ชวนดูวิธีเช็กว่า “ไขมัน” ในร่างกายของเราสมดุลหรือไม่?

ไขมัน

เชื่อว่าหลายคนคงไม่อยากมีไขมันในร่างกายเยอะ ๆ เพราะไขมันเป็นตัวแปรสำคัญที่จะบอกว่าเราอ้วนหรือไม่อ้วนใช่ไหมครับ? แต่จริง ๆ แล้วเรามีวิธีตรวจสอบเบื้องต้นได้ว่า เรามีไขมันในร่างกายสมดุลหรือไม่ ด้วยการตรวจสอบค่า BMI ซึ่งค่านี้สามารถบอกเราได้คร่าว ๆ ด้วยว่าเราจะมีความเสี่ยงเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน หรือความดันสูงหรือเปล่า มาดูวิธีการกันครับว่าเช็กอย่างไร

BMI (Body Mass Index) หรือ ดัชนีมวลกาย เป็นค่าสากลที่ใช้เพื่อคำนวณเพื่อหาน้ำหนักตัวที่ควรจะเป็น และประมาณระดับไขมันในร่างกายโดยใช้น้ำหนักตัว และส่วนสูง อาจจะไม่ใช่ตัวชี้วัดไขมันในร่างกายได้โดยตรง แต่สามารถใช้เทียบเคียงเพื่อตรวจสอบตัวเองได้ โดยมีสูตรคำนวณง่าย ๆ ค่า BMI = น้ำหนักตัว[Kg] หารด้วย (ส่วนสูง[m] ยกกำลังสอง) จะได้เป็นตัวเลขออกมา ซึ่งตัวเลขที่ออกมาสามารถบอกเราได้ว่าไขมันในร่างกายของเราสมดุลหรือไม่ เช่น

30.0 ขึ้นไป = อ้วนมาก เป็นค่าที่ค่อนข้างน่ากังวล อาจจะต้องปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหาร เพราะเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวาน หรือไขมันในเลือดสูงได้ และต้องออกกำลังกายควบคุมไปกับการควบคุมโภชนาการ ซึ่งหากค่าสูงเกินกว่านี้ควรไปปรึกษาแพทย์

18.6 – 24 = น้ำหนักปกติ ซึ่งเป็นค่าที่เหมาะกับสัดส่วนของคนไทย มีมวลกล้ามเนื้อและไขมันในระดับที่ค่อนข้างดี ควรให้ค่า BMI ของร่างกายอยู่ในระดับนี้จะลดเสี่ยงโรคเรื้อรังต่าง ๆ ได้

น้อยกว่า 18.5 = ผอมเกินไป การที่น้ำหนักน้อยไม่ได้หมายความว่าดีเสมอไป และอาจจะไม่ได้หมายความว่าไขมันน้อยเสมอไปนะครับ เพราะไขมันอาจจะปะปนอยู่ในกระแสเลือด ไม่ได้อยู่ในกล้ามเนื้อ และเสี่ยงที่จะเกิดโรคจากการที่ได้รับสารอาหารที่ไม่เพียงพอได้

การวัดค่าดัชนีมวลกายจะมีความเชื่อมโยงกับระดับไขมันในร่างกายแต่ก็มีข้อจำกัด ขึ้นอยู่กับเพศ อายุ และการออกกำลังกายด้วย

– ผู้หญิงอาจจะมีแนวโน้มที่ปริมาณไขมันในร่างกายจะมากกว่าผู้ชาย เพราะมวลกล้ามเนื้อน้อยกว่า

– คนที่อายุมากจะมีแนวโน้มว่าร่างกายจะมีไขมันมากกว่าคนกว่าอายุน้อย

– คนที่ออกกำลังกายสม่ำเสมอจะมีมวลกล้ามเนื้อมากกว่าคนที่ไม่ออกกำลังกายเลย แม้จะมีน้ำหนักและส่วนสูงเท่ากันก็ตาม

นอกจากนี้ยังมีวิธีเช็กว่าร่างกายของเรามีไขมันสมดุลหรือไม่ โดยการตรวจสุขภาพทุกปี ซึ่งการตรวจสุขภาพจะทำให้เราเห็นว่าร่างกายโดยภาพรวมของเราเป็นอย่างไรบ้าง โดยเฉพาะไขมันในกระแสเลือด ทั้งคอเลสเตอรอล ไขมันดี ไขมันไม่ดี รวมถึงค่าไตรกลีเซอไรด์อีกด้วย เราจะก็สามารถวางแผนการดูแลสุขภาพของเราได้ดียิ่งขึ้น เพราะการที่ร่างกายมีไขมันไม่สมดุลหรือมีภาวะไขมันในเลือดสูง ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดหลายโรค ไม่ว่าจะโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไขมันในหลอดเลือด และเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจได้ด้วย

การรักษาสมดุลไขมันในร่างกาย ต้องเริ่มจากการปรับพฤติกรรมการทานอาหาร โดยเน้นการทานอาหารที่มีไขมันดี ลดอาหารที่คอเลสเตอรอลสูง เน้นทานโปรตีนที่ไขมันน้อย และเลี่ยงการทานคาร์โบไฮเดรตในปริมาณที่มากเกินความจำเป็นของร่างกาย เพราะหากใช้ไม่หมดร่างกายจะเปลี่ยนไปเป็นไขมันทันที นอกจากนี้ควรเพิ่มการรับประทานสารสกัดจากฮอร์ธอร์นเข้าไปด้วย เพื่อช่วยลดคอเลสเตอรอลส่วนเกินในร่างกาย กระตุ้นการเผาผลาญให้ร่างกายได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้นด้วย

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP