เช็คสัญญาณอันตรายสำหรับสุขภาพ ว่าอาการแบบไหนเสี่ยงโรคแพ้ภูมิตัวเอง
โรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในชื่อว่า โรคพุ่มพวง นั้น เป็นโรคภูมิต้านทานทำลายเนื้อเยื่อตัวเอง ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง สาเหตุที่แท้จริงแพทย์ยังไม่ทราบแน่ชัด แต่มีปัจจัยทางพันธุกรรม และปัจจัยอื่นส่งเสริมทำให้เกิดโรค ได้แก่ การติดเชื้อ ยา แสงแดด สารเคมีในสิ่งแวดล้อม และพบโรคนี้ได้บ่อยในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย
ซึ่งอาการของโรคแพ้ภูมิตัวเอง แสดงความผิดปกติในร่างกายหลายระบบร่วมกัน และจะเป็นๆ หายๆ มีอาการกำเริบและสงบเป็นระยะ เช่น ผื่นโรค SLE ระบบผิวหนัง ระบบประสาท ระบบหัวใจและหลอดเลือด กล้ามเนื้อและข้อ เม็ดเลือด ไต ระบบทางเดินหายใจ ผมร่วง เป็นต้น
ดังนั้น ผู้ป่วยโรค SLE จึงมีอาการที่หลากหลาย และมีความรุนแรงแตกต่างกัน ตั้งแต่อาการที่ไม่รุนแรง เช่น มีผื่น ปวดข้อ ไปจนถึงอาการแสดงที่มีความรุนแรงถึงเสียชีวิต ดังนั้น การดูแลรักษาผู้ป่วยแต่ละรายจึงมีความแตกต่างกันนั่นเอง
โรคแพ้ภูมิตัวเองนั้น ไม่ได้ไกลตัวอย่างที่คิด วันนี้ ยัวร์ เบต้ากลูแคน มีเกณฑ์การวินิจฉัยเพื่อตรวจเช็คสัญญาณอันตรายของ โรค SLE เบื้องต้นมาให้สังเกตตัวเองด้วยครับ ซึ่งถ้าคุณมีความผิดปกติอย่างน้อย 4 ใน 11 ข้อนี้ แปลว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองนะครับ
- ผื่นบริเวณใบหน้าและมีการกระจายเป็นรูปผีเสื้อ
- ผื่นผิวหนังชนิดที่เรียกว่าผื่นดีสคอยด์ พบได้บ่อยบริเวณใบหน้า ใบหู ลำตัว และแขนขา
- อาการแพ้แดด โดยมีผื่นผิวหนังแดงอย่างรุนแรงเมื่อโดนแดด
- มีแผลในปาก
- ข้ออักเสบ
- ไตอักเสบ โดยปริมาณโปรตีนหรือไข่ขาวในปัสสาวะมากกว่าปกติ
- อาการชักหรืออาการทางระบบประสาทอื่นๆ
- เยื่อหุ้มปอดหรือหัวใจหรือเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
- อาการซีด เม็ดเลือดขาวต่ำ หรือเกล็ดเลือดต่ำ (ที่ไม่ได้เกิดจากยาหรือการติดเชื้อ)
- ตรวจพบแอนตินิวเคลียร์แอนติบอดี (antinuclear antibody) ในเลือด
- ตรวจพบแอนติบอดีต่อดีเอ็นเอ (anti-dsDNA) หรือการตรวจพบแอนติฟอสโฟไลปิดแอนติบอดี หรือการตรวจเลือดพบผลบวกปลอมต่อการตรวจซิฟิลิส
*เกณฑ์วินิจฉัยเป็นเพียงข้อสังเกตเบื้องต้นเท่านั้นต้องอาศัยประวัติการเจ็บป่วยและผลเลือดโดยทำการเช็คร่างกายอย่างละเอียดโดยแพทย์
การรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเอง
เนื่องจากการรักษาโรค SLE มีระยะการรักษาที่ยาวนาน นอกจากการรักษาโรคแล้ว ผู้ป่วยควรดูแลตัวเอง โดยควรทำความเข้าใจและกลไกการเกิดโรค รวมทั้งเข้าใจเหตุผลของการประเมิน ติดตามการรักษาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่อง ดังนี้ครับ
- ทำจิตใจให้สงบ ไม่เครียด
- พักผ่อนให้เพียงพอและออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- รับประทานอาหารให้ถูกสุขลักษณะและครบหมู่ ควรรับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์และปรุงสุก
- หลีกเลี่ยงการโดนแสงแดดจ้า ควรใช้ครีมกันแดดที่มีค่า SPF 30 ขึ้นไปเมื่อต้องออกไปกลางแดด
- อยู่ในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก หลีกเลี่ยงบริเวณที่มีผู้คนหนาแน่น
- ไม่ควรตั้งครรภ์ ในขณะที่โรคยังรุนแรงหรือกำลังกำเริบ
- รับประทานยาอย่างสม่ำเสมอ
อาหารเสริมสำหรับผู้ป่วย โรคภูมิแพ้ตัวเอง (SLE)
ถึงแม้ว่าโรค SLE จะเป็นโรคที่ทำให้ร่างกายของผู้ป่วยไวต่ออาหาร ยา หรือสิ่งเร้าต่างๆ แต่ยังมีอาหารเสริมชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วย SLE สามารถทานได้และวงการแพทย์ให้การยอมรับ นั่นคือ “เบต้ากลูแคน Beta Glucan” นั่นเอง สรรพคุณเบต้ากลูแคน จะชวยเน้นการปรับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายโดยให้ระบบภูมิคุ้มกัน (เม็ดเลือดขาว) ของร่างกายทำงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ โดยจะไปลดสาร Cytokine IL-4 และ IL-5 ซึ่งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดอาการภูมิแพ้ อีกทั้งควบคุมไม่ให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานมากเกินไป ดังนั้น สารสกัดเบต้ากลูแคนจึงไม่มีความเป็นพิษเลยแม้แต่น้อย ซึ่งผิดกับการรักษาในแผนปัจจุบันทั่วไปคือ ให้ยากดภูมิต้านทานไม่ให้ทำงาน ซึ่งมีความเสี่ยงสูงต่อคนไข้ อาหารเสริมประเภทเบต้ากลูแคน จึงให้ประโยชน์กับคนไข้ที่เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเองได้ดีทีเดียวครับ
.