ปัญหาฝุ่น PM2.5 ยังคงวนเวียนกลับมาอยู่เสมอราวกับมีฤดูประจำ ยิ่งในปีนี้ 2024 มีการคาดการณ์ว่าสถานการณ์ฝุ่น PM2.5 จะยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องด้วยผลกระทบจากเอลนีโญและประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับผลกระทบด้วยเช่นกัน แล้วเราจะต้องเตรียมตัวรับมืออย่างไรบ้าง มาดูกันครับ
ทำไมปีนี้สถานการณ์ฝุ่นPM2.5 ถึงรุนแรงขึ้น
ปรากฏการณ์เอลนีโญกำลังสร้างผลกระทบต่อสภาพอากาศที่แปรปรวนให้กับโลกของเราอย่างมาก ประเทศที่มีฤดูหนาวก็จะหนาวนานมากขึ้น ส่วนประเทศที่มีอากาศร้อนก็จะร้อนมากขึ้น ส่งผลให้ฤดูกาลต่าง ๆ ผิดเพี้ยนไปจากที่ควรเป็น โดยเฉพาะฤดูฝนที่จะขาดช่วงและส่งผลต่อความแห้งแล้งยาวนานมากขึ้น ทำให้กระแสลมที่เคยพัดผ่านประเทศไทยจะมาช้ากว่าที่เคย และทำให้ฝุ่น PM2.5 รุนแรงและอยู่ยาวนานขึ้นกว่าปีก่อน ๆ โดยเฉพาะในแถบเมืองหลวง ย่านอุตสาหกรรม ย่านพัฒนาเมืองที่มีการก่อสร้างต่าง ๆ
PM2.5 ส่งผลต่อสุขภาพของประชาชนที่เสี่ยงมากขึ้น
มีรายงานจาก WHO ว่าฝุ่น PM2.5 สร้างผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนอย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐานยาวนาน ทำให้เกิดอัตราผู้ป่วยที่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจมากยิ่งขึ้น แย่ไปกว่านั้นเป็นโรคที่น่ากลัวอย่างโรคมะเร็งปอด และโรคปอดอักเสบเฉียบพลัน ซึ่งเป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตที่สูง ไม่เพียงเท่านี้ PM2.5 ยังส่งผลต่อพัฒนาการของเด็ก อาจจะทำให้เด็กแคระแกร็น สมองเจริญไม่เต็มที่ ส่งผลต่อสติปัญหา ไม่เพียงเท่านี้ผู้สูงอายุก็ได้รับผลกระทบในทางลบมากขึ้น เสียงที่คนอายุสั้นลงในอนาคต
เราจะเตรียมรับมืออย่างไรได้บ้าง?
แม้การแก้ปัญหาเรื่องฝุ่น PM2.5 อาจจะเป็นเรื่องมหภาคที่รัฐบาลจะต้องเร่งดำเนินการ แต่ในความเป็นจริงการแก้ปัญหาเรื่องนี้อาจจะต้องอาศัยความร่วมมือระดับนานาชาติกับประเทศข้างเคียงด้วย ในขณะที่พรบ.อากาศสะอาดก็ยังคงพิจารณาเพื่อแก้ปัญหาอย่างจริงจัง ในขณะนี้เราต้องหาวิธีดูแลสุขภาพของเราไปพร้อม ๆ กันด้วยวิธีเหล่านี้
1. ติดตามข่าวสารการรายงานคุณภาพอากาศในแต่ละวัน ของพื้นที่ที่เราอยู่อาศัย โดยค่ามาตรฐานที่ปลอดภัยคือฝุ่นต้องน้อยกว่า 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) หากค่าฝุ่นเกินค่ามาตรฐานควรจะสวมหน้ากากอนามัยป้องกัน PM2.5
2. งดทำกิจกรรมกลางแจ้ง โดยเฉพาะการออกกำลังกายกลางแจ้ง เพราะเสี่ยงที่จะสูดฝุ่นควันได้มากกว่าปกติ จากการออกแรงและต้องหายใจถี่มากขึ้น
3. ลดชั่วโมงการทำงานกลางแจ้ง หลายสายงาน เช่น งานก่อสร้าง งานจราจร ต้องลดชั่วโมงการทำงานลงเพื่อความปลอดภัยของคนทำงาน หรืออาจจะต้องสวมหน้ากากในการปฏิบัติหน้าที่
4. ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศในบ้าน เป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดค่าฝุ่นในสถานที่พักอาศัย ซึ่งควรเป็นพื้นที่ปลอดภัย
5. เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ด้วยการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ นอนพักผ่อนให้เพียงพอ และรับประทานสารอาหารที่ช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันอย่างเบต้ากลูแคน เพื่อเสริมสร้างให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายของเราให้แข็งแรงขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น แม้จะมีปัจจัยภายนอกจากฝุ่น PM2.5 แต่ภายในร่างกายของเราจะสามารถกำจัดสิ่งแปลกปลอมได้ เพราะมีเซลล์เม็ดเลือดขาวที่แข็งแรง ที่สำคัญเบต้ากลูแคนจะช่วยส่งเสริมให้ร่างกายแข็งแรงขึ้นในภาพรวมด้วย โดยเฉพาะผู้ที่มีโรคประจำตัวยิ่งมีความเปราะบางและไวต่อสิ่งเร้าจากฝุ่น PM2.5 เบต้ากลูแคนยังช่วยลดการติดเชื้อ ลดการอักเสบ และมีสารต้านอนุมูลอิสระช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งได้ด้วย