สารสกัด “ฮอร์ธอร์นและโคคิวเท็น” ฟื้นบำรุงหัวใจและหลอดเลือด

ฮอร์ธอร์น

ยุคนี้ใครยังไม่รู้จักสารสกัดจากฮอร์ธอร์นหรือโคคิวเท็น ต้องรีบแล้วนะครับ เพราะสองสารสกัดนี้นับเป็นสารสกัดที่ได้รับความนิยมขึ้นเรื่อย ๆ ในหมู่คนรักสุขภาพ อาจจะไม่ได้ช่วยเรื่องความสวยงามเห็นผลทันตา แต่เป็นการดูแลร่างกายในระยะยาว เนื่องจากดูแลอวัยวะสำคัญอย่างหัวใจและหลอดเลือดเป็นอวัยวะที่สำคัญมาก ๆ ต่อร่างกายของเรา ใครที่ยังศึกษาอยู่วันนี้มาแนะนำฮอร์ธอร์นและโคคิวเท็นเพิ่มเติมให้ครับ

ฮอร์ธอร์นคืออะไร

ฮอร์ธอร์นเป็นพืชที่มนุษย์รู้จักมานานแล้วนะครับ นอกจากจะเป็นผลไม้ที่มีรสชาติดีแล้ว ยังถูกนำมาใช้เป็นสมุนไพรในการดูแลสุขภาพมาเป็นระยะเวลานานแล้วด้วย โดยแพทย์สมัยก่อนใช้เป็นสมุนไพรในการรักษาคนที่เป็นโรคที่เกี่ยวกับหัวใจและหลอดเลือด ต่อมาได้ถูกค้นพบว่าสารกัดจากฮอร์ธอร์นช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน และลดความดันโลหิต รวมถึงช่วยลดไขมัน LDL ควบคุมคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์อีกด้วย

โคคิวเท็นคืออะไร

โคคิวเท็น หรือ ย่อมาจาก โค เอ็นไซม์ คิวเท็น (Coenzyme Q10) เดิมทีเป็นสารที่พบในเซลล์ของร่างกายเรา มีหน้าที่สร้างพลังงานในเซลล์ให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ แต่เมื่อเวลาผ่านไปสารตัวนี้ก็ค่อย ๆ ลดลง จึงมีการคิดค้นและสกัดโคคิวเท็นเพื่อช่วยในให้การทำงานของเซลล์ในอวัยวะต่าง ๆ ทำงานได้ดีขึ้น โดยเฉพาะอวัยวะอย่างหัวใจ สมอง ตับ ไต ที่ต้องการพลังงานสูง ทั้งนี้โคคิวยังมีสารต้านอนุมูลอิสระ ชะลอความเสื่อมของร่างกาย ช่วยให้กล้ามเนื้อของหัวใจทำงานก็อย่างแข็งแรงมากขึ้นด้วย

การทำงานที่สอดประสานกันของฮอร์ธอร์นและโคคิวเท็น

ทั้งสองสารสกัดสามารถทำงานร่วมกันได้อย่างดี และยิ่งส่งเสริมกันและกันในการฟื้นบำรุงหัวใจและหลอดเลือด โดยฮอร์ธอร์นช่วยในเรื่องการขยายหลอดเลือด ให้กล้ามเนื้อหลอดเลือด กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรง และทำงานได้อย่างยืดหยุ่นมากขึ้น ช่วยให้เลือดไหลเวียนนำสารอาหารต่าง ๆ ไปหล่อเลี้ยงร่างกาย ส่วนโคคิวเท็นเองก็ช่วยกระตุ้นให้หัวใจทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สูบฉีดเลือดได้อย่างดี รวมไปถึงช่วยให้อวยัวะสำคัญอื่น ๆ ทั้งสมอง ตับ ไต ที่ต้องทำงานหนัก ได้เติมพลังงานช่วยให้การทำงานของอวัยวะเหล่านี้เป็นได้ดีอย่างที่ควรจะเป็นอีกด้วย

ใครที่สามารถรับประทานฮอร์ธอร์นและโคคิวเท็นได้บ้าง?

– ผู้ที่มีปัญหาโรคหัวใจ

– ผู้ที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ

– ผู้ที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลสูง

– ผู้ที่มีไขมัน LDL (ไขมันไม่ดี) สูง

– ผู้ที่มีไขมัน HDL (ไขมันดี) ต่ำ

– ผู้ที่มีปัญหาความดันโลหิต

– ผู้ที่มีปัญหาการไหลเวียนของเลือด

– ผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพหัวใจ

– ผู้ต้องการบำรุงดูแลสุภาพโดยรวม และชะลอวัย

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP