโรคลมแดด พ่อแม่อาจจะสังเกตได้ยากเพราะเมื่อเด็กมักจะแสดงอาการเมื่ออยู่ในช่วงวิกฤติแล้ว ดังนั้นควรจะอยู่ใกล้ชิดกับลูกเมื่อต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง เพราะความไร้เดียงสาของเด็กพวกเขาจะไม่ได้รู้สึกร้อนเพราะเพลิดเพลินกับกิจกรรมตรงหน้ามากกว่า

1. ลูกอ่อนเพลียอย่างเห็นได้ชัด เช่น ไปทำกิจกรรมว่ายน้ำแล้วขึ้นมา ลูกบอกว่าเหนื่อย ง่วงนอน ทั้งที่อาคารว่ายน้ำอยู่ในร่ม แต่อากาศร้อนอบอ้าว ก็มีโอกาสที่ลูกจะเป็นโรคลมแดดได้ ให้รีบพาลูกเข้าไปในที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก

2. ลูกตัวแดงเหมือนเป็นไข้ แต่สัมผัสตัวลูกกลับรู้สึกเย็น นั่นเพราะร่างกายกำลังถ่ายโอนความร้อนออกจากร่างกาย และปรับให้อุณหภูมิกลับมาอยู่ในสภาวะปกติ เสี่ยงที่ลูกจะเป็นฮีทสโตรกได้เช่นเดียวกัน

3. ลูกบ่นว่าคลื่นไส้ อยากอาเจียน เวียนศีรษะ ตัวร้อน รู้สึกไม่สบายตัว หลังจากออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือ อาจจะไม่ได้ทำกิจกรรม แต่อยู่ในที่ที่อากาศไม่ถ่ายเทเป็นเวลานานก็สามารถเป็นฮีทสโตรกได้ กล้ามเนื้อเป็นตะคริว อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นถึง 41 องศาเซลเซียส ผิวแห้ง ชีพจรเต้นถี่ขึ้น สิ่งที่น่าเป็นกังวลคือภาวะนี้ลูกเสี่ยงจะช็อกหมดสติ

 

ป้องกันการเป็นโรคลมแดดให้ลูกอย่างมีสติ

1. ควรงดพาลูกออกไปทำกิจกรรมกลางแจ้ง หรือ ในช่วงที่มีอากาศร้อนอบอ้าว โดยอธิบายถึงเหตุผลให้ลูกเข้าใจ และพวกเขาจะได้รู้จักป้องกันตัวเองหากต้องไปทำกิจกรรมเช่นนี้เมื่ออยู่โรงเรียนด้วย ซึ่งวิธีนี้จะเป็นการลดโอกาสการเกิดโรคลมแดดในเด็กได้ดีที่สุด

2. จัดหาเสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดีให้ลูกสวม และหาเครื่องป้องกันแดดให้ลูก เช่น การหมวก และเสื้อกันแดด

3. ควรให้ลูกรู้จักพกกระบอกน้ำติดตัว และสร้างวินัยในการดื่มน้ำในแต่ละวัน เพราะการดื่มน้ำบ่อย ๆ ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคลมแดดได้ดี

4. เด็กที่มีน้ำหนักตัวเกิน หรือ มีภาวะโรคอ้วน ยิ่งมีความเสี่ยงมากกว่าเด็กทั่วไป พ่อแม่และผู้ดูแลควรงดกิจกรรมกลางแจ้ง เพราะมีความเสี่ยงที่จะเกิดฮีทสโตรกในเด็กได้ง่าย

5. ให้ลูกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกันในลูก ด้วยสารสกัดจากเบต้ากลูแคน เพื่อให้ร่างกายของลูกแข็งแรง และพร้อมที่จะทำกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพอย่างเต็มที่ เพราะหากเด็กมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงร่างกายก็แข็งแรงตามไปด้วย สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง Inbox m.me/yourofficialthailand หรือ Line : @Yourthailand

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP