ฤดูร้อนที่ร้อนขึ้นทุกปี จากภาวะโลกร้อนที่ทวีความรุนแรงขึ้น สิ่งที่น่าเป็นกังวลตามมาจากความร้อนที่อาจจะสูงถึง 40 องศาเซลเซียส อาจจะทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคลมแดด ซึ่งมีอันตรายถึงชีวิต มีรายงานว่ามีผู้เสียชีวิตด้วยโรคนี้มากขึ้นทุกปี และคาดการณ์ว่าจะมีผู้เสียชีวิตสูงขึ้นเรื่อย ๆ ด้วย มาทำความรู้จักโรคนี้ให้มากขึ้น พร้อมวิธีการป้องกัน และดูแลตัวเองโดยเฉพาะคนที่มีโรคประจำตัวอย่างโรคความดันโลหิตสูง ที่มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคลมแดดมากกว่าปกติ
โรคฮีทสโตรก (Heatstroke) หรือ โรคลมแดด เกิดขึ้นได้อย่างไร
เป็นภาวะของร่างกายที่ไม่สามารถควบคุมหรือปรับตัวต่อระดับความร้อนภายในร่างกายได้ ทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนทำให้เกิดการหน้ามืด ปวดหัว หายใจเร็ว ชัก หมดสติ หัวใจเต้นเร็วจนช็อกได้ หากปล่อยทิ้งไว้ไม่มีการปฐมพยายามที่ถูกต้องภายใน 2 ชั่วโมง ร่างกายผู้ป่วยอาจจะมีความผิดปกติต่อหัวใจ สมอง ไต และกล้ามเนื้อ ฉะนั้นโรคนี้ต้องได้รับการรักษาอย่างทันที ไม่เช่นนั้นอาจจะเสียชีวิตได้
กลุ่มที่มีความเสี่ยงในการเป็นฮีทสโตรก
– คนที่ทำงานกลางแจ้ง ต้องอยู่กลางแดดจ้าเวลานาน
– กลุ่มคนที่มีโรคประจำตัว โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน โรคหัวใจ โรคเบาหวาน เป็นต้น
– เด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ปี และผู้สูงอายุ เนื่องจากกลุ่มนี้ร่างกายจะระบายความร้อนได้ไม่ดีเท่าวัยหนุ่มสาว
– คนที่พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำให้ร่างกายอ่อนแอ และอาจจะเป็นลมได้ง่าย
– พนักงานออฟฟิศที่ทำงานในห้องแอร์ แล้วต้องมาเจอแดดแรงกะทันหัน ก็มีความเสี่ยงที่ร่างกายจะปรับตัวไม่ทัน
– ผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำ โดยร่างกายจะสูญเสียน้ำและเกลือแร่ได้มากกว่าคนที่ไม่ได้ดื่ม ในสภาพอากาศร้อนจัด ทั้งแอลกอฮอล์ยังกระตุ้นให้หัวใจสูบฉีดเลือดแรงขึ้น ความดันโลหิตสูงขึ้น รวมไปถึงหัวใจทำงานหนัก
– ผู้ที่ออกกำลังกายหนักในช่วงสภาพอากาศร้อนจัด มีโอกาสที่จะหัวใจทำงานหนักกว่าปกติ
ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตมีความเสี่ยงจะเป็นฮีทสโตรกได้มากกว่าคนทั่วไป
เนื่องจากผู้ป่วยความดันโลหิตสูงจะมีความผิดปกติของการไหลเวียนเลือดเป็นทุนเดิม ซึ่งทำให้ความสามารถในการควบคุมการเปลี่ยนอุณหภูมิต่อสภาพอากาศภายนอกลดลง มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคลมแดดหรือฮีทสโตรกได้มากกว่าคนทั่วไป ยิ่งผู้ที่มีโรคไม่ติดต่อเรื้อรังร่วมด้วย เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ ยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ ไม่ควรอยู่ในสภาพอากาศร้อนเป็นเวลานาน
วิธีป้องกันโรคฮีทสโตรกในผู้ป่วยโรคความดัน
– ตรวจเช็กความดันด้วยตัวเองอย่างสม่ำเสมอ ยิ่งในช่วงอากาศร้อนยิ่งต้องป้องกันไม่ให้ความดันสูงขึ้น
– รับประทานยา และปฏิบัติตามคำสั่งแพทย์อย่างเคร่งครัด
– เสริมการทำงานของการไหลเวียนเลือดด้วย “สารสกัดจากฮอร์ธอร์นและโคคิวเท็น” ช่วยให้หลอดเลือดขยาย ทำให้เลือดไหลเวียนได้ดีขึ้น ลดไขมันและคอเลสเตอรอล ป้องกันไม่ให้ไขมันจับตัวเป็นตะกอนและไปอุดตันในเส้นเลือด ช่วยการเผาผลาญให้เป็นปกติ ลดความเสี่ยงที่จะความดันโลหิตสูงเฉียบพลัน
– ดื่มน้ำให้มาก ลดการสูญเสียน้ำกะทันหัน
– ใส่เสื้อผ้าที่ระบายอากาศได้ดี ไม่หนา งดสีดำ เพราะดูดซับแสงได้ดี ทำให้รู้สึกร้อนกว่าเดิม
– อย่าปล่อยให้เด็กหรือผู้สูงอายุอยู่ในสภาพอากาศร้อนและไม่ถ่ายเท
– เลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ในช่วงอากาศร้อนจัด