ลูกผู้หญิงควรรู้จักมะเร็งปากมดลูกก่อนสายเกินไป
ถึงแม้ว่า มะเร็งที่ตรวจพบมากที่สุดอันดับ 1 ในเพศหญิง คือ มะเร็งเต้านม
แต่ “มะเร็งปากมดลูก” กลับเป็นสาเหตุการเสียชีวิตจากมะเร็งอันดับ 1 ของผู้หญิงไทยครับ
นั่นเป็นเพราะว่า “มะเร็งปากมดลูก” ในระยะเริ่มแรกหรือระยะก่อนเป็นมะเร็งนั้นผู้ ป่วยจะไม่มีอาการใดๆ ที่แสดงออกเลย รวมทั้งหลายๆ คนนั้นยังมีความอายมากกว่าจะมารับการตรวจโรค ซึ่งเมื่อได้รับการตรวจก็อาจเข้าสู่ระยะที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาด ดังนั้น หากเราเรียนรู้และทำความเข้าใจ ก็จะช่วยป้องกันสาวๆ ให้ห่างไกลจากมะเร็งปากมดลูกได้ทันท่วงทีครับ
1. มะเร็งปากมดลูกเกิดได้กับผู้หญิงทั้งที่เคยมีเพศสัมพันธ์และไม่เคย
สาเหตุของมะเร็งปากมดลูกกว่า 90% เกิดจากการติดเชื้อไวรัส HPV (Human Papillomavirus) ส่วนใหญ่ติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ส่วนน้อยติดต่อทางการสัมผัส มักพบบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกของผู้หญิงบริเวณปากมดลูก ช่องคลอดและอวัยวะเพศ ทั้งนี้ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้หญิงมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งปากมดลูก เช่น มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย เปลี่ยนคู่นอนบ่อย มีบุตรหลายคน สูบบุหรี่ รวมถึงการมีปัญหาระบบภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น เป็นโรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE) หรือเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวี
2. ฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน
วัคซีนที่ว่านี้ คือ วัคซีนที่ต่อต้านเชื้อ HPV ครับ ซึ่งก่อ สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุตั้งแต่ 9 – 26 ปี โดยฉีดจำนวน 3 เข็ม ซึ่งวัคซีนช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ถึง 70% หากเคยมีเพศสัมพันธ์แล้วก็ฉีดได้เช่นกัน (แต่ในกรณีนี้วัคซีนจะมีประสิทธิภาพดีก็ต่อเมื่อไม่เคยได้รับเชื้อ HPV สายพันธุ์ที่บรรจุอยู่ในวัคซีนมาก่อนนะครับ)
3. ควรตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก
ช่วงเวลาที่ดีที่สุดคือภายใน 3 ปีหลังการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก สำหรับคนที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์อาจเริ่มตรวจได้ตั้งแต่อายุ 30 ปีขึ้นไป โดยตรวจพร้อมๆ กับการตรวจสุขภาพประจำปีครับ
4. ตรวจแล้วก็ยังเสี่ยง
มะเร็งปากมดลูกเป็นโรคที่มีกระบวนการเกิดโรคที่ช้า ใช้เวลาในการพัฒนาเป็นมะเร็งนาน แต่สามารถรักษาให้หายได้ถ้ารู้ตัวก่อน ดังนั้น การตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกจึงควรทำอย่างสม่ำเสมอตามคำแนะนำของแพทย์นะครับ
5. มะเร็งปากมดลูกระยะเริ่มต้นมักไม่มีอาการ
สาวๆ สามารถสังเกตได้ หากมีเลือดออกผิดปกติจากช่องคลอด มีประจำเดือนนานจนผิดปกติ หรือมีเลือดออกจากช่องคลอดในช่วงวัยหมดประจำเดือนแบบถาวรไปแล้ว ควรรีบไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อการตรวจวินิจฉัยที่แน่นอน หรือหากมะเร็งได้ลุกลามไปมากขึ้น อาจลามไปยังอวัยวะอื่นๆ ส่งผลให้มีอาการปวดหลัง ปัสสาวะหรืออุจจาระเป็นเลือด หรือไตวายเฉียบพลันได้เช่นกันครับ
วิธีป้องกันมะเร็งปากมดลูก
แต่ถึงจะยังไม่ทราบสาเหตุของโรคอย่างแน่ชัด เราก็ยังลดโอกาสในการเกิดมะเร็งปากมดลูกได้ครับ มีวิธีง่ายๆ ไม่กี่ข้อที่ช่วยทำให้คุณคลายกังวลว่าคุณอาจจะไม่ต้องยุ่งเกี่ยวกับเจ้าโรคนี้ นั่นก็คือ
1. หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังน้อย
2. หลีกเลี่ยงการมีเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ
3. ลดการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอลN
4. ฉีดวัคซีนป้องกัน HPV
5. ตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกอย่างสม่ำเสมอ
6. ทานอาหารเสริมประเภทเบต้ากลูแคน ที่ช่วยสร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายแข็งแรงห่างไกลจากมะเร็ง (เนื่องจากเบต้ากลูแคน คุณสมบัติหลักคือจะช่วยให้เม็ดเลือดขาวในระบบภูมิคุ้มกันด่านแรกของเราทำลายเชื้อโรค และเซลล์แปลกปลอมได้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม อีกทั้งเบต้ากลูแคนยังเพิ่มจำนวน และกระตุ้นการทำงานของเลือด ให้กำจัดเซลล์มะเร็งได้ดียิ่งขึ้น)