หลายคนอาจจะเคยเห็นผู้ป่วยที่มีภาวะหัวใจวายเฉียบพลันในสื่อหรือในละคร คงคิดว่าไกลตัวและดูอันตราย แต่เชื่อไหมครับว่าในประเทศไทยเองมีผู้ป่วยโรคหัวใจรุนแรงและโรคหัวใจวายในปี 2560 มีมากกว่า 84,000 คน เพิ่มขึ้น 25% จาก 67,000 คนในปี 2556 เพียงระยะเวลา 4 ปีเท่านั้น จะเห็นเลยว่าโรคนี้ที่เราเคยคิดว่าไกลตัว อาจจะใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด มาป้องกันโรคหัวใจวายด้วยการเติมโคคิวเท็นให้กับหัวใจกันเถอะครับ
โรคหัวใจวายเฉียบพลัน เกิดขึ้นได้ยังไง?
โรคนี้เกิดจากลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดหัวใจอย่างเฉียบพลัน โดยลิ่มเลือดเหล่านี้เกิดจากหลายปัจจัย หนึ่งในปัจจัยสำคัญคือการที่ร่างกายมีภาวะไขมันมาก ไปเกาะตามผนังหลอดเลือด เมื่อรวมเข้ากับเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มากัดกินทำให้เกิดเป็นกลุ่มเซลล์ที่ไม่สามารถดูดกลับเข้าร่างกายได้ กลายเป็นลิ่มเลือดไปอุดกั้นตามหลอดเลือด เลือดไม่สามารถไหลเวียนไปสู่หัวใจได้ ลิ่มเลือดที่ซุกซ่อนมาเนิ่นนานเหล่านี้ก็จะไปอุดตันหลอดเลือดขนาดใหญ่ที่อาจจะเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ผู้ป่วยหัวใจวายและเสี่ยงจะเสียชีวิตได้
โคคิวเท็นสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจวายได้อย่างไร?
เดิมที “โคคิวเท็น” เป็นสารที่ร่างกายสามารถผลิตเองได้ตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นพลังงานสำคัญของอวัยวะที่ทำงานหนัก ไม่ว่าจะเป็นหัวใจ ปอด ตับ สมอง ไต ฯลฯ ซึ่งจะส่งผลให้อวัยวะเหล่านี้ทำงานได้อย่างปกติ แต่เมื่ออายุมากขึ้นหรือมีพฤติกรรมเสี่ยง ไม่ว่าจะการรับประทานอาหารไม่มีประโยชน์ พักผ่อนไม่เพียงพอ ทำงานหนักตลอดเวลา ความเครียดสะสม ส่งผลให้ร่างกายผลิตโคคิวเท็นได้ลดลง ซึ่งสารสกัดจากโคคิวเท็นที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเป็นอาหารเสริมสามารถช่วยไปเป็นพลังงานในการทำงานของอวัยวะของเราได้ โดยเฉพาะหัวใจ ที่มีรายงานว่าผู้ป่วยโรคหัวใจหลายคนมีภาวะขาดโคคิวเท็นอย่างรุนแรง ฉะนั้นหากหัวใจได้รับโคคิวเท็นอย่างเพียงพอ ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหัวใจ หรือลดความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจวายได้
ใครที่สามารถเกิดภาวะเสี่ยงโรคหัวใจเฉียบพลันได้?
– ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ความดันโลหิตมีผลต่อการไหลเวียนเลือดและแรงดันในหลอดเลือด ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อหัวใจและการสูบฉีดเลือด
– ไขมันในเลือดสูง ยิ่งผู้ป่วยที่มีค่าไขมันสูงมาก ๆ ยิ่งมีสิทธิ์ที่มีความดันโลหิตสูงร่วมด้วย ซึ่งจะส่งผลให้เลือดไม่สามารถสูบฉีดได้ปกติ เสี่ยงที่ไขมันจะอุดตันในหลอดเลือด เกิดเป็นลิ่มเลือดได้ง่ายกว่าปกติ
– โรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคนี้มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคแทรกซ้อน ไม่ว่าจะเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในหลอดเลือด มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะหัวใจวายได้เช่นกัน
– โรคอ้วน ผู้ป่วยโรคอ้วนมักจะมีค่าน้ำหนักตัวที่มากกว่าเกณฑ์มาตรฐาน และมักพบว่ามีความดันโลหิตสูง และอาจจะมีภาวะไขมันในเลือดสูงร่วมด้วย ซึ่งการมีไขมันสะสมในร่างกายมาก ๆ ก็ส่งผลให้เลือดไม่สามารถสูบฉีดตามปกติได้
– การสูบบุหรี่ สารพิษในควันบุหรี่ส่งผลต่อค่าออกซิเจนในเลือด สามารถทำให้เลือดหนืดและข้นขึ้น ไม่สามารถไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงหัวใจได้ ก็อาจจะเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ โดยเฉพาะกับคนที่สูบมาเป็นเวลานาน
– มีประวัติครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ สำหรับใครที่ครอบครัวมีประวัติเป็นโรคหัวใจ ก็ยิ่งต้องระวัง เพราะมีโอกาสที่จะเป็นโรคหัวใจโดยไม่รู้ตัว และอาจจะเสี่ยงเจอภาวะหัวใจวายได้ครับ