ฉันจะหายไหม? จะมีทางรักษาหรือเปล่า? ควรอย่างไรดี? มีคู่มือไหม?
“จะไม่ให้ฉันคิดมากได้อย่างไร!?”
นี่คือคำถามที่วนเวียนอยู่ในหัว เวลาที่ใครมาบอกว่าอย่าคิดมาก
เราเข้าใจดี และอยากเป็นกำลังใจให้ครับ เลยอยากบอก อยากเล่าในสิ่งที่คิดว่ามันดีกับผู้ป่วยมะเร็งและคนรอบข้าง
#คู่มือบำบัดมะเร็ง LESSON 2
– คำแนะนำด้านอารมณ์และความคิด –
เวลาอ่านอาจจะง่าย แต่มันไม่ยากแน่นอน ถ้าเราพยายามไปด้วยกัน..
┏━━━━━━┓
💡อะไรที่ควรทำ 💡
┗━━━━━━┛
😴 งีบหลับพักผ่อนระหว่างวันบ้าง
การงีบหลับระหว่างวันช่วยลดความเครียดหรือความหงุดหงิด เป็นการผ่อนคลายสมอง และส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมดีขึ้น เนื่องจากการงีบระหว่างวันจะทำให้ร่างกายปรับสมดุลฮอร์โมนในร่างกาย และซ่อมแซมเซลล์ต่างๆ ได้ดีขึ้นครับ
นอนหลับ 10 – 20 นาที จะช่วยเพิ่มพลังงานและคืนความสดชื่น กระปรี้กระเปร่า สมองโปร่ง เพราะอยู่ในช่วง non – rapid eye movement (NREM)
นอนหลับ 90 นาที เป็นการนอนที่ครบรอบ กล่าวคือ มีหลับลึกและไม่ลึกมากนัก อาจมีการฝันบ้าง ช่วยให้อารมณ์ดีขึ้นครับ
ส่วนช่วง 30 – 60 นาทีในการงีบที่เราไม่แนะนำ เพราะการงีบช่วงเวลานี้ อาจทำให้งัวเงีย มึนๆงงๆ หรืออาจทำให้ปวดหัวไปสักพักเลยครับ และอาจทำให้อยากหลับอีก ซึ่งถ้านอนมากเกินไป ก็ไม่ส่งผลดีนะครับ แต่จะเกิดผลอย่างไรนั้น เดี๋ยวเราเอามาเล่าให้ฟังตอนหน้านะครับ
🙂
🏖️ สูดอากาศบริสุทธิ์ให้เต็มปอด
หาเรื่องออกไปเที่ยวกันครับ หาที่อากาศดีๆ บรรยากาศสดชื่นไปพักผ่อนร่างกาย และจิตใจ สูดอากาศบริสุทธิ์ ให้ธรรมชาติเยี่ยวยาเราครับ
เช่น ทะเล ภูเขา ไร่สวน หรือถ้าใครอาจไม่สะดวกจะออกไปข้างนอก อาจจะหาดอกไม้ กล้วยไม้มาปลูก หรือถ้าที่บ้านมีมุมเล็กๆ แนะนำให้จัดสวนเล็กๆ ไว้ที่บ้าน เอาไว้มองดูเล่นๆ แก้เครียดและยังมีพื้นที่อากาศบริสุทธิ์เพิ่มขึ้น แถมยังมีกิจกรรมให้ทำระหว่างวันในการดูแลรักษาต้นไม้ด้วยครับ เป็นวิธีที่คลายกังวลได้ดีทีเดียว
📚 หากิจกรรมทำคลายเครียด และฆ่าเวลา
ผู้ป่วยมะเร็งหลายคนไม่สามารถออกเที่ยวหรือทำกิจกรรมต่างๆภายนอกได้ อาจจะทำให้เครียดและกังวลอยู่กับความเจ็บป่วยของตัวเองได้ง่ายๆ เราแนะนำให้ญาติผู้ป่วยชวนคุยหรือทำกิจกรรมเล็กๆน้อยๆภายในบ้าน เช่น รดน้ำต้นไม้ ประดิษฐ์ประดอยสิ่งของตกแต่งบ้าน ฟังเพลง เต้นรำ หรือหาเกมส์มาเล่นด้วยกัน เพื่อคลายเครียดและยังได้สานสัมพันธ์คนในบ้านให้ดีมากขึ้นด้วยครับ ในโอกาสนี้
❤️ กำลังใจจากคนรอบข้างเป็นสิ่งสำคัญ
ร่างกายป่วย จิตใจก็กังวลตามไปด้วยเป็นธรรมดา..
การที่เราได้ระบายความกังวลนี้กับใครสักคนเป็นเรื่องที่ดีนะครับ บอกเค้าว่าเราคิดอะไรอยู่ กังวลอะไร และอยากให้คนรอบข้างปปลอบใจเรามากน้อยแค่ไหน ถึงแม้ว่าเค้าจะช่วยรักษามะเร็งไม่ได้ แต่ช่วยรักษาใจเราให้พ้นจากความกังวลได้ดีนะครับ
┏━━━━━━━━━━━━━━━┓
💡อะไรที่ควรเลี่ยง (แต่หลายคนยังทำ) 💡
┗━━━━━━━━━━━━━━━┛
❌ ไม่เครียด หรือกังวลจนเกินไป
❌ ไม่ควรอยู่คนเดียว หรืออยู่แต่ที่เดิมๆ
❌ ไม่จมอยู่กับผลตรวจ แต่เริ่มมองหาวิธีที่ดีเพื่อยับยั้ง
❌ ไม่คิดว่าเป็นมะเร็ง แล้วต้องเสียชีวิตเสมอไป
4 ข้อนี้เป็นความกังวลและพฤติกรรมพื้นฐานที่ผู้ป่วยมะเร็งที่รู้ตัวช่วงแรกๆมีครับผม เมื่อเค้ารู้ผล สิ่งแรกที่รู้สึกเลยคือความเครียดและความกังวล แล้วคิดวนไปวนมา ว่าเพราะอะไร ทำไมถึงเป็น แล้วต่อจากนี้จะทำอย่างไร จะรักษาหายไหม จะตายหรือเปล่า
…ความคิดแบบนี้มีแต่จะบั่นทอนสุขภาพกายและสุขภาพจิต
เครียดได้ครับ แต่ของให้เป็นช่วงเวลาสั้นๆ
และหลังจากนั้น
ควรเริ่มทำอะไรบางอย่างที่เป็นประโยชน์กับเรา เช่น
หาอ่านบทความหรืองานวิจัยเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติตัวของ
ผู้ป่วยมะเร็ง
ดูเมนูอาหารที่ควรและไม่ควรทาน เพื่อทำทานเองที่บ้าน
ศึกษาแนวทางการบำบัดรักษาไว้เป็นความรู้ เพื่อรับมือให้ถูก
เข้าร่วมชุมชนออนไลน์ เพื่อกิจกรรมหรือแชร์ความรู้ดีๆร่วมกัน
หรือลองนั่งสมาธิ สวดมนต์ และอ่านหนังสือธรรมดูก็ได้ครับ
.
.
.
ด้วยความปรารถนาจาก
#YOUR
“Health is Wealth”
#ภูมิคุ้มกันแข็งแรงห่างไกลมะเร็ง