ภาวะกล้ามเนื้อสลาย (Muscle Wasting) คือภาวะที่ร่างกายสูญเสียมวลกล้ามเนื้ออย่างรวดเร็ว ซึ่งมักเกิดในผู้ที่มีอาการป่วยเรื้อรังหรือพักฟื้นจากการเจ็บป่วย ภาวะนี้เป็นปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรง เนื่องจากกล้ามเนื้อมีส่วนสำคัญในการเคลื่อนไหว โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงพักฟื้น การสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกาย การเผาผลาญพลังงานให้สอดคล้องกัน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ การป้องกันภาวะนี้จึงเป็นสิ่งที่สำคัญในการดูแลผู้ป่วยอย่างมาก มาดูว่าเราจะสามารถป้องกันได้อย่างไร
ปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อสลายในผู้ป่วย
– การขาดสารอาหาร โดยเฉพาะการขาดโปรตีนที่จำเป็นต่อการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ ผู้ป่วยหลายคนปฏิเสธการรับประทานโปรตีนด้วยเหตุผลที่เคี้ยวยาก ย่อยยาก
– การเคลื่อนไหวน้อยลง ผู้ป่วยที่ต้องนอนพักฟื้นหรือเคลื่อนไหวได้น้อย จะมีการสลายตัวของกล้ามเนื้อสูงขึ้น
– การอักเสบและการเจ็บป่วยเรื้อรัง เช่น โรคมะเร็ง โรคปอดเรื้อรัง หรือการติดเชื้อบางชนิด ทำให้การใช้พลังงานของร่างกายเพิ่มขึ้นและเกิดการสลายกล้ามเนื้อเพื่อเป็นแหล่งพลังงานของร่างกาย ยิ่งผู้ป่วยที่ขยับตัวน้อยหรือผู้ป่วยติดเตียง ยิ่งมีโอกาสที่จะเกิดภาวะกล้ามเนื้อสลาย
วิธีป้องกันภาวะกล้ามเนื้อสลาย
1. การบริโภคโปรตีนให้เพียงพอเป็นปัจจัยหลักในการรักษามวลกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่อยู่ในช่วงพักฟื้น ควรรับประทานโปรตีนประมาณ 1.2 – 2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน เพื่อช่วยสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อ การเลือกโปรตีนจากพืชเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญสำหรับผู้ป่วยที่อาจจะมีภาวะย่อยยาก
โดยเฉพาะโปรตีนจากพืช เช่น ถั่วลันเตา เมล็ดฟักทอง ข้าวกล้อง ไม่เพียงแต่ให้โปรตีนคุณภาพดี แต่ยังมีไฟเบอร์ วิตามิน และแร่ธาตุที่ช่วยเสริมสุขภาพ รวมถึงสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยลดการอักเสบในร่างกาย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยที่มีภาวะอักเสบหรือโรคเรื้อรัง การบริโภคโปรตีนจากพืชอย่างสม่ำเสมอจะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดภาวะกล้ามเนื้อสลายได้ด้วย นอกจากนี้ยังช่วยให้ผู้ป่วยได้รับโปรตีนอย่างเพียงพอในแต่ละวัน เพราะการเสริมสร้างโปรตีนหรือกล้ามเนื้อมีส่วนสำคัญอย่างมากที่จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถมีพลังงานในการต่อสู้กับโรคร้ายได้
2. การออกกำลังกายแบบแรงต้าน การออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยกระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะการออกกำลังกายแบบแรงต้าน เช่น การยกน้ำหนัก การใช้ยางยืด และการทำกายภาพบำบัด จะช่วยเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อและเพิ่มความแข็งแรง แม้จะเป็นผู้ป่วยที่มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหว ก็สามารถออกกำลังกายเบา ๆ ภายใต้คำแนะนำของผู้เชี่ยวชาญได้
3. การรับประทานอาหารที่มีพลังงานเพียงพอ การขาดพลังงานจะทำให้ร่างกายดึงโปรตีนจากกล้ามเนื้อมาใช้เป็นแหล่งพลังงาน การบริโภคคาร์โบไฮเดรตและไขมันที่เพียงพอจึงมีความสำคัญ เพราะจะช่วยให้ร่างกายไม่ต้องสลายกล้ามเนื้อเพื่อใช้เป็นพลังงาน นอกจากนี้ อาหารที่มีไขมันดี เช่น อะโวคาโด น้ำมันมะกอก และถั่วเปลือกแข็ง ยังช่วยเสริมสร้างสุขภาพของผู้ป่วยได้อีกด้วย
ภาวะกล้ามเนื้อสลายเป็นปัญหาสุขภาพที่สามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลที่เหมาะสม การรับประทานโปรตีนอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะโปรตีนจากพืชที่มีคุณค่าทางโภชนาการหลากหลาย จะช่วยรักษามวลกล้ามเนื้อและเสริมสร้างความแข็งแรง การออกกำลังกายและการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตร่วมกัน จะช่วยให้ผู้ป่วยสามารถฟื้นฟูสุขภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน และสามารถมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ และอาจจะส่งผลให้ผู้ป่วยสามารถมีกำลังใจในการต่อสู้โรคต่าง ๆ ได้มากขึ้น
สำหรับผู้ที่สนใจโปรตีนจากพืชสำหรับดูแลสุขภาพและดูแลผู้ป่วย สามารถติดต่อทีม YOUR เพื่สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ทาง Inbox m.me/yourofficialthailand หรือ Line : @Yourthailand