โรคความดันโลหิตสูงถือเป็นภัยเงียบที่ส่งผลร้ายต่อร่างกายอีกหนึ่งโรค ซึ่งเป็นโรคที่คนไทยเป็นเยอะแต่หลายคนไม่รู้ตัว เพราะโรคนี้ไม่แสดงอาการ อีกทั้งหากตรวจพบหลายคนก็ละเลยการดูแลตัวเองโดยเฉพาะการควบคุมความดัน ซึ่งส่งผลให้เกิดภาวะอื่น ๆ แทรกซ้อนตามมา ไม่ว่าจะเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจและโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดได้ด้วย แต่สัญญาณอันตรายว่าการเป็นโรคความดันโลหิตสูงมีอะไรเตือนบ้าง มาดูกันครับ
โดยส่วนใหญ่ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงส่วนใหญ่มักจะไม่แสดงอาการแต่อย่างใด แต่หากมีอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณที่อันตรายว่าคุณกำลังมีความโลหิตสูงเกินและเสี่ยงที่หากไม่รักษาอาจจะส่งผลอันตรายต่อชีวิตนะครับ เช่น ปวดมึนหัวบ่อย ๆ เวียนศีรษะ บางคนอาจจะปวดหัวตุบ ๆ เหมือนเป็นไมเกรน หากเข้าขั้นอันตรายอาจจะมีอาการมากขึ้น เช่น อ่อนเพลีย นอนไม่หลับ ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ หรือโคม่าถึงขั้นเสียชีวิตได้
โรคความดันโลหิตหากไม่รักษาจะมีสัญญาณอันตรายอย่างไร?
ระดับความดันโลหิตสูงส่งผลต่อหลายอวัยวะในร่างกาย โดยเฉพาะการทำงานของหัวใจ อาจจะทำให้ผนังหัวใจหนาขึ้น ยืดขึ้น และทำงานไม่ได้เต็มประสิทธิภาพ นอกจากนี้การไม่รักษาโรคความดันโลหิตหรือควบคุมความดันโลหิตจะส่งผลร้ายต่อร่างกายได้อีก เช่น
– เลือดไปหล่อเลี้ยงหัวใจไม่พอ อาจจะทำให้หัวใจขาดเลือด หรือหัวใจวายได้
– หลอดเลือดตีบ ตัน หรือโป่งพอง ทำให้เลือดไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้น้อยลง
– เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงไตได้ อาจจะทำให้เกิดโรคไตหรือไตวายเรื้อรัง
– เลือดไม่สามารถไปหล่อเลี้ยงสมองได้ อาจจะทำให้เกิดโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเสี่ยงเป็นอัมพาตได้
ควบคุมความดันและดูแลสุขภาพมวลรวมคือหัวใจสำคัญในการรักษาโรคความดันโลหิตสูง
การควบคุมความดันสามารถทำได้หลายวิธีนะครับ สิ่งสำคัญคือการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เราทำทุกวัน และหันมาใส่ใจในการดูแลสุขภาพมากขึ้นในเรื่องเหล่านี้
– อาหาร อาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมความดัน ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงต้องรับประทานอาหารที่หลากหลาย โภชนาการครบถ้วน ไม่ทานอาหารที่ไขมันสูง น้ำตาลสูง หรือรสเค็มจัด เน้นทานเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ ผักผลไม้ และธัญพืชที่ให้พลังงาน
– ทานสารสกัดจากฮอร์ธอร์นและโคคิวเท็น สารสกัดทั้งสองชนิดนี้มีส่วนช่วยให้การควบคุมความดัน และลดความเสี่ยงที่จะเกิดไขมันอุดตันในหลอดเลือด ทั้งยังช่วยบำรุงและเติมพลังงานให้หัวใจสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี หล่อเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างสมดุล ที่สำคัญมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอวัย ช่วยให้เซลล์ต่าง ๆ ของร่างกายทำงานได้ดีขึ้นด้วย
– ออกกำลังกาย ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถออกกำลังกายตามความเหมาะสมของร่างกาย โดยเน้นให้ออกกำลังกายที่ให้หัวใจเต้นอย่างสม่ำเสมอ เช่น การเดิน การปั่นจักรยาน เวทเทรนนิ่ง หรือว่ายน้ำ จะช่วยกระตุ้นให้หัวใจทำงานได้ดี กล้ามเนื้อต่าง ๆ ได้รับออกซิเจน และช่วยเรื่องการเผาผลาญด้วย
– พักผ่อนให้เพียงพอ การนอนอย่างมีประสิทธิภาพถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ควบคุมความดันโลหิตได้ดี หากพักผ่อนน้อยอาจจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นเนื่องจากหัวใจทำงานหนักขึ้น ฉะนั้นการนอนให้พอถือเป็นหนึ่งสิ่งที่ต้องให้ความสำคัญอย่างมาก