“น้ำหนักเกิน ลงพุง” เปิดประตูสู่โรคร้าย อายุน้อยก็เสี่ยงถึงชีวิต

น้ำหนักเกิน

เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าการที่น้ำหนักตัวขึ้นเยอะ การมีพุงนิดหน่อย ไม่ถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรง แต่จริง ๆ แล้วหลายคนไม่รู้ว่าตัวเองกำลังเสี่ยงที่จะเป็น “โรคอ้วน” โดยที่ไม่รู้ตัว โดยเฉพาะคนในวัยทำงาน รวมไปถึงเด็ก ๆ ที่พ่อแม่คิดว่าการที่ลูกอ้วนแล้วน่ารัก ชวนดูว่าถ้าหากน้ำหนักเกินมีพุงจะทำให้เราเสี่ยงอะไรบ้าง

คนไทยอยู่ในภาวะเสี่ยงโรคอ้วนเพิ่มขึ้น

กรมอนามัยเปิดเผยผลสำรวจของประชากรไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ปี 2562 – 2563 โดยผู้ชายร้อยละ 37.8 และผู้หญิงร้อยละ 46.4 อยู่ในเกณฑ์อ้วน และพบว่า ผู้ชาย ร้อยละ 27.7 และผู้หญิง ร้อยละ 50.4 อ้วนลงพุง อีกทั้งประชากรในประเทศไทยมีค่าเฉลี่ย BMI ≥ 25 อยู่ที่ 32.2% ซึ่งเกินกว่าค่าเฉลี่ยมาเยอะพอสมควร โดยส่วนใหญ่จะกระจุกอยู่ในกลุ่มคนวัยทำงาน เนื่องจากต้องใช้เวลาในการทำงานกว่า 40 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ไม่มีเวลาออกกำลังกาย และการรับประทานอาหารไม่ถูกหลักโภชนาการ เพราะต้องการรับประทานอาหารที่ทำได้ง่ายและเร็ว รวมไปถึงเป็นอาหารที่ให้พลังงานเยอะด้วย

สิ่งที่บอกว่าคุณเผชิญกับโรคอ้วน

1. ค่าเฉลี่ย BMI ของร่างกายเกิน 25

2. ความดันโลหิตตั้งแต่ 130/85 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป

3. น้ำตาลในเลือดมากกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

4. ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือกมากกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

5. ระดับคอเลสเตอรอลชนิดดีในเลือด High Density Lipoprotein (HDL – Cholesterol) ต่ำกว่าเกณฑ์ ผู้ชายน้อยกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และผู้หญิงน้อยกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

ทำไมชาวออฟฟิศถึงเสี่ยงเป็นโรคอ้วนลงพุงกว่าคนทั่วไป?

นอกจากการโหมทำงานหนักและต้องเจอกับความเครียด กดดัน การแข่งขันสูง ทั้งวิกฤติเศรษฐกิจและสังคม ทำให้เวลาหลังเลิกงานคือเวลาทองที่จะได้ปลดปล่อยและสังสรรค์ ไม่ว่าจะพบปะตามร้านบุฟเฟ่ต์ ปิ้งย่าง ซึ่งการบริโภคอาหารเหล่านี้มาก ๆ ส่งผลต่อโรคอ้วน ทั้งยังเสี่ยงเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่น ๆ อีก เช่น โรคความดันโลหิต โรคไขมันในหลอดเลือด หรือโรคหัวใจ ไม่เพียงเท่านี้สายปาร์ตี้ที่ชอบดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำก็เสี่ยงอ้วนได้เหมือนกัน และเสี่ยงเป็นโรคไขมันพอกตับหรือโรคมะเร็งได้ด้วยในอนาคต

อันตรายของน้ำหนักเกินอ้วนลงพุงหากไม่รีบเปลี่ยนพฤติกรรม

โรคอ้วนลงพุงถือเป็นประตูที่นำไปสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรังอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคเบาหวาน โรคหลอดเลือด โรคความดันโลหิต โรคไขมันในเลือดสูง และที่สำคัญเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจได้ในที่สุด หากไม่เปลี่ยนพฤติกรรมและยังปล่อยให้ตัวเองน้ำหนักเยอะเกินจนลงพุงเท่ากับว่าเปิดประตูต้อนรับโรคร้ายต่าง ๆ ที่เสี่ยงอันตรายต่อชีวิต เพราะโรคอ้วนสามารถทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนได้ง่ายอีกด้วย

หนึ่งในสิ่งสำคัญและจำเป็นที่ต้องทำร่วมไปกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม นอกจากจะต้องเลือกรับประทานอาหารให้มากขึ้น ทานอาหารตามหลักโภชนาการ เลิกบุหรี่และแอลกอฮอล์ หาเวลาออกกำลังกาย และทานสารสกัดจากฮอร์ธอร์นและโคคิวเท็น เพื่อบำรุงการทำงานของหัวใจ และช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด รวมไปถึงช่วยกระตุ้นการทำงานของเมแทบอลิซึม ช่วยให้ร่างกายเผาผลาญได้ดีขึ้นด้วย

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP