ป้องกันไว้! เลี่ยงให้ไกลมะเร็งปอด
มะเร็งที่ปอดเป็นโรคที่พบได้มากในประเทศไทย และเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของทั้งเพศชายและเพศหญิงครับ อย่างไรก็ดี มะเร็งที่พบในปอดสามารถรักษาให้หายได้หากตรวจพบตั้งแต่ในระยะต้น
ในช่วงที่หมดฤดูฝน ความชื้นในอากาศลดลง ทำให้ฝุ่นละอองที่เกิดจากปัจจัยต่าง ๆ ทั้งการเผาไหม้เชื้อเพลิง การเผาไหม้ทางการเกษตร กระบวนการอุตสาหกรรม ฯลฯ กลับมาเพิ่มปริมาณสูงขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะฝุ่นละอองอนุภาคขนาดเล็ก PM 2.5 ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพค่อนข้างมากครับ
ผลกระทบต่อสุขภาพจาก PM 2.5
อย่างที่เราอยู่แล้วว่า ผลกระทบระยะสั้นที่เกิดจากการได้รับฝุ่นละอองอนุภาคเล็ก PM 2.5 อาจทำให้ระคายเคืองต่อผิว ดวงตา คอ จมูก ทางเดินหายใจ รวมทั้งอาจทำให้ผู้มีอาการหอบหืดกำเริบได้ แต่ในระยะยาวนั้น ยังอาจเป็นปัจจัยในการเพิ่มอัตราความเสี่ยงต่อการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจ รวมถึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยมะเร็งได้เช่นกัน
PM 2.5 กับมะเร็งที่ปอด
ผลศึกษาจากวารสารการแพทย์ Oncology Letter – PMC5920433 ซึ่งเผยแพร่ในหอสมุดแพทย์แห่งชาติสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ฝุ่นละอองอนุภาคเล็ก PM2.5 อาจนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในระดับยีน ตั้งแต่การเปลี่ยนแปลงโมเลกุลขนาดเล็กที่กำหนดการแสดงออกของยีนต่าง ๆ ในร่างกาย (microRNA dysregulation) และมีผลต่อกระบวนการกลายพันธุ์หรือแบ่งตัวผิดปกติภายในเซลล์ (DNA methylation) รวมถึงอาจเอื้อให้เกิดสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดมะเร็ง (Tumor Microenvironment Alteration) เปลี่ยนแปลงยีนที่ควบคุมการเจริญเติบโตแบบปกติของร่างกาย ให้กลายเป็นยีนก่อมะเร็งได้ (Oncogene) ซึ่งมีส่วนต่อการเกิดมะเร็งที่ปอดในท้ายที่สุด
ดูแลตัวเองอย่างไร เมื่อต้องอยู่ร่วมกับ PM 2.5
ในช่วงที่ค่าฝุ่น PM 2.5 เพิ่มขึ้นสูง แพทย์แนะนำให้ลดกิจกรรมนอกบ้าน งดออกกำลังกายกลางแจ้ง และสวมใส่หน้ากากป้องกันฝุ่น PM 2.5 ที่มีมาตรฐานก่อนออกภายนอกนะครับ
หรืออีกวิธีหนึ่งคือการทานอาหารเสริมที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรงอย่างเบต้ากลูแคน เพราะจะช่วยให้เม็ดเลือดขาวในระบบภูมิคุ้มกันด่านแรกของเราทำลายเชื้อโรค และเซลล์แปลกปลอมได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งเบต้ากลูแคนยังเพิ่มจำนวน และกระตุ้นการทำงานของเลือด ให้กำจัดเซลล์มะเร็งได้ดียิ่งขึ้นครับ