หากคุณเป็นหนึ่งคนที่ต้องใช้ชีวิตในเมืองหลวงที่เต็มไปด้วยฝุ่นควัน และมลพิษมากมาย เริ่มต้นตั้งแต่นั่งวินมอเตอร์ไซค์ นั่งรถเมล์ลม เดินริมฟุทบาท สูดควันข้างจากร้านขายของข้างทาง รับลมที่เต็มไปด้วยฝุ่นจากการก่อสร้างขนาดใหญ่ นี่ก็นับว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้เพื่อน ๆ สูดฝุ่นควันเข้าปอดได้แล้วในแต่ละวัน ซึ่งทวีความรุนแรงด้วยฝุ่น PM2.5 สมทบไปอีก โรคที่หลายคนไม่กล้าพูดถึงอย่าง “โรควัณโรค” อาจจะเป็นความเสี่ยงที่มาเร็วกว่าโรคมะเร็ง แม้จะไม่สูบบุหรี่เลยก็ได้นะครับ
โรควัณโรคปอดเกิดจากอะไรได้บ้าง?
วัณโรค (Tuberculosis หรือ TB) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ซึ่งจริง ๆ วัณโรคเกิดได้ทุกอวัยวะของร่างกาย แต่ส่วนใหญ่ 80% พบบ่อยที่ปอด เป็นโรคติดเชื้อร้ายแรงประเภทหนึ่งที่ส่งผลโดยตรงต่อปอด เพราะเชื้อติดต่อผ่านทางลมหายใจ จึงทำให้เชื้อเข้าไปฝังตัวที่ปอดเป็นอวัยวะแรกนั่นเอง โดยวัณโรคปอดจะแพร่เชื้อได้และติดต่อได้ง่ายผ่านทางอากาศด้วยการหายใจ ซึ่งติดกันได้ผ่านละอองฝอยจากการไอและจาม
โรควัณโรคสามารถแบ่งออกไป 2 ประเภท
1. วัณโรคแฝง
ซึ่งจะไม่แสดงอาการและวัณโรคชนิดนี้จะไม่แพร่กระจายไปยังบุคคลอื่น ยกเว้นได้รับการเชื้อแบคทีเรีย หรือผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ร่างกายอ่อนแอ อาจจะกลายมาเป็นระยะแสดงอาการหรือกำเริบได้
2. วัณโรคระยะแสดงอาการหรือระยะกำเริบ ผู้ป่วยที่สามารถแพร่เชื้อได้
วัณโรคติดไม่ง่าย รักษาได้ เมื่อได้รับเชื้อวัณโรค หากร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงจะสามารถกำจัดเชื้อได้หมด และไม่เกิดการติดเชื้อ แต่ถ้าร่างกายไม่สามารถกำจัดได้หมด อาจจะยังมีเชื้อวัณโรคระยะแฝงอยู่ได้ โดยจะไม่เจริญลุกลาม ยกเว้นเมื่อร่างกายอายุมากขึ้น ภูมิคุ้มกันลดลง มีโรคอย่างอื่นแทรกซ้อน ทำให้เชื้อที่แฝงอยู่นี้แสดงอาการและแบ่งตัวเพิ่มขึ้นได้นั่นเอง ฉะนั้นการทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มแข็งแรงสำคัญต่อการลดเสี่ยงวัณโรคมากขึ้นนะครับ ทั้งนี้การรักษาวัณโรคในปัจจุบันก็พัฒนาขึ้นมาก หากได้รับการวินิจฉัยเร็วก็สามารถเข้ารับการรักษาอย่างต่อเนื่องได้ ทั้งยังมีโอกาสหายขาดได้ด้วย
มลพิษภายนอกกระตุ้นให้วัณโรครุนแรงขึ้น
หากใครที่มีเชื้อวัณโรคแฝงไม่รู้ตัว และยังต้องใช้ชีวิตที่เต็มไปด้วยผลพิษ PM2.5 มีโอกาสที่จะไปกระตุ้นเชื้อวัณโรคระยะแฝงที่ไม่แสดงอาการที่อยู่ในสังคมจำนวนมาก และอาจจะกลายเป็นผู้ป่วยวัณโรคได้ เพราะอนุภาคขนาดเล็กของฝุ่นจิ๋วนี้เข้าถุงลมปอดได้ลึกกว่าฝุ่นธรรมดามาก เราต้องเสริมสร้างภูมิต้านให้ร่างกายแข็งแรงอยู่เสมอ แนะนำรับประทานสารสกัดจาก “เบต้ากลูแคน” ที่ช่วยกระตุ้นให้เซลล์เม็ดเลือดขาวสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้น และทำให้สมดุลกับสภาพแวดล้อมที่ร่างกายต้องเผชิญ นอกจากนี้เบต้ากลูแคนยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดเสี่ยงโรคอย่างมะเร็งได้ด้วย การรับประทานสารสกัดจากเบต้ากลูแคนเป็นประจำจะช่วยได้อย่างมาก
คำแนะนำในการรับประทานเบต้ากลูแคน
– วันละ 10 – 20 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น ถ้าน้ำหนัก 50 กิโลกรัม แนะนำให้ทานวันละ 500 – 1,000 มิลลิกรัม
– สำหรับผู้ป่วยต้องการเสริมภูมิต้านทานและลดผลข้างเคียงจากการรักษาโรค เช่น การให้คีโมรักษามะเร็ง แนะนำให้ทาน วันละ 40 – 50 มิลลิกรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น ถ้าน้ำหนักตัว 50 กิโลกรัม ควรทานวันละ 2,000 – 2,500 มิลลิกรัม ทั้งนี้ขึ้นอยู่ความสะดวกและความต้องการของผู้รับประทานนะครับ
– ทานก่อนอาหาร 1 ชั่วโมง หรือหลังอาหาร 2 ชั่วโมง