กรดไหลย้อน เป็นหนึ่งในโรคฮิตที่หลาย ๆ คนประสบปัญหา โดยเฉพาะพนักงานออฟฟิศหรือวัยกลางคน ส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารไม่เป็นเวลา ทำให้หูรูดของหลอดอาหารทำงานไม่ปกติตามไปด้วย มาดูกันครับว่าโปรตีนจากพืชจะช่วยดูแลเรื่องกรดไหลย้อนได้อย่างไรบ้าง
ภาวะกรดไหลย้อนคืออะไร
ภาวะที่น้ำย่อยจากกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับเข้าสู่หลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการไม่สบายต่าง ๆ เช่น แสบร้อนกลางอก เรอเปรี้ยว และรู้สึกเหมือนมีก้อนในลำคอ การจัดการอาหารและปรับพฤติกรรมการกินมีบทบาทสำคัญในการช่วยควบคุมอาการกรดไหลย้อน
กรดไหลย้อนเกิดขึ้นได้อย่างไร
สาเหตุหลักของกรดไหลย้อนมาจากความผิดปกติในการทำงานของกล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารส่วนล่าง (Lower Esophageal Sphincter – LES) เมื่อกล้ามเนื้อนี้ทำงานไม่เต็มที่หรือคลายตัว น้ำย่อยและกรดในกระเพาะอาหารสามารถไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหารได้ นอกจากนี้การบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม เช่น อาหารมัน อาหารทอด คาเฟอีน และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยังเป็นปัจจัยกระตุ้นให้อาการกรดไหลย้อนทวีความรุนแรงขึ้นด้วย
โปรตีนจากพืชช่วยเรื่องอาการกรดไหลย้อนได้
1. ย่อยง่ายกว่าโปรตีนจากสัตว์
โปรตีนจากพืช เช่น ถั่วลันเตา ข้าวกล้อง เมล็ดฟักทอง ฯลฯ ย่อยง่ายกว่าโปรตีนจากสัตว์ เนื่องจากไขมันอิ่มตัวในเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อแดงหรือเนื้อสัตว์ที่ผ่านการแปรรูป อาจทำให้กระเพาะอาหารต้องผลิตกรดมากขึ้นเพื่อย่อย ซึ่งเสี่ยงต่อการเกิดอาการกรดไหลย้อนมากขึ้น
2. ลดความดันในกระเพาะอาหาร
โปรตีนจากพืชมีปริมาณไฟเบอร์สูงช่วยให้การย่อยอาหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ลดโอกาสที่อาหารจะอยู่ในกระเพาะอาหารนานเกินไป ซึ่งอาจทำให้เกิดแรงดันในกระเพาะและเพิ่มโอกาสให้เกิดกรดไหลย้อน
3. ลดการอักเสบและการระคายเคืองของหลอดอาหาร
พืชหลายชนิดมีสารต้านอนุมูลอิสระและสารต้านการอักเสบ เช่น โพลีฟีนอลในผัก ผลไม้ และถั่ว ซึ่งสามารถช่วยลดการอักเสบและบรรเทาอาการระคายเคืองในหลอดอาหารได้
4. ปรับสมดุลกรดในร่างกาย
โปรตีนจากพืชส่วนใหญ่ เช่น ผักใบเขียว ผลไม้ ธัญพืช และถั่ว มีคุณสมบัติเป็นด่าง ซึ่งช่วยปรับสมดุลของกรดในร่างกาย เมื่อกระเพาะอาหารมีสภาวะเป็นกรดมากเกินไป การรับประทานอาหารที่มีความเป็นด่างสามารถช่วยลดระดับกรดและบรรเทาอาการกรดไหลย้อนได้
ป้องกันกรดไหลย้อนทำได้ง่าย ๆ
– หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง แต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารทอดหรือปรุงด้วยน้ำมันมากเกินไป หรืออาหารที่มีรสจัดจ้าน หวาน เค็ม มากจนเกินไป เพราะอาหารที่รสจัดกระตุ้นความอยากอาหาร ทำให้เราทานในปริมาณมากขึ้นเกินความพอดี
– แบ่งอาหารเป็นมื้อย่อย ๆ เพื่อไม่ให้กระเพาะอาหารทำงานหนักเกินไป และช่วยลดโอกาสที่กรดจะไหลย้อนขึ้นมาหลังมื้ออาหาร
– หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารก่อนนอน ให้ร่างกายมีเวลาในการย่อยอาหารและลดโอกาสที่กรดจะไหลย้อนขึ้นมาระหว่างนอนหลับ
นอกจากการปรับเปลี่ยนอาหารให้สอดคล้องกับสุขภาพของระบบทางเดินอาหารจะเป็นอีกวิธีที่ช่วยให้ผู้ที่มีปัญหากรดไหลย้อนสามารถควบคุมอาการได้ดีขึ้นแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทั้งการทำงาน การนอน การพักผ่อน ก็ถือเป็นปัจจัยที่จะทำให้ภาวะกรดไหลย้อนดีขึ้นได้ โดยไม่ต้องอาศัยการรับประทานยา หากสนใจโปรตีนจากพืชที่ปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ ติดต่อทีม YOUR เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ได้ทาง Inbox m.me/yourofficialthailand หรือ Line : @Yourthailand