เบต้ากลูแคนคืออะไร??
เบต้ากลูแคน’ คืออะไร?
เบต้ากลูแคน คือสารประกอบประเภทน้ำตาลเชิงซ้อน (พอลิกลูโคส) ชนิดหนึ่ง ซึ่งสามารถสกัดได้จากพืชหลายชนิด เช่น ธัญพืชจำพวก ข้าวบาร์เลย์และข้าวโอ๊ต จากยีสต์ เห็ดและเชื้อราต่างๆ และสิ่งมีชีวิตอื่นๆอีกมากมาย
เนื่องจาก เบต้า กลูแคน ประกอบด้วยโมเลกุลของน้ำตาลกลูโคส ที่มีโครงสร้างการจับเกาะเรียงตัวคล้าย ‘ตะขอ’ หรือ พันธะ ‘ เชื่อมโยง ‘ในห่วงโซ่นี้ (จะอยู่ในรูป 1,3; 1,4 หรือ 1,6) เบต้ากลูแคน และโดยเฉพาะ เบต้า1,3 ดีกลูแคน ได้สร้างความสนใจขึ้นเป็นวงกว้างในหมู่นักวิทยาศาสตร์วิจัยทางพฤกษเคมีและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ นับตั้งแต่สารกระตุ้นภูมิคุ้มกันรวมในร่างกาย ถูกแยกเป็นครั้งแรกจากผนังเซลล์ของยีสต์ ในปี 1940โดยดร.หลุยส์ พิวลีเมอร์ และเพื่อนร่วมงานของเขา เรียกสารชนิดนี้ว่า ไซโมซาน (Zymosan)
อย่างไรก็ตาม ในขณะนั้น ยังไม่ได้มีการระบุตัวสารไซโมซาน จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1960 ดร.นิโคลัส ไดลซิโอ (Nicholas Di-Luzio) จากมหาวิทยาลัยทูเลน (Tulane University) ได้ทำการวิจัยคือ เบต้า 1,3 ดี กลูแคน (Beta 1,3 D Glucan)ซึ่งเป็นสารชนิดหนึ่งที่ถูกค้นพบในสารประกอบ โปรตีนรวม ไขมันและสารพอลิแซ็กคาไรด์ (polysachharide)
เหตุผลสำคัญที่ เบต้า 1,3 ดีกลูแคน ได้สร้างความสนใจในวงการสุขภาพทางวิทยาศาสตร์และการป้องกันโรคอยู่ในขณะนี้ นั่นเป็นเพราะความสามารถในการเสริมสร้างและเพิ่มจำนวนการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน ‘หลัก’ ที่สำคัญในคนและสัตว์ที่เห็นได้อย่างชัดเจน
ประเภทของ ‘เบต้ากลูแคน’
เบต้ากลูแคนจากยีส์
เบต้ากลูแคนจากเห็ด
เบต้ากลูแคนจากโอ๊ตและบาร์เลย์
เบต้ากลูแคนจากสาหร่าย
YOUR เบต้ากลูแคน สกัดบริสุทธิ์ จากยีสต์ Sacharomyces Cerevisiae โดยใช้ระบบการสกัดเอนไซม์ที่จดสิทธิบัตรที่พัฒนาในสวิตเซอร์แลนด์ เทคนิคใหม่นี้ไม่เพียงแต่ผลิตสินค้าที่บริสุทธิ์ ปราศจากการปนเปื้อนสารเคมี และไขมันและโปรตีนที่จำกัดการกระตุ้นภูมิคุ้มกัน แต่ยังเก็บรักษากลูแคนที่มีความหนาแน่นต่ำที่มีคุณค่า ซึ่งจะอยู่บนชั้นนอกสุดของผนังเซลล์ของยีสต์ สารที่มี ‘ประสิทธิภาพกระตุ้นภูมิคุ้มกันสูง’ ดังกล่าวจะระเหยหมดเมื่อถูกวิธีการผลิตที่ที่ค่าเป็น กรด/ด่าง ในอุณหภูมิสูง
ก่อนที่เบต้ากลูแคนจะถูกดูดซึมผ่านผนังลำไส้ โดยผ่านเซลล์เยื่อบุพิเศษชนิดหนึ่งของลำไส้ ‘เซลล์เอ็ม’ ซึ่งสร้างขึ้นเพียง 1% ของเยื่อบุทางเดินอาหาร เบต้ากลูแคนจะถูกแบ่งตัว โดยเอนไซม์ที่เรียกว่า ‘ เอนโดกลูคาเนส (endoglucanase)’ ที่ผลิตโดยแบคทีเรียในลำไส้ที่เป็นมิตรต่อร่างกาย กลูแคนความหนาแน่นต่ำที่พื้นผิวด้านนอก จะกลายสภาพเป็นชีวปริมาณออกฤทธิ์[1] โดยเอนโดกลูคาเนส (endoglucanase) อย่างรวดเร็ว กว่ากลูแคนความหนาแน่นสูงที่ยังคงอยู่หลังจากการสกัดแบบดั้งเดิม ด้วยเหตุนี้ YOUR เบต้ากลูแคน จึงถูกออกแบบให้มีอนุภาคปฏิกิริยาภูมิคุ้มกันที่สามารถดูดซึมได้จำนวนมาก
[1] อธิบาย — ชีวปริมาณออกฤทธิ์ หรือ ชีวประสิทธิผล (อังกฤษ: bioavailability) ในทางเภสัชวิทยา หมายถึงส่วนของยาจากยาทั้งหมดที่นำเข้าสู่ร่างกายคนไข้ (administered dose) ที่สามารถเข้าสู่ ระบบไหลเวียนโลหิต ได้ (Wikipedia)
ต้นกำเนิดของภูมิคุ้มกันด้านเซลล์ของมนุษย์?
จุดเริ่มต้นของการศึกษาเบต้ากลูแคน เริ่มขึ้นเมื่อ นักวิทยาศาสตร์ผู้มีชื่อเสียง ชาวฝรั่งเศส เจ้าของรางวัลโนเบลร่วมในปี 1908 ดร. เอลี เมทช์นิคอฟฟ์ ได้นำเสนอเรื่องราวระบบภูมิคุ้มกันว่าร่างกายของเรามีเซลล์ที่คอยกำจัดแบคทีเรียและสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆที่ก่อให้เกิดโรค ในช่วงต้นปี 1883
ดร. เมทช์นิคอฟฟ์ เป็นคนแรกที่อธิบายเกี่ยวกับเม็ดเลือดขาวขนาดใหญ่ “มาโครฟาจ” (macrophage) (มาโครฟาจ หมายความว่า นักกิน ซึ่งในปัจจุบันถูกเรียกว่าแพคแมนในระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเรา) – และขั้นตอนของ การกินเซลล์ ฟาโกไซโทซิส (phagocytosis) ซึ่งอธิบายถึงวิธีการย่อยอาหารในเซลล์ภูมิคุ้มกัน ได้อย่างถูกต้อง
ตั้งแต่นั้นมา นักวิทยาศาสตร์ได้ตั้งข้อสังเกตว่าแม้แต่รูปแบบสิ่งมีชีวิตดั้งเดิมที่สุดบนโลก เช่นฟองน้ำ (ซึ่งประกอบด้วยเซลล์เพียง 3 ชนิด) ก็ยังสร้างกระบวนการดังกล่าว ซึ่งถือเป็นเซลล์ภูมิคุ้นกันชนิดพื้นฐาน
เซลล์ภูมิคุ้มกันอื่น ๆ ของเรา ไม่ว่าจะเป็นทีเซลล์ (T-cells) ทีเซลล์นักฆ่า (Killer T-cells) และทีเซลล์ผู้ต่อต้าน (Suppressor T-cells) บีเซลล์ (B-cells) ที่ผลิตแอนติบอดี และ กรานูโลไซต์ (Granulocytes) อื่น ๆ เช่น เบโซฟิล (basophil), นิวโทรฟิล (Neutrophil) และ อีโอซิโนฟิล (eosinophil) ถูกเชื่อว่ามีวิวัฒนาการมาจากเซลล์ภูมิคุ้มกันพื้นฐานดั้งเดิม “มาโครฟาจ” (macrophage) ชนิดนี้ ด้วยเช่นกัน
ผู้จัดการเรียบเรียงภูมิคุ้มกันด้านเซลล์ของมนุษย์
เพื่อให้เข้าใจถึงบทบาทสำคัญที่ “มาโครฟาจ” (macrophage) มีต่อการตอบสนองภูมิคุ้มกันของมนุษย์ เราจึงต้องศึกษาที่สิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์นี้พบสิ่งมีชีวิตที่ก่อให้เกิดโรคหรือ “แอนติเจน” – สารที่รู้จักกันว่าเป็น สิ่งที่ไม่ใช่ตัวเอง ‘non-self’ ( รวมทั้งเซลล์มะเร็ง)
ประการแรก “มาโครฟาจ” (macrophage) พยายามที่จะเคลื่อนที่แอนติเจนโดยใช้การระเบิดออกซิเดชันของไนตริกออกไซด์ (อนุมูลอิสระที่มีประโยชน์!) จากนั้นก็โอบล้อมแอนติเจนและแบ่งตัวมัน ก่อนที่จะส่งต่อส่วนที่ไม่เป็นอันตรายต่อทีเซลล์ผู้ช่วย ทีเซลล์นักฆ่า เพื่อให้พวกมันระบุและจดจำลักษณะของศัตรูเหล่านั้น
จากนั้น “มาโครฟาจ” จะผลิต “ไซโทไคน์” (ผู้สื่อสารของเซลล์เคมี) เพื่อที่จะเริ่มต้นสิ่งที่เรียกว่าภูมิคุ้มกัน’ แบบลูกโซ่ ‘ ไซโตไคน์ชนิดแรก เป็นที่รู้จักกันในนาม อินเตอร์ลูคิน1 (Interleukin-1( IL-1)) ซึ่ง IL-1 จะสร้างทีเซลล์ผู้ช่วย ที่จะกลายเป็นทีเซลล์ที่เป็นตัวกระตุ้น หรือตัวแสดงผล และจะขยายตัวอย่างรวดเร็ว และสร้างสำเนาของตัวมันเอง หลังจากนั้น ทีเซลล์ผู้ช่วยที่ทำหน้าที่กระตุ้นจะเริ่มปล่อย อินเตอร์ลูคิน2 ( Interleukin-2 ( IL-2) ) ซึ่ง IL-2 จะกระตุ้นและสร้างสำนา ทีเซลล์นักฆ่า ซึ่งเมื่อสัมผัสกับพื้นผิวแอนติเจน จะเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วเพื่อค้นหาและทำลายแอนติเจนใดๆที่ยังคงมีชีวิตอยู่
หลังจากที่กำจัดภัยคุกคามจนหมด ตัวรับ IL-2 จะสลายตัวจาก ทีเซลล์นักฆ่า เพื่อให้พวกเขาหยุดการเจริญเติบโตและแบ่งตัวจนสลายไปในที่สุด ปฏิกิริยาทางเคมีของภูมิคุ้มกันห่วงโซ่ค่อยๆหายไปทีละน้อย พร้อมกับความพ่ายแพ้ของแอนติเจน
จะเห็นได้ว่า “มาโครฟาจ” (macrophage) มีบทบาทสำคัญ ในการตระหนักถึงการสกัดกั้นแอนติเจน และ เป็นกำลังในการจัดการ การตอบสนองของทีเซลล์โดยเฉพาะ เพื่อที่จะต่อสู้กับเชื้อโรคได้สำเร็จ มีหนังสือหลายเล่มได้เขียนถึงความสัมพันธ์อันซับซ้อนระหว่างส่วนประกอบต่างๆของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แต่เราอธิบายกระบวนการดังกล่าวอย่างเรียบง่าย แต่ครอบคลุม บทบาทของ “มาโครฟาจ” (macrophage) ในการเตรียมการระมัดระวังภูมิคุ้มกันและการตอบสนองที่เหมาะสม
มาโครฟาจในเนื้อเยื่อ (macrophage) และเซลล์โมโนไซต์ (monocyte) (เม็ดเลือดขาวที่เป็นตัวกลืนกิน (phagocytes) ) ไม่เพียงแต่ทำหน้าที่เป็นยามของระบบภูมิคุ้มกันของเรา เฝ้าระวังและโจมตีแอนติเจนใด ๆ ที่เข้ามาในร่างกายเท่านั้น ยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการสร้างและปล่อย “ไซโทไคน์” (cytokines) เพื่อมาทำหน้าที่สอน ทีเซลล์ และ บีเซลล์ ให้ตอบสนองต่อระบบภูมิคุ้มกันอย่างเหมาะสม หน้าที่ที่สำคัญอีกหนึ่งหน้าที่ของ มาโครฟาจและ โมโนไซต์ คือการกระตุ้นภูมิคุ้มกันแบบลูกโซ่ที่สร้างชีวเคมีอื่น ๆ ที่มีผลกระทบโดยตรงต่อสิ่งมีชีวิตที่ก่อให้เกิดโรคและเนื้อเยื่อที่เป็นโรคเช่น “อินเตอร์เฟอรอน (interferons)” และปัจจัยที่ก่อให้เกิดเนื้องอกเนื้อร้าย หรือ TNF
เปิดเผยความลึกลับของเบต้ากลูแคน
ดังที่ได้กล่าวมาก่อนหน้านี้ว่า ในปี 1960 ที่ดร.นิโคลัส ไดลูซิโอ (Nicholas Di-Luzio, Ph.D) ได้ระบุส่วนประกอบที่ ได้จากการค้นพบไซโมซานของ ดร.หลุยส์ พิวลีเมอร์ ว่าเป็น เบต้า 1,3 กลูแคน อย่างไรก็ตาม 20 ปีให้หลัง ดร.จอยซ์ ซอพ (Joyce K Czop Ph.D) จาก มหาวิทยาลัยฮาร์วาด Harvard University เป็นผู้แรกที่อธิบายกลไกการทำงานของเบต้ากลูแคน ในการป้องกันระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งถือเป็นกุญแจปลดล็อคเซลล์ภูมิคุ้มกันพื้นฐานที่สุดของมนุษย์ นั่นก็คือ มาโครฟาจ ผู้ช่วยตัวจิ๋วแต่ทรงพลังมหาศาลและมีประสิทธิภาพหลากหลาย
เบต้ากลูแคน 1,3 ดี ส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายได้โดยการเชื่อมต่อตัวรับสัญญาณเฉพาะบนพื้นผิวของมาโครฟาจและโมโนไซต์ ซึ่งจะก่อให้เกิดการตื่นตัว หรือ “เตรียมพร้อม” ดังที่ดร. ซอพ ได้นิยามไว้ เมื่อเซลล์เหล่านี้อยู่ในสภาพถูกกระตุ้น เซลล์เหล่านี้จะสามารถริเริ่มระบบภูมิคุ้มกับแบบลูกโซ่ประสิทธิภาพสูง ณ เวลานั้น และเมื่อใดก็ตามที่จำเป็น
เบต้ากลูแคนปลดล็อคอานุภาพของ มาโครฟาจ
เช่นเดียวกันกับที่ IL-1 กระตุ้นทีเซลล์ผู้ช่วย และ IL-2 กระตุ้นทีเซลล์นักฆ่า การกำหนดค่าระดับน้ำตาลบางอย่างชนิดจะกระตุ้นมาโครฟาจ มาโครฟาจที่ได้รับการกระตุ้นสามารถรับรู้ โจมตีและกำจัดแอนติเจนจำนวนมาก รวมถึงเซลล์มะเร็งทั่วไปได้อย่างรวดเร็ว อานุภาพของ เบต้า 1,3 ดีกลูแคน ในการเสริมสร้างกระบวนการดังกล่าว ได้ถูกสาธิตขึ้นในช่วงปี 1970 โดย ดร. ปีเตอร์ แมนเซลล์ ซึ่งทำการฉีดเบต้ากลูแคนเข้าสู่ก้อนมะเร็งผิวหนังชนิด แมลิกแนนท์ เมลาโนมาใต้ผิวหนัง ซึ่งเป็นมะเร็งที่อันตรายที่สุด
แต่เมื่อนำชิ้นเนื้อที่ถูกฉีดเบต้ากลูแคนไปตรวจสอบ กลับไม่พบเซลล์เมลาโนมาใดๆ นั่นเป็นผลของการกระตุ้นมาโครฟาจเท่านั้น ในช่วงปี 1980 (พ.ศ. 2523) ผลของการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของ เบต้า1,3 ดีกลูแคน ได้ถูกนำเสนอจากการค้นพบการเพิ่มจำนวนของ IL-1, IL-2 และ อินเตอร์เฟอรอน (interferons) ในผู้ป่วยที่ติดเชื้อ HIV ขั้นสูงที่ได้รับเซรุ่มเบต้ากลูแคน
สถาบันรังสีชีววิทยาของกองกำลังสหรัฐฯ พบว่า การให้ยาเบต้า 1,3 ดีกลูแคนทางปาก สามารถเพิ่มอัตราการรอดชีวิตของหนูที่ศึกษาจากผลกระทบของปริมาณทั่วไปของรังสีถึงตายต่อสัตว์ทดลองได้ ถึงแม้ว่าหนูทดลองจะได้รับยาภายหลังจากที่ได้รับการฉายรังสีแล้วก็ตาม
ตั้งแต่ที่มีการริเริ่มสังเกตคุณสมบัติการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของไซโมซาน เมื่อ 50 ปีก่อน ได้มีการตีพิมพ์รายงานทางวิทยาศาสตร์หลายร้อยฉบับ อธิบายและยืนยันถึงผลการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน การป้องกันรังสี และ การต้านอนุมูลอิสระของ เบต้ากลูแคน 1,3 ดี
สิ่งสำคัญที่ผู้ที่จะได้รับประโยชน์จากเบต้ากลูแคนคือใครบ้าง?
การรับประทานเบต้า 1,3/1,6- ดีกลูแคน (ในปริมาณ 1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ตามที่แนะนำเพื่อใช้เป็นยาป้องกัน) จะช่วยเพิ่มระบบภูมิคุ้มกันที่มีประสิทธิภาพและเด็ดขาดมากยิ่งขึ้นให้แก่คนทุกคน
อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่า อาหารเสริมนี้จะมีบทบาทและความสำคัญมากขึ้นเมื่อเรามีอายุมากขึ้น เนื่องจากการหดตัวของต่อมไธมัส ภายหลังจากระยะการเจริญเติบโตทางเพศ ส่งผลให้ จำนวนเซลล์ภูมิคุ้มกันหมุนเวียนในร่างกาย ที่ทำหน้าที่ต่อสู้กับการติดเชื้อหรือป้องกันเซลล์มะเร็งในร่างกายลดน้อยลง
เบต้า 1,3 ดีกลูแคนไม่ก่อให้เกิดการตอบสนองไวผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้น จะไม่มีผลเสียต่อสภาพภูมิคุ้มกันใดๆที่มีอยู่ เบต้า 1,3 ดีกลูแคนยังปลอดภัยต่อผู้ที่มีอาการแพ้ยีสต์ เนื่องจาก โปรตีนที่กระตุ้นอาการแพ้ในบุคคลที่ไวต่อสิ่งเร้า ถูกกำจัดในกระบวนการสกัดและปรับแต่งเรียบร้อยแล้ว
อย่างไรก็ตาม ไม่ควรใช้ เบต้า 1,3 ดีกลูแคนในการรักษาอาการร้ายแรงเพียงอย่างเดียว และควรใช้อาหารเสริมนี้เป็นส่วนเสริมการรักษาอื่น ๆ ภายใต้คำแนะนำและการดูแลของผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ
การใช้ เบต้า 1,3 ดีกลูแคน มักจะใช้ในผู้ป่วย จากการถูกบุกรุกภูมิคุ้มกันด้วยเหตุผลใดก็ตามเช่น ผู้ที่พักฟื้นจากติดเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรียในระยะยาว การใช้ยายับยั้งภูมิคุ้มกัน หรือการผ่าตัด ความเครียดและการบาดเจ็บไม่ว่าจะทางร่างกายหรือจิตใจ เช่นเดียวกับภาวะซึมเศร้า ก็มีอิทธิพลต่อภาวะถดถอยในการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันอย่างมีนัยสำคัญเช่นกัน