อากาศร้อนกระทบผู้ป่วยหลายโรค เสี่ยงเสียชีวิตเฉียบพลัน

อากาศร้อน

เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นผลกระทบที่ตามมาไม่เพียงแค่ทำให้รู้สึกไม่สบายตัว หลายคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำยังอาจจะส่งผลให้ป่วยง่าย โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวจะได้รับผลกระทบมากกว่าคนทั่วไป อย่างผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต และโรคปอด ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเฉียบพลันได้ มาเข้าใจถึงสาเหตุและการป้องกันกันครับ

 

โรคประจำตัวการเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคลมแดด (Heat Stroke)

ภาวะลมร้อน หรือ การเกิดโรคลมแดด (Heat Stroke) จะเกิดขึ้นเมื่อร่างกายไม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้เหมาะสม เนื่องจากอากาศภายนอกร่างกายที่สูงจัดจนเกิดไป ซึ่งอาจนำไปสู่อาการรุนแรง เช่น วิงเวียนศีรษะ ชัก และอาจส่งผลให้หัวใจวายจนเสี่ยงที่จะเสียชีวิตได้ ผู้ป่วยโรคเรื้อรังมักมีภูมิคุ้มกันที่ลดลง ทำให้เสี่ยงต่อภาวะลมร้อนมากกว่าคนทั่วไปอีกด้วย ในภาวะนี้ต้องอาศัยการปฐมพยาบาลเบื้องต้นอย่างเหมาะสม และต้องหลีกเลี่ยงสถานที่ที่อากาศร้อนจัดสำหรับผู้ป่วยโรคเรื้อรังโดยเด็ดขาด

 

อากาศร้อนส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ

อากาศร้อนเพิ่มภาระให้กับหัวใจ เนื่องจากต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อรักษาอุณหภูมิร่างกายให้เหมาะสม สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจ โรคความดันโลหิตสูง สภาพแวดล้อมที่ร้อนจัดอาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อน เช่น หมดสติ ช็อก และหัวใจวายเฉียบพลันได้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง มักไม่ค่อยรู้ว่าตัวเองเป็นโรคนี้ เพราะอาการไม่ได้แน่ชัดจึงเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบจากอากาศร้อน หัวใจสูบฉีดเลือดไม่ปกติ และเสี่ยงที่จะช็อกและเป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาตได้

 

ผู้ป่วยโรคเบาหวานเฝ้าระวังอากาศเป็นพิเศษ

ผู้ป่วยเบาหวานต้องระมัดระวังในหน้าร้อนเป็นพิเศษ เนื่องจากความร้อนสามารถทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดผันผวน นอกจากนี้ความร้อนยังส่งผลต่อการทำงานของอินซูลินในร่างกายด้วย ฉะนั้นผู้ป่วยเบาหวานต้องรักษาระดับน้ำตาลในเลือดในสมดุลอยู่เสมอ

 

อากาศร้อนเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ

ผู้ป่วยหลายโรคโดยเฉพาะโรคเรื้อรังมีความเสี่ยงสูงต่อภาวะขาดน้ำในหน้าร้อน เนื่องจากดื่มน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือร่างกายสูญเสียน้ำมากเกินไปจากการเหงื่อออก ภาวะขาดน้ำสามารถนำไปสู่ปัญหาสุขภาพร้ายแรง รวมถึงภาวะไตวายเฉียบพลันได้ โดยเฉพาะผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือโรคไต ต้องดื่มน้ำอย่างเพียงพอในช่วงที่อากาศร้อนจัด

 

การดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังในหน้าร้อน

ผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรังควรมีแผนการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมในหน้าร้อน อย่างการปรึกษาแพทย์เพื่อปรับการรักษาอย่างเหมาะสม การสร้างสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยหรือขณะที่นอนพักผ่อนให้เย็นสบาย การดื่มน้ำอย่างเพียงพอ และการหลีกเลี่ยงการออกจากบ้านในช่วงเวลาที่อากาศร้อนจัด

 

เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ผู้ป่วยในช่วงหน้าร้อน

สิ่งหนึ่งที่หลายคนอาจจะมองข้ามในการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังคือการสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง เพราะภูมิคุ้มกันในร่างกายถือเป็นด่านหน้าที่ช่วยป้องกันเราจากสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ โดยเฉพาะหน้าร้อนที่แบคทีเรียและเชื้อไวรัสบางชนิดสามารถเติบโตได้ดี การป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังเป็นโรคอื่น ๆ แทรกซ้อนจึงเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะสามารถให้ผู้ป่วยอยู่กับโรคได้ และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นด้วย ดังนั้นการรับประทานสารสกัดจากเบต้ากลูแคนที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกัน จึงเป็นอีกวิธีที่สะดวกและง่ายต่อวิถีชีวิตในทุก ๆ วัน เพียงทานวันละหนึ่งครั้ง ตามความต้องการของร่างกาย

 

ปริมาณที่แนะนำ

– สำหรับผู้ที่ต้องการบำรุงร่างกาย เสริมภูมิคุ้มกัน แนะนำให้รับประทาน วันละ 10 – 20 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น ถ้าน้ำหนัก 50 กิโลกรัม แนะนำให้ทานวันละ 500 – 1,000 มิลลิกรัม ช่วงท้องว่าง หรือก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง หรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง

– สำหรับผู้ป่วยต้องการเสริมภูมิต้านทานและลดผลข้างเคียงจากการรักษาโรค เช่น การให้คีโมรักษามะเร็ง แนะนำให้ทาน วันละ 40 – 50 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น ถ้าน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ควรทานวันละ 2,000 – 2,500 มิลลิกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความสะดวกและความต้องการของผู้รับประทานนะครับ

 

สำหรับผู้ที่สนใจเบต้ากลูแคนประสิทธิภาพสูงสามารถติดต่อทีม YOUR เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง Inbox m.me/yourofficialthailand หรือ Line : @Yourthailand

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP