5 พื้นฐาน สร้างสุขสู้มะเร็ง

สู้มะเร็ง

ดูแลตัวเองให้สุข สู้มะเร็งอย่างถูกวิธี

ทันทีที่ทราบผลว่า ป่วยเป็นมะเร็งผู้ป่วยมักจะวิตกกังวลและมาพร้อมข้อสงสัยมากมายว่าต้องดูแลตัวเองอย่างไรซึ่งการใช้ชีวิตต่อจากนั้นไม่ได้ยุ่งยากซับซ้อนหรือต่างไปจากเดิมมากนักครับ แต่สิ่งสำคัญที่ต้องมีมากกว่าเดิมหลายเท่านั่น คือความเข้าใจ ความตั้งใจ ความใส่ใจ และไม่ต้องกังวลใจ เพื่อให้ผลการรักษาทางการแพทย์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และคุณเองก็ใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข และนี่คือวิธีที่ควรปฏิบัติครับ

1) ทุกมื้อ ทุกเมนูต้องใหม่ สด สะอาด

หลีกเลี่ยงของดิบ หมักดอง สามารถทานอาหารที่มีน้ำตาลได้แต่รักษาระดับให้พอดี และควรทานโปรตีนคุณภาพดีอย่างไข่ขาว เนื้อไก่ เนื้อปลา หรือเต้าหู้ อาหารทะเลก็สามารถทานได้เช่นเดียวกัน รวมถึงอาหารเสริมจำพวกเบต้ากลูแคน (Beta Glucan) สารสกัดจากธรรมชาติที่เป็น 1 ในทางเลือกที่เรียกว่าภูมิคุ้มกันบำบัดช่วยการกระตุ้นการทำงานของภูมิคุ้มกันร่างกายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นครับ

2) รักษาน้ำหนักให้คงที่

ไม่ควรปล่อยให้น้ำหนักลดในขณะที่ทำเคมีบำบัดหรือการฉายรังสีครับ เพราะน้ำหนักที่ลดลงจะส่งผลให้ประสิทธิภาพในการรักษา การคงน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญมาก

3) อย่าปล่อยให้ท้องผูก

อาการท้องผูกจะส่งผลให้ท้องอืด ทานไม่ได้ น้ำหนักลด คลื่นไส้ อาเจียน ส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการรักษาค่อนข้างมาก ดังนั้น จึงควรรับประทานผักผลไม้ ดื่มน้ำให้มาก เพื่อป้องกันท้องผูก หากทำตามที่แนะนำแล้วยังท้องผูก สามารถรับประทานยาระบายช่วยได้ครับ แต่ควรปรึกษาแพทย์ก่อน

4) ออกกำลังกายหรือทำงานเท่าที่ไหว

หลายคนที่ป่วยเป็นมะเร็งคิดว่าจะต้องนอนพักผ่อนเพียงอย่างเดียว ทั้งที่ความจริงแล้วนอกจากการพักผ่อน มีผลการศึกษาระบุว่า ผู้ป่วยมะเร็งที่ทำงานระหว่างการรักษามะเร็งมีผลการรักษาที่ดีกว่าผู้ป่วยมะเร็งที่นอนพักรักษาตัวเพียงอย่างเดียว ดังนั้น หากสามารถทำงาน เคลื่อนไหวร่างกาย ออกกำลังกายได้หลังทำการรักษาก็ควรทำ เพราะนอกจากช่วยผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ลดอาการปวดตึงข้อ ยังช่วยให้ร่างกายและจิตใจแข็งแรง เว้นแต่ในกรณีที่มีการรักษาด้วยการทำเคมีบำบัดบางชนิดที่อาจทำให้เหนื่อยและจำเป็นต้องพักนานเป็นสัปดาห์ครับ

5) พักผ่อนให้เพียงพอและถูกต้อง

คือการนอนตามนาฬิกาชีวิต (Biological Clock) ซึ่งเวลาในการนอนของแต่ละคนจะไม่เท่ากัน แต่ควรนอนก่อน 5 ทุ่มจะดีที่สุด และควรนอนให้ได้ 8 – 9 ชั่วโมง สังเกตได้จากเมื่อตื่นนอนต้องไม่มีอาการอ่อนเพลียและไม่ควรมีอาการอ่อนเพลียระหว่างวันครับ

 

อ้างอิงจาก

  1. พญ.พจนา จิตตวัฒนรัตน์ แพทย์อายุรกรรมโรคมะเร็ง โรงพยาบาลมะเร็งกรุงเทพ วัฒโนสถ

Leave a comment

Your email address will not be published. Required fields are marked *

TOP