รู้จัก “HBA1c” ของผู้ป่วยเบาหวาน

เบาหวาน

ทำความรู้จักกับค่าเฉลี่ยน้ำตาลในเลือด 

เพื่อนๆ มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบนี้ไหมครับ? รับประทานอาหารที่ไม่ค่อยจะดีต่อสุขภาพ ขาดการออกกำลังกาย พักผ่อนไม่เพียงพอ เครียดบ่อย และมีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ ทราบไหมครับว่า พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดโรคเบาหวานเพิ่มมากขึ้น

โดยผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานนั้น จะมีความเสี่ยงในการเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง โรคหัวใจ ไตวาย ตาบอด ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะทุพพลภาพจากการถูกตัดขา และอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต หากไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้

ทั้งนี้ การตรวจติดตามค่าน้ำตาลสะสม ซึ่งใช้วินิจฉัยโรคเบาหวาน ตลอดจนการประเมินความเสี่ยงของการเกิดโรคแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานจึงเป็นสิ่งสำคัญ วันนี้ YOUR จึงอยากแนะนำให้รู้จัก ค่า “HBA1c (ฮีโมโกลบินเอวันซี)” เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเบาหวานประเมินความสามารถในการควบคุมเบาหวานในช่วงเวลาที่ผ่านมา และสามารถดูแลตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

“HBA1c” คืออะไร?

ฮีโมโกลบินเอวันซี “HBA1c” เป็นการวัดค่าน้ำตาลกลูโคสที่จับอยู่กับฮีโมโกลบิน ซึ่งเป็นโปรตีนชนิดหนึ่งที่อยู่ในเม็ดเลือดแดง โดยค่าดังกล่าวจะรวมระดับน้ำตาลกลูโคสทั้งก่อนและหลังอาหาร ในช่วงระยะเวลา 3 เดือนที่ผ่านมา ทำให้สามารถดูภาพรวมของน้ำตาลเป็นช่วงเวลา ได้ดีกว่าค่าของน้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารในวันที่มาพบแพทย์

ค่า “HBA1c” เท่าไหร่ จึงวินิจฉัยเป็นเบาหวาน

สมาคมเบาหวานแห่งอเมริกา (American Diabetes Association) กำหนดค่า “HBA1c” อยู่ที่ มากกว่าหรือเท่ากับ 6.5% ในการวินิจฉัยเบาหวาน เนื่องจากพบว่าสัมพันธ์กับอุบัติการณ์ภาวะเบาหวานขึ้นจอประสาทตาสูงถึง 20%

เป้าหมายในการรักษาเบาหวาน กับค่า “HBA1c”

เป้าหมายของการรักษาเบาหวาน คือควบคุมระดับ “HBA1c” ให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 7% หรือหากเทียบกับค่าเฉลี่ยน้ำตาลในเลือด จะอยู่ที่ 154 มก./ดล. หากผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองและควบคุมเบาหวานได้ดี ค่าเฉลี่ยน้ำตาลในเลือด และ “HBA1c” จะอยู่ในเกณฑ์ที่ดี ซึ่งช่วยชะลอและป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนได้

อย่างไรก็ตาม ค่า “HBA1c” ยังมีข้อจำกัดในผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางโรค ได้แก่ โรคธาลัสซีเมีย โรคโลหิตจาง โรคฮีโมโกลบินผิดปกติ โรคเม็ดเลือดแดงแตกง่าย ไตวายเรื้อรัง หรือมีภาวะเสียเลือดมาก ซึ่งทำให้ค่า “HBA1c” เบี่ยงเบนไปจากความเป็นจริง และมีโอกาสแปลงผลคลาดเคลื่อนได้ ดังนั้น ผู้ป่วยจึงควรปรึกษาแพทย์เพื่อเลือกการตรวจน้ำตาลสะสม ด้วยวิธีอื่น ๆ ที่เหมาะสมแทนครับ

ข้อปฏิบัติของผู้ป่วยเบาหวาน

1. ควบคุมอาหารประเภทแป้งและของหวาน

2. ออกกำลังกายเป็นประจำ

3. ควบคุมน้ำหนัก

4. ไม่สูบบุหรี่ ไม่ดื่มสุรา

5. ทานยา และแดอินซูลินรักษาเบาหวานตามแผนการรักษาสม่ำเสมอ

6. รักษาโรคอื่นๆ ที่พบร่วมด้วย เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดผิดปกติ รวมทั้งภาวะแทรกซ้อนของโรค

7. พบแพทย์ตามนัดอย่างสม่ำเสมอ เพื่อประเมิน และปรับเปลี่ยนแผนการรักษาให้เหมาะสม

8. ตรวจน้ำตาลในเลือดเพื่อประเมินผลการควบคุมเบาหวานด้วยตนเองที่บ้าน

9. หมั่นดูแลสุขภาพตนเอง ได้แก่ สุขภาพทั่วไปและสุขภาพเท้า

10. เรียนรู้เรื่องโรคเบาหวาน และการดูแลรักษาตนเองในภาวะทั่วไป และในภาวะพิเศษ เช่น เมื่อเจ็บป่วย เมื่อเดินทาง หรือในงานเลี้ยง

11. นอนพักผ่อนให้เพียงพอ

12. ทานอาหารเสริมประเภทเบต้ากลูแคนควบคู่กับการรักษา เพราะเบต้ากลูแคนมีลักษณะเป็นเส้นใยอาหารสามารถชะลอน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือดได้ น้ำตาลจึงถูกดูซึมเข้าสู่กระแสเลือดช้าลง ช่วยลดระดับความต้องการอินซูลินของร่างกายลดลงได้ นอกจากนี้เบต้ากลูแคนยังช่วยฟื้นฟูตับอ่อน ซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินตามธรรมชาติ ให้กลับมาทำงานได้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยอีกด้วย

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP