ในยุคที่โลกออนไลน์ใกล้กันได้มากขึ้น กลับทำให้โลกความเป็นจริงดูไกลขึ้นกว่าเดิม โดยเฉพาะกับผู้สูงอายุ นั่นจึงทำให้คนใน Generation ที่เกิดมาในโลกอนาล็อกต้องมาเรียนรู้โลกดิจิทัล เพราะไม่เช่นนั้นก็อาจจะถูกหลงลืมและตามไม่ทันโลกได้ แม้ความเข้าใจจะยากและสวนทางกับความรวดเร็วในการพัฒนาเทคโนโลยี แต่ผู้สูงอายุหลายคนก็ทำได้ดี จนติดโซเชียลพอ ๆ กับยุคสมัยที่เคยติดหนังสือหรือโทรทัศน์ แต่รู้หรือไม่ว่าการใช้เวลาไปกับโซเชียลมีเดียสำหรับผู้สูงอายุนั้น ยิ่งใช้มาก ยิ่งเสี่ยงต่อโรคหัวใจ
จากการสำรวจผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2560 มีรายงานว่าผู้สูงอายุใช้เวลาไปกับโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชั่น Line Youtube Facebook กว่า 4 ชั่วโมงต่อวัน ซึ่งถือว่าไม่น้อยเลยครับ อีกทั้งสถิติการใช้งานของคนกลุ่มนี้ก็มากขึ้นตามเทรนด์ทั่วโลก หลายคนอาจจะมองว่าการที่ผู้สูงอายุมีกิจกรรมผ่านโลกออนไลน์ ก็ดีกว่าการอยู่เฉย ๆ ใช่ไหมครับ? แต่กลับกลายเป็นว่าการจมจ่ออยู่กับโทรศัพท์หรือแท็บแล็ตนาน ๆ ส่งผลเสียต่อสุขภาพมากกว่า
ผลกระทบสุขภาพของโซเชียลมีเดียต่อผู้สูงอายุ
1. การเสพข่าวสารที่กระทบต่อจิตใจ ผู้สูงอายุมีความอ่อนไหวด้านจิตใจเป็นทุนเดิม การไม่ได้เตรียมใจจะตั้งรับกับข่าวสารที่มีความรุนแรงมากขึ้นเรื่อย ๆ ในยุคปัจจุบันอาจจะส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึก เพราะการเลื่อนไทม์ไลน์ไม่สามารถรู้ล่วงหน้าได้ว่าจะเจอกับรูปภาพหรือวิดีโอรูปแบบใด และหลีกเลี่ยงที่จะปฏิเสธข่าวสารที่รวดเร็วและไม่มีการกลั่นกรองได้เลย ฉะนั้นการที่ผู้สูงอายุต้องรับรู้ข่าวเหล่านี้มาก ๆ ยิ่งส่งผลต่อภาวะจิตใจและร่างกาย ทำให้เสี่ยงที่จะเป็นโรคเกี่ยวกับหัวใจได้
2. การหลีกเลี่ยงข้อความหรือสถานการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจได้ยาก เมื่อโซเชียลมีเดียสื่อสารด้วยข้อความเป็นหลัก บางครั้งผู้สูงอายุอาจจะตีความผิดได้ ซึ่งอาจจะทำให้ผู้สูงอายุมีความไม่สบายใจ ตระหนก กังวลใจ รวมไปถึงข้อมูลที่ล้อเลียน ถกเถียง หรือด่าทอผ่านโลกอินเทอร์เน็ต ย่อมทำให้ผู้สูงอายุรู้สึกเศร้าโดยไม่รู้ตัวได้ด้วย
3. ร่างกายอ่อนแอลงจากการไม่ได้พักผ่อน หลายคนอาจจะทราบดีว่าการใช้โซเชียลมีเดียบางครั้งก็ส่งผลให้เราปลีกตัวออกจากมันได้ยาก ยิ่งกับผู้สูงอายุที่อาจจะรู้ไม่เท่านั้น ทำให้ต้องติดตาม เฝ้าดู เป็นกังวล หากออกจากหน้าจอแล้วจะตามคนอื่นไม่ทัน ส่งผลต่อการพักผ่อน ซึ่งอาจจะเสี่ยงต่อความดันโลหิตสูงและโรคหัวใจได้
4. แสงสีฟ้าส่งผลต่อสุขภาพดวงตาและสมาธิ แสงสีฟ้าหากจ้องนาน ๆ อาจจะทำให้จอประสาททำงานหนักขึ้น ส่งผลต่อการนอนหลับ และทำให้กล้ามเนื้อรอบดวงตาหย่อนคล้อย มีริ้วรอยมากขึ้น
5. การใช้สมาร์ตโฟนนาน ๆ ทำให้เกิดการปวดกล้ามเนื้อต้นคอเพราะต้องก้ม กล้ามเนื้อแขนที่ต้องถือนาน ๆ และกล้ามเนื้อมือและนิ้วที่อาจจะเกิดภาวะนิ้วล็อกได้ด้วย
ป้องกันผู้สูงอายุเป็นโรคหัวใจ ลดเวลาติดโซเชียล เสริมด้วยฮอร์ธอร์นโคคิวเท็น
ลูกหลานอาจจะต้องให้ความสำคัญกับผู้สูงอายุในขณะใช้โซเชียลมีเดีย อธิบายให้ท่านเข้าใจและรู้เท่าทัน เพราะผู้สูงอายุอาจจะมากด้วยวัยวุฒิและประสบการณ์ แต่กับโลกดิจิทัลที่เป็นโลกใหม่พวกท่านกลับไม่ได้รู้เท่านั้นนัก เหมือนคำกล่าวที่ว่ายิ่งอายุมากยิ่งเหมือนกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง ซึ่งการรู้เท่านั้น สื่อโซเชียลมีเดียจะทำให้ผู้สูงอายุมีภูมิต้านทานในการใช้งาน และเลือกเสพข้อมูลที่ถูกต้องและลดผลกระทบต่อสุขภาพได้ด้วย
นอกจากนี้การดูแลหัวใจของผู้สูงอายุให้แข็งแรง อีกหนึ่งทางเลือกคือการให้รับประทานอาหารเสริมจำพวก “ฮอร์ธอร์นโคคิวเท็น” ซึ่งจะไปกระตุ้นให้หัวใจและกล้ามเนื้อหัวใจทำงานได้ดีขึ้น ช่วยขยายหลอดเลือดหัวใจ ให้เลือดไหลเวียนได้ดี ช่วยควบคุมคอเลสเตอรอลในหลอดเลือด รวมไปถึงเติมพลังงานให้หัวใจได้ทำงานเต็มที่ ลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลันได้ด้วย
การจำกัดเวลาในการใช้งานโซเชียลของผู้สูงอายุนับว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นพอ ๆ กับการชี้แนะให้เห็นถึงประโยชน์ในการใช้งานนะครับ เพราะโซเชียลมีเดีย มีทั้งข้อดีและข้อเสีย หากใช้งานอย่างเข้าใจและเท่าทันก็มีประโยชน์มากกว่าโทษแน่นอน