โปรตีนจากสัตว์ vs โปรตีนจากพืช ความแตกต่างสำหรับผู้ป่วย

โปรตีนจากพืช

โปรตีนเป็นสารอาหารสำคัญที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอของร่างกาย โดยทั่วไปแล้ว โปรตีนสามารถได้มาจาก 2 แหล่งที่มาใหญ่ ๆ คือ โปรตีนจากสัตว์และโปรตีนจากพืช ซึ่งทั้งสองประเภทนี้มีคุณสมบัติและประโยชน์ที่แตกต่างกันออกไป มาดูความแตกต่างของโปรตีนจากสัตว์และโปรตีนจากพืช เพื่อให้ผู้ป่วยและผู้ดูแลสามารถเลือกทานโปรตีนได้อย่างเหมาะสมกับสภาวะสุขภาพของแต่ละคน

 

โปรตีนจากสัตว์

1. คุณภาพและความครบถ้วนของสารอาหาร: โปรตีนจากสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ และผลิตภัณฑ์นม มักจะเป็นโปรตีนที่มีคุณภาพสูง เนื่องจากมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วน ทำให้ร่างกายสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันที

2. การย่อยและการดูดซึม: โปรตีนจากสัตว์มักจะย่อยและดูดซึมได้ดี เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหารสามารถได้รับประโยชน์จากโปรตีนชนิดนี้ได้มากกว่า

3. สารอาหารอื่น ๆ: โปรตีนจากสัตว์มักมีสารอาหารเพิ่มเติม เช่น วิตามิน B12, เหล็ก, และสังกะสี

4. ความเสี่ยง: การบริโภคโปรตีนจากสัตว์มากเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด และโรคไต เนื่องจากมีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง

5. โปรตีนจากสัตว์สำหรับผู้ป่วย: การเลือกทานโปรตีนจากสัตว์ต้องพิจารณาหลายเรื่อง เนื่องจากโปรตีนในสัตว์มีไขมันค่อนข้างสูง อย่างในไข่แดงของไข่ไก่เต็มไปด้วยคอเลสเตอรอล การรับประทานในปริมาณมากติดต่อกันอาจจะเสี่ยงที่จะทำให้ไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้ ที่สำคัญโปรตีนจากสัตว์มักมีสารตกค้างจากกระบวนการปศุสัตว์ ซึ่งผู้ป่วยที่มีร่างกายที่อ่อนแอ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ได้รับเคมีบำบัดในการรักษาโรคมะเร็งควรจะศึกษาที่มาขอโปรตีนเหล่านั้นก่อนรับประทาน ไม่เพียงเท่านี้ ไขมันในโปรตีนจากสัตว์ยังไปยับยั้งกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกันได้อีกด้วย ซึ่งภูมิคุ้มกันถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการปกป้องผู้ป่วยจากเชื้อโรคและสิ่งแปลกปลอมภายนอก ขณะรักษาโรคอยู่

 

โปรตีนจากพืช

1. คุณภาพของกรดอะมิโน: โปรตีนจากพืช เช่น ถั่ว เมล็ดพืช และธัญพืช บางชนิดอาจมีกรดอะมิโนไม่ครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ ดังนั้นการทานโปรตีนจากพืชควรมีความหลากหลายทานพืชหลายชนิดเพื่อให้ได้กรดอะมิโนครบถ้วน

2. การย่อยและการดูดซึม: โปรตีนจากพืชมักจะมีเส้นใยอาหารสูง ซึ่งอาจทำให้การย่อยและการดูดซึมต้องใช้เวลา แต่มีเส้นใยอาหารมีประโยชน์ต่อการทำงานของระบบทางเดินอาหาร รวมถึงกระเพาะและลำไส้ ช่วยให้การขับถ่ายของร่างกายทำงานได้อย่างสมดุลขึ้น

3. สารอาหารเพิ่มเติม: โปรตีนจากพืชมีสารต้านอนุมูลอิสระมากมาย ช่วยเรื่องการชะลอวัย บำรุงเซลล์ต่าง ๆ รวมไปถึงวิตามิน แร่ธาตุต่างที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพโดยรวม

4. สิ่งที่ต้องรู้: การทานโปรตีนจากพืชอาจจะได้รับใยอาหารที่สูง ควรต้องดื่มน้ำให้มากเพื่อให้การทำงานของใยอาหารดีขึ้น และการทานโปรตีนจากพืชเพียงอย่างเดียวอาจทำให้ขาดสารอาหารบางชนิด ดังนั้นการรับประทานโปรตีนจากพืช ควรควบคู่ไปกับการทานอาหารที่หลากหลาย รวมไปถึงการพักผ่อนอย่างเพียงพอ

5. โปรตีนจากพืชสำหรับผู้ป่วย: โปรตีนจากพืชถือเป็นหนึ่งในโปรตีนที่กำลังจะกลายมาเป็นทางเลือกสำคัญอาหารสุขภาพที่สามารถสร้างความยั่งยืนให้กับโลกและสุขภาพของคนบริโภคได้มากขึ้น สำหรับผู้ป่วยเองก็เช่นกัน เนื่องจากกระบวนการผลิตและการได้มาซึ่งโปรตีนจากพืชนับว่ามีกระบวนการที่ปลอดภัยและสร้างผลกระทบน้อย ไม่เพียงเท่านี้คุณประโยชน์ของโปรตีนจากพืชในปัจจุบันสามารถทดแทนโปรตีนจากสัตว์ได้ โดยสามารถให้ปริมาณที่เพียงพอต่อร่างกาย มีสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในเรื่องกระบวนการสร้างภูมิคุ้มกัน และฟื้นฟูเซลล์ในร่างกาย เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่ทำเคมีบำบัด มีใยอาหาร ลดคอเลสเตอรอลในกระแสเลือด และลดน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย

 

หากใครที่สนใจการบริโภคโปรตีนจากพืช หรือต้องการสอบถามการใช้โปรตีนจากพืชเพื่อดูแลผู้ป่วย สามารถติดต่อทีม YOUR เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง Inbox m.me/yourofficialthailand หรือ Line : @Yourthailand

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP