โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension) เป็นภาวะที่มีความดันเลือดในหลอดเลือดสูงกว่าปกติ ซึ่งปกติแล้วเรามักจะเห็นผู้ป่วยโรคนี้กับวัยกลางคนหรือผู้สูงอายุ แต่ในปัจจุบันพบว่าคนหนุ่มสาวและวัยรุ่นก็สามารถเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน เรามาดูกันว่าทำไมคนที่อายุยังน้อยถึงมีความเสี่ยงต่อโรคความดันโลหิตสูง รวมถึงวิธีการป้องกันและดูแลสุขภาพที่ควรทำตั้งแต่ตอนนี้
ปัจจัยที่ทำให้คนอายุน้อยเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงเกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตเป็นปัจจัยหลัก
1. การบริโภคอาหารที่มีโซเดียมสูง
การทานอาหารฟาสต์ฟู้ด ขนมขบเคี้ยว และอาหารที่มีรสเค็มจัดเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคความดันโลหิตสูงได้มากขึ้น โดยหากสังเกตอาหารยอดฮิตในปัจจุบันมักเป็นอาหารที่มีความเค็มสูง รสจัด ซึ่งอาหารรสเหล่านี้มักจะทำให้ผู้คนบริโภคมากขึ้นโดยไม่รู้ตัว เพราะอาหารที่มีโซเดียมสูงเปิดการรับรสได้ดี จึงทำให้ผู้บริโภคสัมผัสถึงรสอาหารได้มากขึ้น และรับประทานในปริมาณที่มากขึ้นเช่นกัน
2. การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนสูง
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนแอลโดสเตอโรน (aldosterone) สูงขึ้น ทำให้ร่างกายมีการสะสมน้ำและโซเดียมมากกว่าปกติ หากดื่มเป็นประจำก็จะเกิดโรคความดันโลหิตสูงได้ ส่วนการดื่มคาเฟอีนเป็นประจำจะทำให้หัวใจทำงานหนักขึ้น เนื่องจากคาเฟอีนจะไปกระตุ้นระบบประสาทส่วนกลาง นอกจากจะทำให้ติดแล้ว ยังทำให้ร่างกายตื่นตัว การดื่มคาเฟอีนในปริมาณมากในเวลาใกล้เคียงกัน เพราะอาจทำให้ความดันโลหิตทั้งขณะหัวใจบีบตัวและคลายตัวเพิ่มขึ้นด้วย
3. การไม่ออกกำลังกาย
ในคนที่มีความดันโลหิตอยู่ในเกณฑ์ปกติ การออกกำลังกายจะช่วยลดความดันโลหิตให้อยู่ในระดับที่ดีได้ มีการศึกษาว่าการออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobic) สามารถช่วยลดความดันโลหิตในค่า Systolic ได้ประมาณ 2-3 mmHG และยังพบว่าถ้าความดันโลหิตลดลงอย่างน้อย 2 mmHG จะส่งผลให้ลดความเสี่ยงต่อการเกิดหลอดเลือดสมองตีบหรือแตกได้ (Stroke ) ได้ถึงร้อยละ 14 และลดความเสี่ยงต่อการที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ร้อยละ 9 การออกกำลังจึงเป็นหนึ่งปัจจัยที่สำคัญในการรักษา ควบคุม และ ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง ซึ่งหากไม่ออกกำลังกายเลยนอกจากจะเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตแล้วก็เสี่ยงโรคอ้วนและโรคหัวใจด้วย
4. ความเครียด
เมื่อเราเกิดความเครียด ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน คอทิซอล (Cortisol) และอะดรินาลีน (Adrenaline) ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้น เลือดสูบฉีดมากขึ้น ทำให้เกิดความดันเลือดสูงขึ้นในช่วงที่เราเกิดความเครียด การที่เลือดสูบฉีดเร็วขึ้น แรงขึ้นจะส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจมากขึ้นด้วย
5. ภาวะอ้วนและน้ำหนักเกิน
คนอายุน้อยที่มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วนมีความเสี่ยงสูงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง เนื่องจากไขมันสะสมในร่างกายทำให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้น
วิธีป้องกันโรคความดันโลหิตอย่างมีประสิทธิภาพ
การปรับพฤติกรรมเสี่ยงจากข้างต้น โดยเฉพาะการลดการบริโภคโซเดียม หลีกเลี่ยงอาหารฟาสต์ฟู้ดและขนมขบเคี้ยว เน้นรับประทานผักและผลไม้เพิ่มขึ้น ควรบริโภคโปรตีนจากปลา ถั่ว และธัญพืช รวมถึงทานอาหารให้หลากหลาย ควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างน้อย 150 นาทีต่อสัปดาห์ เช่น การเดินเร็ว วิ่ง ว่ายน้ำ หรือปั่นจักรยาน เลิกสูบบุหรี่และลดการดื่มแอลกอฮอล์ รวมไปถึงบริหารจัดการความเครียดอย่างเหมาะสม
ไม่เพียงเท่านี้การตรวจสุขภาพเป็นประจำสามารถช่วยในการตรวจพบโรคความดันโลหิตสูงในระยะแรก ๆ และสามารถรักษาได้อย่างทันท่วงที หรือเลือกรับประทานสารสกัดที่ช่วยดูแลสุขภาพเรื่องความดันโลหิตเป็นประจำ อย่างสารสกัดจากฮอร์ธอร์นที่ช่วยควบคุมความดันโลหิตให้มีความสมดุล บำรุงการทำงานของหัวใจ ช่วยให้หลอดเลือดมีความยืดหยุ่นและลดไขมันที่ไปเกาะตามผนังหลอดเลือด เพื่อให้เลือดได้ไหลเวียนดีขึ้น ลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคความดันโหลิต รวมไปถึงโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วย ที่สำคัญมีสารอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอวัย ป้องกันโรคร้ายต่าง ๆ
แม้ว่าความดันโลหิตสูงจะเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ แต่คนหนุ่มสาวก็สามารถเสี่ยงเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน สำหรับใครที่ต้องการข้อมูลเรื่องสารสกัดฮอร์ธอร์นเพิ่มเติม สามารถติดต่อทีม YOUR เพื่อปรึกษาปัญหาสุขภาพ ได้ฟรีทาง Inbox m.me/yourofficialthailand หรือ Line : @Yourthailand